กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

โรงพยายาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งตำเสา

ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 1 บ้านทุ่งเลียบ ตำบลทุ่งตำเสา, ศาลาเอนกประสงค์ข้างโรงเรียนบ้านทุ่งตำเสา และศาลา ต้นกอ หมู่ที่ 2 ตำบลทุ่งตำเสา, ศาลาเอนกประสงค์ บ้านเกาะมวง หมู่ 10 ตำบลทุ่งตำเสา, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยก้าวสู่งสังคมสูงอายุตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ตามคำนิยามขององค์การสหประชาชาติที่กำหนดสัดส่วนของประชากร ที่มีอายุขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งเข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ สำหรับสถานการณ์ ผู้สูงอายุ ปี 2563 มีประชากรสูงอายุ สูงถึงร้อยละ 18.24 ของประชากรทั้งประเทศและมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุร้อยละ 3.6 ต่อปี ซึ่งตามคาดประมาณการ ของประชากรประเทศไทยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดการณ์ว่าในปี 2566 จะมีประชากรสูงอายุสูงถึงร้อย 20.66 และคาดว่าในปี 2578 จะมีประชากรสูงอายุ สูงถึงร้อยละ 28.55 ของประชากรทั้งประเทศ ทั้งนี้การเตรีมการเพื่อรองรับสถานการณ์สังคมสูงอายุ จึงเป็นประเด็นที่สำคัญ เนื่องจากผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพ ซึ่งกระทบต่องบประมาณด้านการรักษาพยาบาล โดยสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย ได้คาดประมาณการด้านงบประมาณในการดูแล ระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ ที่มีภาวะพึ่งพิง เฉลี่ยประมาณ 15,000 ล้านบาท ต่อปี ดังนั้น การส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุให้มีสุขภาพที่ดี มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ จึงเป็นประเด็นสำคัญ เพือลดภาระ ด้านเศรษฐกิจ ของประเทศ สังคม และครอบครัว
จากรายงานโครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับบที่ 2 (พ.ศ. 2545 - 2564) ดัชนีวัดที่ 8 สัดส่วนประชากรสูงอายุที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้รับผิดชอบหลัก มีเป้าหมายการดำเนินงานร้อยละ 30 ซึ่งพบว่าผลการดำเนินงานได้เพียงร้อยละ 18.7 และในปี 2556 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพร่วมมือสำรวจสถานการณ์ปัญหาสุขภาวะของผู้สูงอายุ รวมทั้งติดตามผลการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุตามแผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และผู้พิการดังกล่าว โดยสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุ จำนวน 13,642 คน จาก 28 จังหวัดเป็นตัวแทนครอบคลุมทั้ง 12เครือข่ายบริการ สุขภาพ/ศูนย์อนามัยเขต มีเป้าหมายการดำเนินงานร้อยละ 40 พบว่าผลการดำเนินงานได้ร้อยละ 26.7 ปี 2561 จากการสำรวจโดยกรมอนามัยมีเป้าหมายการดำเนินงานร้อยละ 50 พบว่าผลการดำเนินงานได้ร้อยละ 54.4 และในปี 2562 จากการสำรวจโดยกรมอนามัยมีเป้าหมายการดำเนินงานร้อยละ 50 พบว่าผลการดำเนินงานได้ร้อยละ 52.0
พฤติกรรมสุขภาพ หมายถึง การปฏิบัติหรือการแสดงออกของบุคคลในการกระทำหรืองดเว้นการกระทำในสิ่งที่มีผลต่อสุขภาพของตนเอง โดยอาศัยความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ และการปฏิบัติตนทางด้านสุขภาพ ด้านต่างๆคือ สุขภาพ จิตใจ/อารมณ์ และสังคม ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างสมดุล
พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุ คือ ผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมหรือการปฏิบัติตัว ดังนี้ 1. มีกิจกรรมทางกาย/ออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน ครั้งละ 30 นาที หรือ มีกิจกรรมทางกาย สะสม 150 นาที/สัปดาห์ กิจกรรมทางกายคือการเคลื่อนไหวของร่างกายเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อและทำให้ร่างกายมีการใช้พลังงาน เพิ่มขึ้นจากขณะพัก ประกอบด้วย การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน การทำงานบ้าน การทำงานอาชีพที่ต้องใช้แรงกาย การเดินทางด้วยจักรยานหรือเดินทาง เดินขึ้นบันได และกิจกรรมยามว่าง เช่น ออกำลังกาย เล่นกีฬา วิ่ง ปั่น จักรยาน และการท่องเที่ยว 2.รับประทานผัก ผลไม้สด เป็นประจำทุกวัน 3.ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว 4. ไม่สูบบุหรี่/ไม่สูบยาเส้น 5.ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เช่น สุรา เบียร์ ยาดองเหล้า ผ่านการประเมินทั้ง 5 ข้อ ถือว่าผ่านการประเมินพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
จากข้อมูลในระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (Health Data Center : HDC) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งตำเสา ณ เดือน มิถุนายน 2565 มีผู้สูงอายุจำนวน 785 คน คิดเป็นร้อยละ 14.12 ของประชากรทั้งหมด 5,559 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม 737 คน ร้อยละ 93.89 ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 48 คน คิดเป็นร้อยละ 6.11 ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสิรมสุขภาพตำบลทุ่งตำเสา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุ จึงได้จัดโครงการส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุ ของโรพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งตำเสา ปี 2565 ขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม และเป็นผู้่สูงอายุที่มีคุณภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมมีการรวมกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค และได้รับความรู้

ร้อยละ 60 ของผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ มีความรู้ได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม สามารถดูแลตัวเอง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม สามารถดูแลตนเอง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมที่ได้ประเมินพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ 737
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2022

กำหนดเสร็จ 31/12/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรม อสม./แกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
อบรม อสม./แกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรม อสม./แกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ตามนโยบายส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 31 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม./แกนนำ มีความรู้ได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม สามารถดูแลตัวเอง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20832.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียน จัดกลุ่มพูดคุย/แนะนำให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียน จัดกลุ่มพูดคุย/แนะนำให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินสุขภาพช่องปาก
ประเมินภาวะซึมเศร้า ประเมินพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุ ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมที่ได้ประเมินพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22482.00

กิจกรรมที่ 3 3.ประเมินพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายะ

ชื่อกิจกรรม
3.ประเมินพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าเอกสารประกอบการประเมิน ค่าจัดทำรูปเล่มสรุปผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุได้ประเมินพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7770.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 51,084.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมได้รับการดูแบสุขภาพแบบองค์รวมด้านกาย จิด สังคม และจิตวิญญาณและมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
2.ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมมีการรวมกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค


>