กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงดาลอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลตันหยงดาลอ อำเภอยะหริ่ง ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงดาลอ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตันหยงดาลอ

ตำบลตันหยงดาลอ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในระดับชุมชนและประเทศ เนื่องจากมีความรุนแรงของโรค จากอัตราการตายและการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อ ซึ่งมียุงลายบ้าน และยุงลายสวนเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญการระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมากเนื่องจากฝนที่ตกลงมา ทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆจึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ ควรต้องเตรียมพร้อมควบคุมกำจัดยุงลาย ก่อนจะถึงช่วงฤดูการระบาดของโรค เพื่อลดจำนวนประชากรของยุงลายในพื้นที่และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่ต่อไป ปัจจัยการระบาดที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและมีการขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มจำนวนของประชากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้น มีการเคลื่อนไหวของประชากรและมียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะขังน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น การคมนาคมที่สะดวกทำให้มีการเดินทางมากขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงกี่ เป็นไปอย่างรวดเร็วนอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกอีกประการหนึ่งได้แก่ การที่พื้นที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่ชุกชุม และมีมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกัน หรือการติดเชื้อซ้ำซึ่งมีผลต่อการระบาดและแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกด้วย
แต่เดิมระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออก จะพบในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 5 - 9 ปี แต่ในปัจจุบัน สามารถพบได้ทุกกลุ่มอายุสถานการณ์โรคไข้เลือดออกอำเภอยะหริ่ง ปี 2562ถึง ปี 2565 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกปี 2562 จำนวน 163 ราย (อัตราป่วย 135.30 ต่อแสนประชากร) ปี 2563 จำนวน 94 ราย (อัตราป่วย 78.00 ต่อแสนประชากร) และปี 2565 จำนวน8ราย (อัตราป่วย 6.64 ต่อแสนประชากร) ตามลำดับ และตำบลตันหยงดาลอ ปี 2562 พบผู้ป่วย จำนวน 2 ราย (อัตราป่วย 0.06 ต่อแสนประชากร)และปี 2563 พบผู้ป่วยจำนวน 7 ราย (อัตราป่วย 0.22 ต่อแสนประชากร) ( เกณฑ์ ระดับจังหวัด ไม่เกิน 24.10 ต่อ แสน ประชากร )ซึ่งพบมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในทุกหมู่บ้านของตำบลตันหยงดาลอทั้งในกลุ่มเด็กนักเรียน และประชาชนทั่วไป
เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการ สาธารณสุขของหน่วยบริการ หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ โดยเน้นเรื่องการควบคุมและป้องกันโรค ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ทั้งที่บ้าน โรงเรียน และชุมชน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตันหยงดาลอ ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงดาลอ และองค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงดาลอ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ในเขตพื้นที่ตำบลตันหยงดาลอขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือ “โรคไข้เลือดออก” ก่อนฤดูการระบาด และในช่วงที่มีการระบาดของโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่ตำบลตันหยงดาลอ

 

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนทุกหลังคาเรือนมีความตระหนัก และมีความร่วมมือในการทำลายภาชนะแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่บ้านอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

 

0.00
3 เพื่อทำลายและควบคุมภาชนะแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบ้าน โรงเรียน มัสยิด (บรม) สถานที่ราชการและสาธารณะประโยชน์อื่นๆ ในชุมชน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/09/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมทีมปฏิบัติงานระดับตำบล

ชื่อกิจกรรม
ประชุมทีมปฏิบัติงานระดับตำบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน x 1 มื้อ x 60 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน50 คน x 1 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน1,250 บาท
    หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถัวจ่ายแต่ละรายการได้
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแนวทางในการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือ “โรคไข้เลือดออก” ก่อนฤดูการระบาด และในช่วงที่มีการระบาดของโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4250.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าแผ่นพับ สื่อโรคไข้เลือดออก จำนวน 350 แผ่น X ราคา 10 บาท เป็นเงิน  3,500 บาท
  2. ค่า ป้ายไวนิล ขนาด 1.0 เมตร X 3.0 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน  750 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน  70 คน x 1 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน  1,750 บาท
  4. ค่าทรายอะเบท  จำนวน  500 ซอง ซองละ 50 กรัม X 1 ถัง  เป็นเงิน  5,000 บาท
  5. ค่าสเปรย์พ่นยุง จำนวน  50  กระป๋อง X 77  บาท  เป็นเงิน 3,850 บาท
    หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถัวจ่ายแต่ละรายการได้
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนทุกเกิดความตระหนัก และร่วมมือในการทำลายภาชนะแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่บ้านในการลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14850.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในเขตพื้นที่ตำบลตันหยงดาลอ ลดลง
2. ประชาชนมีความตระหนักและมีความร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ในชุมชน
3. การมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน


>