กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่ สำหรับบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง และบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่ สำหรับบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง และบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

1.นางสำลี ลัคนาวงศ์
2.นายสุพงศ์แสน ประทีปรัศมี
3.นางลำดวน หัวแท้
4.นายสมหมาย หลังเถาะ ผู้ประสานงาน คนที่ 1 (081-0939976)
5.นางสาวณัติญา เฉลิม ผู้ประสานงาน คนที่ 2 (086-9654640)

พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

บุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงโดยเฉพาะในรายที่จำเป็นต้องใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ เพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน จัดได้ว่าเป็นกลุ่มที่ควรให้การสนับสนุน เพื่อให้บุคคลดังกล่าวได้รับการดูแลและเข้าถึงการบริการสาธารณสุขในชุมชนอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงมีมติให้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่เป็นสิทธิ์ประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้บุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงตามแผนการดูแลรายบุคคลระยาวด้านสาธารณสุข ( Care Plan ) และบุคคลที่มีปัญหากลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตามผลการประเมินหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ได้รับการดูแลและเข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างทั่งถึงและเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นในงบประมาณที่มีอยู่ ในระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จึงมีความสำคัญยิ่งในการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าว สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้

องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง มีประชากรทั้งหมด 14,199 คน ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 60 ปี มีจำนวน 1,671 คน ได้รับการประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล พบว่าผู้สูงอายุที่มีคะแนนเอดีแอลมากกว่า 11 คะแนน จำนวน 1,647 คน คิดเป็นร้อยละ 98.6 และมีคะแนนเท่ากับหรือน้อยกว่า 11 คะแนน (ติดบ้าน ติดเตียง) จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 1.2 มีคนพิการทั้งหมด 390 คน ได้รับการประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล พบว่าคนพิการที่มีคะแนนเอดีแอล มากกว่า 11 คะแนน จำนวน 366 คน คิดเป็นร้อยละ 93.8 และมีคะแนนเท่ากับหรือน้อยกว่า ๑๑ คะแนน (ติดบ้าน ติดเตียง) จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 6.2 ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่เป็นคนพิการ จำนวน 20 คน คนพิการที่มีภาวะพึ่งพิง ที่ไม่ใช่ผู้สูงอายุ จำนวน 4 คนศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ดูแลผู้สูงอายุ/คนพิการที่มีภาวะพึ่งพิงทั้งหมด 24 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.2 ของผู้สูงอายุและคนพิการทั้งหมดในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงโดยผู้สูงอายุ/คนพิการที่มีภาวะพึ่งพิงทั้งหมด แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ ๑ (เคลื่อนไหวได้บ้างมีปัญหาการกิน/ การขับถ่ายแต่ไม่มีภาวะสับสน) จำนวน 3 คนคิดเป็นร้อยละ 12.5 กลุ่มที่ ๒ (เคลื่อนไหวได้บ้างมีภาวะสับสน และอาจมีปัญหาการกิน/การขับถ่าย) จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 41.7 กลุ่มที่ ๓ (เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และอาจมีปัญหาการกิน/การขับถ่ายหรือเจ็บป่วยรุนแรง) จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 45.8 และกลุ่มที่ 4 (เคลื่อนไหวเองไม่ได้ เจ็บป่วยรุนแรงหรืออยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต) จำนวน 0 คน ผู้สูงอายุ/คนพิการที่มีภาวะพึ่งพิง ที่มีคะแนนความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 คะแนน มีจำนวน 16 คน และบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตามการประเมิน/ใช้ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ จำนวน 5 คน เนื่องจากบุคคลดังกล่าวไม่สามารถกลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะได้เนื่องจากการทำงานของร่างกายที่ผิดปกติเนื่องจากพยาธิสภาพของโรค โดยส่งผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย จิตสังคม จึงมีความจำเป็นต้องใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ในการดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้การดูแลสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน หากผู้ป่วยได้รับการตอบสนองความต้องการในการดูแลผู้ป่วยที่ดี ย่อมทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จึงจัดทำโครงการสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่ สำหรับบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง และบุคคลที่มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ เพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จำนวน 21 คน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้บุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงและมีค่าคะแนนระดับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 คะแนน ตามแผนการดูแลรายบุคคลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care Plan) และบุคคลที่มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ได้รับการสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่เพิ่มเติมตามสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และเข้าถึงบริการสาธารณสุขตามสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  1. ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุ/ผู้พิการ ได้รับการคัดกรองและมีระบบส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูและการดูตามระดับความจำเป็นในการดูแลระยะยาว และบุคคลที่มีปัญหาการกลั่นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตามผลการประเมินหรือบ่งชี้ทางการแพทย์

การประเมิน :

  • แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล

  • แบบประเมินภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา)

  1. ร้อยละ 100 ของผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงและมีค่าคะแนนระดับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 คะแนน ตามแผนการดูแลรายบุคคลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care Plan) และบุคคลที่มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตามผลการประเมินหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ได้รับการสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่เพิ่มเติมตามสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

การประเมิน :

  • แบบบันทึกการรับการสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่
  1. ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุและคนพิการที่มีภาวะพึ่งพิง และบุคคลที่มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตามผลการประเมินหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ มีความพึงพอใจในการให้บริการสาธารณสุขและการได้รับผ้าอ้อมผู้ใหญ่

การประเมิน :

  • แบบประเมินความพึงพอใจ
  1. ร้อยละ 60 ของผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงและมีค่าคะแนนระดับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 คะแนน ตามแผนการดูแลรายบุคคลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care Plan) และบุคคลที่มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตามผลการประเมินหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีค่าคะแนนระดับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) คงที่หรือเพิ่มขึ้น

การประเมิน :

  • แบบประเมินคุณภาชีวิต ขององค์การอนามัยโลก

  • แบบประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index)
80.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
บุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได 5
ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีคะแนน ADL น้อยกว่า 6 คะแนน 16

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจผู้สูงอายุ/ผู้พิการและบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

ชื่อกิจกรรม
สำรวจผู้สูงอายุ/ผู้พิการและบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1.1 สำรวจผู้สูงอายุในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ผู้พิการและบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง อย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง
1.2 ประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอลหรือทำการประเมิน/ใช้ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ บุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้
1.3 สรุปข้อมูลผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีคะแนนประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล เท่ากับหรือน้อยกว่า 6 คะแนนและบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้

งบประมาณ
- ไม่ขอใช้งบประมาณ

เป้าหมาย
- ผู้สูงอายุในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
- ผู้พิการในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
- บุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 การให้บริการสาธารสุขแก่ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีคะแนน ADL น้อยกว่า 6 คะแนน และบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้

ชื่อกิจกรรม
การให้บริการสาธารสุขแก่ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีคะแนน ADL น้อยกว่า 6 คะแนน และบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
2.1 ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ( Care Manager ; CM ) จัดทำแผนการดูแลรายบุคคล (Care Plan; CP) ปรึกษาปัญหารายกรณีกับสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง (care conference) และลงเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงเพื่อให้บริการด้านสาธารณสุข อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

2.2 ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ( Care Manager ; CM )จัดแบ่งผู้สูงอายุให้ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Caregiver ; CG ) แต่ละคนรับผิดชอบดูแล พร้อมจัดทำแผนการดูแลรายบุคคล (Care Plan; CP) รายสัปดาห์ และตารางการปฏิบัติงานมอบหมายให้ ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Caregiver ; CG ) ปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Caregiver ; CG )1 คน ดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงไม่เกิน 6 คนต่อวัน วันละไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
โดย กลุ่มที่ 1 ให้บริการอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง
กลุ่มที่ 2 ให้บริการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
กลุ่มที่ 3 ให้บริการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
กลุ่มที่ 4 ให้บริการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
และอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น 1 คน ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 4 คน วันละ 8 ชั่วโมง เดือนละไม่น้อยกว่า 20 วัน

2.3 ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Caregiver ; CG )ทำหน้าที่ให้บริการสาธารณสุขเบื้องต้น การดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน การจัดการสภาพแวดล้อม/บ้าน พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก่ญาติและผู้ดูแล ตามแผนการดูแลรายบุคคล (Care Plan; CP)และประเมินการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงและให้คำแนะนำได้อย่างถูกต้อง

2.4 ประเมินความเสี่ยงประเมินการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง หากพบว่า ผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงเกิดภาวะแทรกซ้อน ให้แจ้งผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ( Care Manager ; CM ) เพื่อทำหน้าที่ประสานงานแก่ทีมสหวิชาชีพในการดูแลอย่างถูกต้อง หรือรับ-ส่งต่อโรงพยาบาล

2.5 ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Caregiver ; CG )บันทึกผลการเยี่ยมและการให้บริการสาธารณสุขตามแบบบันทึกการปฏิบัติงาน

2.6 ศูนย์จัดหาวัสดุ อุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นให้แก่ผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงตามแผนการดูแลรายบุคคล (Care Plan; CP)
- สนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่ โดยให้ญาติที่ดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีคะแนน ADL น้อยกว่า 6 คะแนนและบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ มารับที่ศูนย์ และเอกสารรับผ้าอ้อมผู้ใหญ่พร้อมแนบเอกสารผู้ที่มารับผ้าอ้อมผู้ใหญ่

2.7 จ้างเหมาบริการหรือจ่ายค่าตอบแทนผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Caregiver ; CG ) จ่ายค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาหรือค่าเบี้ยเลี้ยงแก่ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ( Care Manager ; CM ) และหรือบุคลากรสาธารณสุขที่มาช่วยปฏิบัติงาน

2.8 ประเมินความพึงพอใจ และคุณภาพชีวิตของกรมอนามัยโลกก่อนและหลังให้บริการสาธารณสุขและการสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่

งบประมาณ
จัดซื้อผ้าอ้อมผู้ใหญ่ แก่ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง และบุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้
งวดที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2565 - 31 ธันวาคม 2565 - ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ จำนวน 21 คน คนละไม่เกิน 3 ชิ้น/วัน ชิ้นละ 9.50 บาท จำนวน 78 วัน รวมผ้าอ้อมผู้ใหญ่ 4,914 ชิ้น เป็นเงิน 46,683 บาท

งวดที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 - 31 มีนาคม 2566
- ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ จำนวน 21 คน คนละไม่เกิน 3 ชิ้น/วัน ชิ้นละ 9.50 บาท จำนวน 90 วัน รวมผ้าอ้อมผู้ใหญ่ 5,670 ชิ้น เป็นเงิน 53,865 บาท

งวดที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 - 30 มิถุนายน 2566
- ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ จำนวน 21 คน คนละไม่เกิน 3 ชิ้น/วัน ชิ้นละ 9.50 บาท จำนวน 91 วัน รวมผ้าอ้อมผู้ใหญ่ 5,733 ชิ้น เป็นเงิน 54,463.50 บาท

งวดที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566 - ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ จำนวน 21 คน คนละไม่เกิน 3 ชิ้น/วัน ชิ้นละ 9.50 บาท จำนวน 62 วัน รวมผ้าอ้อมผู้ใหญ่ 3,906 ชิ้น เป็นเงิน 37,107 บาท
(หมายเหตุ จัดซื้อผ้าอ้อมผู้ใหญ่ตามราคาท้องตลาด)
- จ้างเหมาบริการหรือจ่ายค่าตอบแทน CG จ่ายค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาหรือค่าเบี้ยเลี้ยงแก่ CM และหรือบุคลากรสาธารณสุขที่มาช่วยปฏิบัติงาน (ไม่เบิกจ่ายในโครงการ)

รวมเป็นเงิน 192,118.50 บาท

เป้าหมาย
- ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีคะแนน ADL น้อยกว่า 6 คะแนน จำนวน 16 คน
- บุคคลที่มีภาวะปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ จำนวน 5 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 ตุลาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
192118.50

กิจกรรมที่ 3 ประชุม/ติดตามผล

ชื่อกิจกรรม
ประชุม/ติดตามผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
3.1 ประชุมคณะทำงานศูนย์ จำนวน 5 คน และผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง( Caregiver ; CG ) เพื่อติดตามการปฏิบัติงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง( Caregiver ; CG ) ในการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงทุก 3 เดือน และรายผลการติดตามแก่ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและ
คนพิการ องค์การบริการส่วนตำบลกำแพง
3.2 ประชุมคณะกรรมการทำหน้าที่ในการติดตามการปฏิบัติงานของอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น เพื่อปรับแผนการดูแลตามปัญหาของผู้ป่วยแต่ละราย 3.3 ประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ องค์การบริการส่วนตำบลกำแพง ติดตามผลการดำเนินโครงการ ทุก 6 เดือน

งบประมาณ
3.1 ประชุมคณะทำงานศูนย์ จำนวน 5 คน และผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง( Caregiver ; CG ) เพื่อติดตามการปฏิบัติงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง( Caregiver ; CG ) ในการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงทุก 3 เดือน และรายผลการติดตามแก่ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและ
คนพิการ องค์การบริการส่วนตำบลกำแพง
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะทำงานศูนย์ฯ และผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Caregiver ; CG ) จำนวน 16 คนๆละ 4 ครั้งๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท
- ค่าตอบแทนคณะทำงานศูนย์ จำนวน 5 คน และผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง( Caregiver ; CG ) จำนวน 11 คน คนๆละ 4 ครั้งๆละ 200 บาท เป็นเงิน 12,800 บาท
- ค่าวัสดุ/อุปกรณ์และเอกสารประชุม เป็นเงิน 1,000 บาท
รวมเป็นเงิน 15,400 บาท

3.2 ประชุมคณะกรรมการทำหน้าที่ในการติดตามการปฏิบัติงานของอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น
ไม่ขอใช้งบประมาณ

3.3 ประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ องค์การบริการส่วนตำบลกำแพง ติดตามผลการดำเนินโครงการ ทุก 6 เดือน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ จำวน 15 คนๆละ 2 ครั้งๆละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท
- ค่าตอบแทนคณะกรรมการบริหารศูนย์ จำนวน 15 คนๆละ 2 ครั้งๆละ 200 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
- ค่าวัสดุ/อุปกรณ์และเอกสารประชุม เป็นเงิน 1,000 บาท
รวมเป็นเงิน 7,750

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 23,150 บาท

เป้าหมาย
- คณะทำงานศูนย์ จำนวน 5 คน
- ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Caregiver ; CG ) จำนวน 11 คน
- คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ จำนวน 15คน - อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น จำนวน 2 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23150.00

กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
4.1 จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง
4.2 จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

งบประมาณ
- ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท - ค่าตอบแทนคณะทำงานในการนำเสนอโครงการ (ไม่ขอเบิกจ่ายในโครงการ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรูปเล่มรายงานผลโครงการ จำนวน 4 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 216,268.50 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่างๆในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงและมีค่าคะแนนระดับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 คะแนน ตามแผนการดูแลรายบุคคลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care Plan) และบุคคลที่มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตามผลการประเมินหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ได้รับการสนับสนุนผ้าอ้อมผู้ใหญ่เพิ่มเติมตามสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

2. ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงและมีค่าคะแนนระดับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 คะแนน ตามแผนการดูแลรายบุคคลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care Plan) และบุคคลที่มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตามผลการประเมินหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์มีสุขภาพดีขึ้น และสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ

3. ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงและมีค่าคะแนนระดับความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 คะแนน ตามแผนการดูแลรายบุคคลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care Plan) และบุคคลที่มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตามผลการประเมินหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ มีความพึงพอใจในการให้บริการสาธารณสุข


>