กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปากน้ำ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อสม.ขาดทักษะและความเชี่ยวชาญ ในการดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง

 

10.00
2 อสม.ขาดทักษะ ความรูในการใช้งานแอปลิเคชั่นหรือเครื่องมือต่างๆที่ใช้ในการดำเนินงาน

 

60.00

การดำเนินงานด้านสาธารณสุขในชุมชน ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ซึ่งเครือข่ายสุขภาพที่สำคัญ ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ที่ให้บริการแก่ประชาชน เป็นรูปแบบหนึ่งของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพ ของตนเอง ครอบครัว และชุมชน อสม.คือประชาชนในหมู่บ้าน ที่มีใจรักในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข สมัครใจ และเต็มใจ ที่จะช่วยงานในชุมชน เป็นที่ยอมรับของชาวบ้านปฏิบัติงานด้วยความเสียสละ ผ่านกระบวนการอบรมให้ความรู้จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างสม่ำเสมอ และจะต้องมีการพัฒนาด้านทักษะความรู้ให้ทันต่อสภาพปัญหาด้านสาธารณสุขที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โยเฉพาะในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ตลอดจนเป็นผู้นำในการสร้างสุขภาพให้แก่ประชาชนในชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถจัดระบบบริการสุขภาพได้อย่างเหมาะสมด้วยชุมชนเอง ภายใต้การสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆในพื้นที่
ปัจจุบันสถาณการณ์ด้านสุขภาพของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สาเหตุหนึ่งเกิดจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป โรคที่เกิดกับประชาชนจึงเป็นโรคที่เกิดจากการดูแลพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือสมอง ส่งผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นผู้ป่วยติดบ้าน ติดตียง อีกทั้งยังมีโรคติดต่อที่กลับมาเป็นปัญหาสาธารณสุขอีก เช่นโรควัณโรค รวมถึงโรคอุบัติใหม่ที่เป็นภัยต่อสุขภาพของประชาชน เช่นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) โรคฝีดาษลิง เป็นต้น
อสม. ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำ มีเครือข่าย อสม. จำนวน 104 คน ครอบคลุมพื้นที่การทำงานในเขตรับผิดชอบในหมู่บ้าน การปฏิบัติงานของ อสม.ในชุมชน จำเป็นต้องมีการพัฒนาศักยภาพ ให้มีความรู้ ทักษะ การปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสามารถดูแลสุขภาพของประชาชนได้ทันต่อสถานการณ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ให้มีความรู้ ทักษะ ด้านการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลสุขภาพของประชาชนโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาด้านองค์ความรู้และทักษะของ อสมในการดูแลผู้ป่วยในความรับผิดชอบ

อสม.มีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม

อสม.มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยี ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมข้อมูลมาวางแผนดําเนินกิจกรรม

  2. ประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำ ,อสม.,แพทย์แผนไทย กายภาพ เพื่อวางแผนดําเนินงานตามกิจกรรม จำนวน 15 คน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 15 คน คนละ35 บาท จำนวน 1 มื้อ คิดเป็นเงิน 525 บาท

  3. ติดต่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขออนุเคราะห์เจ้าหน้าที่ร่วมดำเนินงาน

  4. ประสานติดต่อวิทยากรในการอบรมให้ความรู้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้แนวทางในการดำเนินงานกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
525.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ตามหลักสูตร

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ตามหลักสูตร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

โดยวิธีการบรรยาย อภิปราย สาธิต ฝึกปฏิบัติ กลุ่มเป้าหมาย อสม. จำนวน 104 คน

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 104 คน คนละ 35บาท x 2มื้อ x 2วัน เป็นเงิน 14,560 บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 104 คน คนละ 80 บาท x 2มื้อ เป็นเงิน 16,640 บาท

-ค่าสมนาคุณวิทยากร 2 คน คนละ 300 บาท จำนวน 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท (วิทยากรภายนอก วันที่ 2)

ทดสอบความรู้หลังการอบรม โดยให้แบบทดสอบความรู้

ตารางการอบรม

วันที่ 1

08.30-09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าอบรม

09.00-09.30 นพิธีเปิดการอบรม

09.30- 09.45 น.เตรียมความพร้อม/ชี้แจงรายละเอียดหลักสูตร

09.45-10.30น. บทบาท อสม.ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ (วิทยากร คุณ อดุล เดเช)

10.30-12.00 น.บทบาท อสม.ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไม่ติดต่อ (วิทยากร คุณ สุนิดา งะสมัน)

12.00-13.00น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.00น.ทักษะการวัดความดันโลหิต และการตรวจหาน้ำตาลในเลือด การบำรุงรักษาเครื่องมือ(วิทยากร คุณ สุนิดา งะสมัน)

14.00-16.30น.บทบาท อสม.ในการดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง(วิทยากร คุณ สุนิดา งะสมัน)

วันที่ 2

09.00-10.30 น. การใช้เทคโนโลยีสื่อสารสำหรับ อสม.(วิทยากร คุณ รุ่งศักดิ์ จอสกุล)

10.30-12.00 น. ฝึกปฏิบัติการใช้แอปลิเคชั่น สำหรับ อสม. (วิทยากร คุณ รุ่งศักดิ์ จอสกุล)

12.00-13.00น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30น.ระบบรายงาน อสม.ออนไลน์(วิทยากร คุณ อริญชัย หลงเก)

14.30-16.00น.ทดสอบหลังการอบรม สรุปผลการอบรม (วิทยากร คุณ อริญชัย หลงเก)

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 มกราคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.มีความรู้ และทักษะด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และสามารถใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมให้ความรู้การดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง และฝึกการดูแลทำแผล ดูดเสมหะ และการให้อาหารทางสายยางแก่ญาติผู้ป่วยและอสม.

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้การดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง และฝึกการดูแลทำแผล ดูดเสมหะ และการให้อาหารทางสายยางแก่ญาติผู้ป่วยและอสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้ป่วย 11 คนกลุ่มเป้าหมายจำนวน 43 คน แบ่งเป็น ญาติผู้ดูแลผู้ป่วย 22 ราย อสม. 12 ราย และ เจ้าหน้าที่ FR อบต.ปากน้ำเข้าร่วมกิจกรรม ให้ความรู้ สาธิต และฝึกปฏิบัติ การดูแลผู้ป่วยติดเตียง ทำแผล ดูดเสมหะ การให่อาหารทางสายยาง และการสังเกตอาหารเผ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วย และทดสอบความรู้หลังการอบรม โดยให้แบบทดสอบความรู้

1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 43 คน คนละ 80 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,440 บาท

2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 43คน คนละ 35บาท 2 มื้อ เป็นเงิน3,010 บาท

3.ค่ากระเป๋าเอกสารและคู่มือในการอบรม จำนวน 43 คน คนละ 80 บาท เป็นเงิน 3,440 บาท

4.ค่าวิทยากร 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท รวมเป็นเงิน 1,500 บาท

5.ค่าของใช้ที่ผู้ป่วย ADL น้อยกว่า 4 คะแนน จำนวน 5 คน

  • ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ราคา 409 บาท จำนวน 5 คน เป็นเงิน 2,045 บาท

  • แผ่นรองซับผู้ใหญ่ ราคา 99 บาท จำนวน 5 คน เป็นเงิน 495 บาท

6.ค่าสรุปรูปเล่ม จำนวน 2 เล่ม เป็นเงิน 1,000 บาท

***หมายเหตุ ค่าใฃ้จ่าย ถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

แผนการดำเนินโครงการ

08.00-9.45 น. ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

9.45-10.45 น. ให้ความรู้เรื่องการทำกายภาพบำบัดและการนวดแผนไทยในผู้ป่วยติดเตียง

10.45-11.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง

11.00-12.00 น.ภาวะโภชนการในผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง

12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30 น. สาธิตวิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียง (การทำแผล ดูดเสมหะ การให้อาหารทางสายให้อาหาร)

14.30-14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง

14.45-16.00 น. ทดสอบการดูแลผู้ป่วย และประเมินผู้เข้าร่วมอบรมหลังการอบรม และมอบของใช้แก่ผู้ป่วยที่ADLน้อยกว่า 4

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.และญาติมีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงและฝึกการดูแลทำแผล ดูดเสมหะ และการให้อาหารทางสายยาง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14930.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 48,455.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อสม. มีศักยภาพ มีความรู้ และมีทักษะ ในการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมและป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถใช้เทคโนโลยีการสื่อเพื่อการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
2. อสม.สามารถให้บริการเชิงรุก ด้านการส่งเสริมและป้องกันโรค แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ


>