กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดพุง ลดโรค กส. ร่วมใจ ต้านภัยจากโรคอ้วน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

โรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยา

1. นางสาวอมร ช่วยพันธ์
2. นางสาวรัชนี พร้อมมูล
3. นางประนอม ประยูร
4. นายพุทธิพงษ์ เอี่ยวสกุล
5. นางอรทัย คงสุวรรณ

โรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยา ต. เชิงแส อ. กระแสสินธุ์ จ. สงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 นักเรียน และบุคลากรในโรงเรียน มีภาวะสุ่มเสี่ยงเป็นโรคอ้วน

 

52.00
2 นักเรียนและบุคลากร ไม่ได้ออกกำลังกาย จากเหตุการณ์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19

 

45.00

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพและด้านสุขภาพโดยทำให้ประชาชนมีกิจกรรมทางกายลดลง อาจเป็นผลมาจากปัจจัยร่วมหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตนตามมาตรการ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” เพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน และประเทศไทยเผชิญกับปัญหาภาวะเริ่มอ้วน และอ้วนในเด็กเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากรายงาน HDC กระทรวงสาธารณสุข ปี 2565 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 พบเด็กอายุ 6 - 14 ปี มีภาวะเริ่มอ้วน และอ้วน ร้อยละ 13.7 เด็กวัยรุ่น 15 - 18 ปี พบร้อยละ 13.1 เกินค่าเป้าหมายที่กำหนดให้ไม่เกิน ร้อยละ 10 สาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมและขาดการออกกำลังกาย ซึ่งผู้ที่มีภาวะอ้วน จะส่งผลเสียกับร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงต่อการป่วยที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังและอาการต่างๆ ตามมา

ประกอบกับในปี พ.ศ.2565 จากผลการคำนวณดัชนีมวลกายของโรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยา พบว่า บุคลากร และนักเรียนโรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยา มีภาวะโรคอ้วน 52 ราย จากจำนวน 291 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.87 เนื่องจากสถานการณ์โควิดที่ผ่านมานั้นทำให้บุคลากร และนักเรียนมีวิถีชีวิตปรับเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยมีการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์เป็นส่วนใหญ่แทนการมาเรียนที่โรงเรียน โดยนักเรียนใช้ชีวิตประจำวันที่บ้านมากกว่าการมาเรียนที่โรงเรียน อาศัยการเรียนที่บ้านเป็นกิจวัตรประจำวัน ขาดการออกกำลังกาย และมีกิจกรรมทางกายลดน้อยลง ส่งผลให้เป็นโรคอ้วนในอัตราที่สูง และอาจส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา เช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดดังนั้น งานอนามัยโรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยาจึงเห็นความสำคัญของปัญหาการเกิดโรคดังกล่าว จึงได้จัดโครงการลดพุง ลดโรคร้าย กส. ร่วมใจต้านภัยจากโรคอ้วน ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายในโรงเรียน ทั้งในส่วนของบุคลากร และนักเรียน และเพื่อลดการเกิดโรคอ้วน รวมถึงโรคแทรกซ้อนอื่นๆ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาสุขภาพอันเกิดจากภาวะโรคอ้วน

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้ามหมายมีความรู้ และเกิดความตระหนักถึงปัญหาสุขภาพอันเกิดจากภาวะโรคอ้วน

0.00 0.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและส่งเสริงการออกกำลังกายของนักเรียน
  1. ร้อยละ 95 ของกลุ่มเป้าหมาย ได้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่น้อยกว่า4 ครั้ง ต่อสัปดาห์
  2. ร้อยละ 50 ของกลุ่มเป้าหมาย มีค่าดัชนีมวลกายลดลง
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 39
กลุ่มวัยทำงาน 13
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประเมินภาวะสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประเมินภาวะสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1. คัดกรองนักเรียน และบุคลากรกลุ่มเป้าหมาย
-ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวัดรอบเอว
-คำนวณค่าดัชนีมวลกาย

กลุ่มเป้าหมาย
-นักเรียน จำนวน 264 ราย
-บุคลากร จำนวน 26 ราย

งบประมาณ
- เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล แบบตั้งพื้นแบบยืน จำนวน 1 เครื่องเป็นเงิน 1,875 บาท
รวมเป็นเงิน 1,875 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพแข็งแรงมีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน ห่างไกลจากโรคอ้วน
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการออกกำลังกาย
  3. ผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมออกกำลังกายเพิ่มขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1875.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1. จัดอบรมให้ความรู้ในหัวข้อดังต่อไปนี้
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งในส่วนของการออกกำลังกาย และควบคุมอาหารการกิน
- ภาวะแทรกซ้อนจากโรคอ้วน ตระหนักเกี่ยวกับโรค ตามหลัก 3อ 2ส
- การคำนวณค่าดัชนีมวลกายกับผู้เข้าร่วมโครงการ
2. มีการประเมินความรู้ ก่อนและหลังเข้ารับการอบรม

กลุ่มเป้าหมาย
- นักเรียนและบุคลากร จำนวน 52 คน
- คณะทำงาน จำนวน 5 คน

งบประมาณ
- อาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 57 คน คนละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,425 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
รวมเป็นเงิน 3,225 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย และการกินอาหาร
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการ ตระหนัก และเข้าใจถึงภาวะแทรกซ้อนจากโรคอ้วน
  3. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถคำนวณดัชนีย์มวลกายให้กับตนเองและบุคคลในครอบครัวได้ถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3225.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
กิจกรรมออกกำลังกาย โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายตามวัย โดยออกกำลังกาย ไม่น้อยกว่า 4 ครั้ง ต่อสัปดาห์

กลุ่มเป้าหมาย
-นักเรียนจำนวน 39 ราย
-บุคลากรจำนวน 13 ราย

งบประมาณ
- โต๊ะปิงปอง 1 ชุด ขนาด 152CMx274CMเป็นเงิน 4,500 บาท
- ไม้ปิงปอง 2 อัน ๆ ละ 75 เป็นเงิน 150 บาท
- ลูกปิงปอง 1 กล่อง (6ลูก) กล่องละ 35 เป็นเงิน 35 บาท
- ไม้แบดมินตัน 2 อัน ๆ ละ 200 เป็นเงิน 400 บาท
- ลูกขนไก่ 1 กล่อง (12ลูก) กล่องละ 290 เป็นเงิน 290 บาท
- ลูกวอลเลย์บอล 2 ลูก เป็นเงิน 2,000 บาท
- ลูกตะกร้อ 5 ลูกๆ ละ 150 เป็นเงิน 750 บาท
รวมเป็นเงิน 8,125 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8125.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามประเมินผลค่าดัชนีมวลกายเป็นรายบุคคล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผลค่าดัชนีมวลกายเป็นรายบุคคล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1. ประเมินสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย
- ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวัดรอบเอว
- คำนวณค่าดัชนีมวลกาย
- เปรียบเทียบค่าดัชนีมวลกาย ก่อน-หลัง การดำเนินกิจกรรม

กลุ่มเป้าหมาย
-นักเรียนจำนวน 39 ราย
-บุคลากรจำนวน 13 ราย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้ทราบถึงค่าดัชนีมวลการของผู้เข้าร่วมโครงการทุกราย เพื่อใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกิจกรรมรวม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมรายงานผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรายงานผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำรายงานผลโครงการฉบับสมบูรณ์ จำนวน2 เล่ม

งบประมาณ
- ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการ จำนวน 2 เล่ม ๆ ละ 200 บาทเป็นเงิน 400 บาท

เป็นเงิน 400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน และบุคลากร กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 65 มีค่าดัชนีมวลกายตามเกณฑ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,625.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยจ่ายได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และเกิดความตระหนักถึงปัญหาสุขภาพอันเกิดจากภาวะโรคอ้วน
2. กลุ่มเป้าหมาย ได้ออกกำลังกายสม่ำเสมอไม่น้อยกว่า 4 ครั้ง ต่อสัปดาห์
3. กลุ่มเป้าหมาย มีค่าดัชนีมวลกายลดลง


>