กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการจัดบริหารฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการและผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในตำบลแดนสงวน

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แดนสงวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดบริหารฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการและผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในตำบลแดนสงวน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แดนสงวน

กลุ่มอสม.หมู่ที่ 5

1. นางอรอุมา เรืองสวัสดิ์
2.นางสาวปราณี พินิจ
3.นางสุดา รัตนภิรมย์

ผู้พิการและผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ในตำบลแดนสงวน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการศึกษาข้อมูลพบว่าประชากรในเขตพื้นที่ตำบลแดนสงวน มีจำนวนผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงและผู้พิการโดยประมาณ131คน ซึ่งบางรายยังไม่ได้รับการดูแลอย่างครบถ้วนถูกต้อง และผู้ป่วยติดเตียงส่วนใหญ่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย บางรายมีแผลกดทับ บางรายต้องให้อาหารทางสายยางการดูแลผู้ป่วยติดเตียงจึงต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถพร้อมทั้งอุปกรณ์และเครื่องมือที่สะอาดเหมาะสมกับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี มีความต่อเนื่องทั้ง ๓ มิติ คือทางด้านกาย จิตและสัมพันธ์ภาพ ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการจัดบริหารฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการและผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในตำบลแดนสงวน ขึ้นเพื่อให้ผู้ดูแลมีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้น และมีการ
ติดตามการดูแลอย่างต่อเนื่อง อันจะส่งผลให้ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงและผู้พิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นครบทั้ง ๓ มิติ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวและผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงได้รับการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพที่ถูกต้องโดยผู้ดูแลที่เป็นสมาชิกของครอบครัว/ชุมชน 2 เพื่อให้ผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวและผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงสามารถทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้

ร้อยละของคนพิการและผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

10.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 20
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2022

กำหนดเสร็จ 31/12/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมทักษะผู้ดูแล 20 คน

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมทักษะผู้ดูแล 20 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.50*1.20 เมตร เป็นเงิน 500 บาท 2 ค่าเอกสารคู่มือเกี่ยวกับการดูแลผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียง เป็นเงิน 1,700บาท 3 ค่าวิทยากรชม.ละ 500 บาท 4 ชม. เป็นเงิน 2,000บาท 3 ค่าอาหารว่าง 20 คน2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน1,000บาท 4 ค่าอาหารกลางวัน 20 คน 1 มื้อ ๆละ 50 บาทเป็นเงิน1,000บาท และจัดซื้ออุปกรณ์การช่วยเหลือผู้พิการ/ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในตำบลเบื้องต้น แบบยืมใช้ ดังนี้ 5 ค่าจัดซื้อไม้เท้าสามขา6 อันๆละ 650 บาท เป็นเงิน3,900บาท 6 ค่าจัดซื้อวอร์คเกอร์6 อันๆละ 1,000 บาทเป็นเงิน6,000บาท
รวมเป็นเงิน 16,100บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คนพิการและผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงได้รับการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพ สามารถทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ผู้พิการด้านการเคลื่อนไหว ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงมีคุณภาพชีวิตที่ดีข้น
2 ลดภาระ/ค่าใช้จ่ายให้กับครอบครัว
3 ลดการครองเตียงในโรงพยาบาล


>