กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเยาวชนตำบลปากน้ำ รณรงค์ ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์และบุหรี่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

สภาเด็กและเยาวชนตำบลปากน้ำ

นางสาวนัฐการญ์ เด็นเบ็น

นางสาววรนุช หยีมะเหรบ

นางสาวรุ่งนภา อุสมา

นางสาวพิชยา ดำสนิท

นางสาวพรชนก ชัยทอง

ตำบลปากน้ำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุรา , แผนงานยาสูบ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและเยาวชน(อายุไม่เกิน 25 ปี) ที่สูบบุหรี่

จำนวนของเด็กและเยาวชน(อายุไม่เกิน 25 ปี) ที่สูบบุหรี่ 611 คน

14.00
2 ร้อยละของเด็กและเยาวชน(อายุไม่เกิน 25 ปี)ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

จำนวนของเด็กและเยาวชน(อายุไม่เกิน 25 ปี) ที่ดื่มเครื่องดื่อมแอลกอฮอล์ 873 คน

20.00

ปัญหาการสูบบุหรี่ และกินเหล้าในประเทศไทยยังทวีความรุนแรง โดยเฉพาะอายุของนักสูบหน้าใหม่ที่ลดน้อยลงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม อย่างกว้างขวางและเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเป็นจำนวนมาก
เป็นที่ทราบกันดีว่าสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดมีผลให้เกิดโรค NCDS เมื่อดื่มแล้วจะทำให้ เกิดผลต่อระบบประสาทส่วนกลางโดยโทษของสุรานั้นอาจมีตั้งแต่ขั้นเบา ไปจนถึงขั้นรุนแรงอย่างเช่น เสียการทรงตัว พูดไม่ชัด และที่รุนแรงคือหมดสติ และยังส่งผลให้ผู้ดื่มสุราแบบเสี่ยงอันตรายหรือการติดสุรา มีคุณภาพชีวิตต่ำลงอีกด้วย โทษของการดื่มสุราต่อสังคม 1.อุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ เนื่องจากผู้ดื่มสุรามักมั่นใจว่า ไม่เมา มีสติ สามารถขับรถได้ แต่ในความเป็นจริง สุราจะ ไปกดประสาทส่วนกลาง ทำให้การรับรู้เรื่องราวต่างๆ ช้าลง ส่งผลกระทบต่อระบบการตัดสินใจ ทำให้ไม่สามารถควบคุม ตนเองได้เต็มร้อย 2.ทะเลาะวิวาท สุรมีผลกระทบต่อสมองส่วนหน้า เป็นส่วนที่ควบคุมสติ และการตัดสินใจ ทำให้ทะเลาะวิวาทกับผู้อื่นได้ ง่าย 3.ฆาตกรรม ผลการศึกษาคดีฆาตกรรมจากการผ่าพิสูจน์ศพ พบว่า มากกว่า 60% ของผู้เสียชีวิต ตรวจพบแอลกอฮอล์ ในร่างกาย เพระการดื่มสุราจะช่วยให้ศูนย์ควบคุมจิตใจทำงานได้แย่ลง ทำให้ไม่สามารถป้องกันตัวได้ 4.ฆ่าตัวตาย ผลกาวิจัยพบว่า ในจำนวนคนกว่า 50% ของผู้ที่เคยฆ่าตัวตาย ต้องดื่มสุราเพื่อเรียกความกล้าก่อนเสมอ ประชาชนควรมีความรู้แลตระหนักถึงผลร้ายของเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ที่มีต่อสุขภาพของตนเอง ครอบครัว สังคม และควรมีการประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับ พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ให้มากขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักต่อการเคารพกฏหมายปลูกฝังให้เกิดเป็นค่านิยมสาธารณะเพื่อให้เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ไม่เป็นสินค้าธรรมดาอีกต่อไป
โครงการแข่งขันตกปลาบาราฟิชชิ่งคัพ ครั้งที่ 21 และมหกรรมอาหารสะอาด ปลอดภัย อร่อยได้ ไร้แอลกอฮอล์ ประจำปี 2565จะจัดขึ้้นระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม นี้ ดำเนินการตามโครงการเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางทะเลและอาหารของตำบลปากน้ำ และจังหวัดสตูลให้แพร่หลาย ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวทางทะเล และอาหารทะเลของตำบลปากน้ำ ให้เป็นที่รู้จักแก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ส่งเสริมเศรษฐกิจระดับฐานราก การกระจายรายได้ในชุมชนส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนนักศึกษา เยาวชน ประชาชนได้มีพื้นฐานในการแสดงออกมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวงานจำนวน 500 -1000 คน/วัน
ดังนั้น สภาเด็กและเยาวชนตำบลปากน้ำ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาการสูบบุหรี่และกินเหล้าซึ่งยังมีอยู่เป็นจำนวนมากสมควรที่จะต้องดำเนินการแก้ไขจึงได้จัดทำโครงการเยาวชนรณรงค์ ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ ขึ้น เนื่องจากบุหรี่และเหล้าเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตอันดับต้นของคนไทยที่สามารถป้องกันได้โดยการช่วยเหลือให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบ และเลิกเหล้า และป้องกันหรือลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่ให้ห่างไกลจากการสูบบุหรี่ และเลิกกินเหล้า ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ผุ้ประกอบการร้านค้า และผุ้บริโภค มีสุขภาพดี แข็งแรงไร้แอลกอฮอล์

มีผุ้เข้าร่วมงานกิจกรรมประมาณ 500-1,000 คน ต่อวัน เข้าใจโทษภัยจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่่

0.00
2 2.เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่องโทษภัยจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่

ผู้เข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มได้ โดยหันมาดื่มน้ำสมุนไพรแทนการดื่มเหล้า

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 1,450
กลุ่มวัยทำงาน 500
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/12/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมจัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมจัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินงานและกำหนดกิจกรรม จำนวน 15 คน จำนวน 1 ครั้ง จ่่ายเป็นค่าอาหารว่างแดละครื่องดื่ม 35 บาทx15 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 17 พฤศจิกายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
525.00

กิจกรรมที่ 2 การประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
การประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์   1000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 31 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมเด็กและเยาวชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเด็กและเยาวชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน และแกนนำเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ มอบหมายหน้าที่ในการทำงาน ออกแบบกิจกรรมรณรงค์ในพื้นที่ เตรียมความพร้อมในเรื่องข้อมูลที่จะรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และเก็บข้อมูล จำนวน 2 ครั้ง จัดกรรมการอบรมให้ความรู้ความเข้าใจในป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ร่่ว่มกับเครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดสตูล

กำหนดการ

เวลา08.30-09.00 ลงทะเบียน

เวลา09.00-12.00- รับฟังบรรยายโทษของบุหรี่ และแอลกอฮลล์

12.00 – 13.00ร่วมรับประทานอาหาร

13.00 – 16.00 กิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโทษและวิธีป้องกันตนเองจากบุหรี่และแอลกอฮอล

16.00 น. ตอบแบบสอบถามประเมินผลโครงการ

กิจกรรมวันที่2 จัดทำสื่อ และวางแผนการดำเนินการรณรงค์

เวลา08.30-09.00 ลงทะเบียน

เวลา09.00-12.00- อบรมเชิงปฏิบัติการในการนำเสนอสื่อการรณรงค์ในเรื่อง่ของบุหรีและแอลกกอฮอลล์

12.00 – 13.00ร่วมรับประทานอาหาร

13.00 – 16.00 อบรมเชิงปฏิบัติการในการจัดทำแผนการดำเนินงานรณรงค์ ในโครงการบาราฟิชชิ่งคัพ

16.00 น. ตอบแบบสอบถามประเมินผลโครงการ

งบประมาณในการจัดกิจกรรม

ค่าอาหารกกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ มื้อละ 100 บาท จำนวน 30 คนเป็นเงิน6000 บาท

ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 4 มื้้อ มื้อละ 35 บาท จำนวน 30คน เป็นเงิน เป็นเงิน4200บาท

ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับใช้ในการอบรม คิดเป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 พฤศจิกายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกัน และรู้ถึงโทษของยาบุหรี่และแอลกอฮอล์ สามารถประชาสัมพันธ์ทางช่องทางต่างๆได้ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10700.00

กิจกรรมที่ 4 จัดบูธกิจกรรมรณรงค์ปัจจัยเสี่ยง (7 วัน)

ชื่อกิจกรรม
จัดบูธกิจกรรมรณรงค์ปัจจัยเสี่ยง (7 วัน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

15.00 น. - 16.00 น. กิจกรรมระบายสี

16.00 น. -17.00 น. กิจกรรมเล่นเกมส์แจกของรางวัล

17.00 น. - 18.00 น. กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน

19.00 น. - 19.30 น. น้ำดื่มทางเลือก(น้ำดื่มสมุนไพร)

19.30 น. - 20.30 น. ประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องโทษ เครื่องดื่มแอลกอฮล์ และบุหรี่

20.30 น. - 21.00 น. กิจกรรมกิจกรรมแว่นจำลองเมา

งบประมาณในการจัดกิจกรรม

ค่าอาหารกกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 100 บาท 7วันจำนวน 20 คนเป็นเงิน 14000 บาท

ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้้อ มื้อละ 35 บาท 7 วันจำนวน 20คน เป็นเงิน เป็นเงิน4900บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 พฤศจิกายน 2565 ถึง 4 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโทษภัยจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18900.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมถอดบทเรียนโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมถอดบทเรียนโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เชิญแกนนำเยาวชน คณะทำงาน่ และเครื่อข่ายอื่่นที่เกี่ยวข้อง จำนวน 35 คน เข้าร่วมถอดบทเรียนการทำงานในการรณรงค์งดเหล้าและบุหรี่ในโครงการนบาราฟิชชิ่งและมหกรรมอาหารสะอาดปลอดภัยไร้แอลกอฮอลล์ รายละเอียดกิจกรรม ร่วมแลกเปลี่ยนปัญหา ข้อเสนอแนะ แนวทางในการจัดการรณรงค์ครั้งต่อไป ร่วมกันสรุปและประมวลผลจากการทำแบบสำรวจ โดยมีค่าใช้จ่าย เป็นค่าอาหารว่างจำนวน 1มื้อ มื้อละ 35 บาท ค่าวิทยากร ถอดบทเรียน จำนวน 1 ท่าน 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท คิดเป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 ธันวาคม 2565 ถึง 20 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้องค์ความรู้จากการปฏิบัติงานโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3025.00

กิจกรรมที่ 6 สรุปจัดทำรูปเล่มรายงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปจัดทำรูปเล่มรายงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปโครงการและจัดทำรูปเล่มรายงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 ธันวาคม 2565 ถึง 26 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลการดำเนินโครงการ ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,150.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>