กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามใต้

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการใจใส่ใจ เพื่อหนูน้อยมีสุขภาพดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามใต้

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านระดับตำบล ตำบลนาท่ามใต้ (ชมรม อสม.ตำบลนาท่ามใต้)

1. นางน้องนุช หนูนาค
2. นางจรัส ชอบชูผล
3. นางกันยา อ่อนสนิท
4. นางสุคนธ์ จันทร์เพชร
5. นางปราณี นานอน

ตำบลนาท่ามใต้

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (Well-being) ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว และสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้และรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ปัญหาในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก สถานการณ์ภาวะโภชนาการของเด็กไทยในฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข พบเด็กอ้วนสูงกว่าค่าเป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด คือไม่เกินร้อยละ 10 ตั้งแต่ปี 2561-2563 จากร้อยละ 11.8, 13.6 และ 12.78 ตามลำดับ และเด็กเตี้ย พบสูงกว่าค่าเป้าหมาย ร้อยละ 5 ในช่วงเวลาเดียวกัน ร้อยละ 5.7 8.9 และ 5.9 ตามลำดับ การแก้ไขปัญหาดังกล่าวต้องบูรณาการภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน สู่การขับเคลื่อนระบบการดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียนวัยรุ่นระยะยาว ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขในส่วนภูมิภาคและภาคีเครือข่ายด้านการศึกษา ให้มีความฉลาดรู้ทางการเคลื่อนไหว (Physical Literacy) และมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) พร้อมที่จะขับเคลื่อนให้เด็กเพิ่มกิจกรรมทางกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ทุกมื้อ และนอนหลับอย่างเพียงพอ 9-11 ชั่วโมงต่อวัน
จากสภาพปัญหาดังกล่าว ชมรม อสม.ตำบลนาท่ามใต้ จึงได้จัดทำโครงการใจใส่ใจ เพื่อหนูน้อยมีสุขภาพดีขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อดำเนินการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-5 ปี

ร้อยละ 65 ของเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน

80.00 80.00
2 เพื่อคัดกรองพัฒนาการเด็ก 0 - 5 ปี ตามช่วงอายุที่กำหนด
  • ร้อยละ 90 ของเด็กอายุ 0-5 ปี ทั้งหมดตามช่วงอายุที่กำหนด ได้รับการคัดกรองพัฒนาการ
  • ร้อยละ 80 ของเด็กอายุ 0-5 ปี ทั้งหมดตามช่วงอายุที่กำหนดมีพัฒนาการสมวัย
80.00 80.00
3 เพื่อให้เด็กอายุ 0 - 5 ปีที่ได้รับการตรวจพัฒนาการพบล่าช้า ได้ส่งต่อเพื่อกระตุ้นให้สมวัย
  • ร้อยละ 20 ของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่ได้รับการคัดกรองพัฒนาการ พบสงสัยล่าช้า
  • ร้อยละ 95 ของเด็กอายุ 0-5 ปี ทั้งหมดตามช่วงอายุที่กำหนด มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้รับการติดตาม
80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/09/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมคัดกรองภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนในการตรวจคัดกรอง จำนวน 4 คนๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าถ่ายเอกสาร จำนวน 500 บาท
  • สายวัด จำนวน 8 อันๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 160 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1860.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมคัดกรองพัฒนาการเด็กตามกลุ่มวัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองพัฒนาการเด็กตามกลุ่มวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนในการตรวจคัดกรอง จำนวน 3  คนๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ชุดประเมินพัฒนาการเด็ก จำนวน 4 ชุดๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2800.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประกวดหนูน้อยนมแม่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประกวดหนูน้อยนมแม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าเกียรติบัตร จำนวน 20 ใบๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง จำนวน 150 ชุดๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 7,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 150 ชุดๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รพ.สต.นาท่ามใต้ สนับสนุน

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,660.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อสม. มีความรู้เรื่องพัฒนาการเด็กและสามารถทดสอบพัฒนาการเด็กได้
2. ผู้ปกครองเด็กสามารถดูพัฒนาการและกระตุ้นพัฒนาการของบุตรตนเองได้
3. เด็กที่มีพัฒนาการผิดปกติได้รับส่งต่อเพื่อกระตุ้นพัฒนาการ
4. ร้อยละ 65 ของเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน
5. ร้อยละ 95 ของเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย


>