กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลกำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์สร้างชุมชนน่าอยู่ หน้าบ้านสวย หลังบ้านสวน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลกำแพง

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เทศบาลตำบลกำแพง

1. นางสาวอรุณรัตน์ หมาดยูโส๊ะ
2. นางวิภา หรันหลัง
3. นางสาวสุกาญดา สลาหมาด
4.นางสาวรอบีฉ๊ะ ทิ้งปากน้ำ
5. นางสาวปาริดา ราเย็น

พื้นที่เทศบาลตำบลกำแพงทั้ง 8 ชุมชน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันการเกิดโรคต่างๆ มีปัจจัยองค์ประกอบของการเกิดโรคมากมาย ประกอบด้วยบุคคล เชื้อโรค พาหนะนำโรค และสิ่งแวดล้อมในชุมชน ซึ่งในการป้องกันและควบคุมโรคจะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าว ไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค คือบุคคล ต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีแหล่งพาหนะนำโรค และที่สำคัญ คือสิ่งแวดล้อมต้องถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคลต้องสะอาดถูกสุขลักษณะ ไม่มีขยะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค และการปรับปรุงรักษาสภาพแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งที่ประชาชนในชุมชนทำได้ ปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลแต่ละหลังคาเรือน ซึ่งชุมชนใด มีการปรับปรุงรักษาความสะอาดของที่พักอาศัยให้ได้มาตรฐานเป็นประจำอย่างต่อเนื่องก็จะเป็นการป้องกันโรคต่างๆ ในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการมีอาหารมีพืชผักปลอดสารพิษสำหรับบริโภค ทำให้สุขภาพก็ดีตาม ตลอดจนคุณภาพชีวิตก็ดีขึ้นด้วยส่งผลให้ประชาชนในชุมชนนั้นๆ มีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างชุมชนน่าอยู่ ลดขยะ ลดโรค

ประชาชนมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะ และกำจัดแหล่งพาหะนำโรค

0.00
2 2.เพื่อสร้างครัวเรือนนำร่องในการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ

เกิดครัวเรือนนำร่องในการปลูกผักปลอดสารพิษ 80 หลังคาเรือน

0.00
3 3.เพื่อสร้างชุมชนต้นแบบในการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม

เกิดชุมชนต้นแบบในการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม 1 ชุมชน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2022

กำหนดเสร็จ 30/11/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 เคาะประตู สะกิดใจ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 เคาะประตู สะกิดใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมรณรงค์คัดแยกขยะ ทำลายแหล่งพาหะนำโรค -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ จำนวน 8 ชุมชนๆ ละ 100 คนๆละ 25 บาท  เป็นเงิน 20,000 บาท
-ค่าป้ายรณรงค์ เป็นเงิน 2,000 บาท -ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 31 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ถนนภายในชุมชนไม่มีขยะตกค้าง ไม่มีแหล่งสะสมของพาหะนำโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 หลังบ้านสวนพิชิตโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 หลังบ้านสวนพิชิตโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,000.-บาท
  2. ค่าวิทยากร จำนวน 2 ชม.ๆ ละ 600.- บาท เป็นเงิน 1,200.-บาท
  3. ค่าจัดซื้อกระถางสาธิตการปลูกผัก ขนาด 8 นิ้ว จำนวน 80 กระถาง ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 800.-บาท
  4. ค่าจัดซื้อกาบมะพร้าวสับ จำนวน 80 กก. ๆ ละ 40.- บาท เป็นเงิน 3,200.-บาท
  5. ค่าจัดซื้อแกลบดิบ จำนวน 40 กก. ๆ ละ 30.- บาท เป็นเงิน 1,200.-บาท
  6. ค่าจัดซื้อแกลบเผา จำนวน 40 กก. ๆ ละ 60.- บาท เป็นเงิน 2,400.-บาท
  7. ค่าจัดซื้อปุ๋ยคอก จำนวน 80 กก. ๆ ละ 60.- บาท เป็นเงิน 4,800.-บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15,600.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 31 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีครัวเรือนนำร่องในการปลูกผักปลอดสารพิษ จำนวน 80 หลังคาเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15600.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 ชุมชนต้นแบบ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 ชุมชนต้นแบบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประกวดชุมชนต้นแบบ
- ค่าตอบแทนกรรมการ จำนวน 5 คน ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
- ค่ารางวัลชุมชนต้นแบบ 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 พฤศจิกายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ชุมชนต้นแบบด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมจำนวน 1 ชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>