กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลกำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อสม.พลังชุมชน รู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรมต้านภัยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลกำแพง

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เทศบาลตำบลกำแพง

1. นางสาวอรุณรัตน์ หมาดยูโส๊ะ
2. นางวิภา หรันหลัง
3. นางสาวสุกาญดา สลาหมาด
4.นางสาวรอบีฉ๊ะ ทิ้งปากน้ำ
5. นางสาวปาริดา ราเย็น

เทศบาลตำบลกำแพง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายสนับสนุนการตรวจสุขภาพสำหรับ ประชาชน และอสม.ทุกคนเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีในการดูแลสุขภาพตนเอง และพัฒนาด้านสุขภาพเพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตที่ดี เกิดความทั่วถึง โดยให้รับรู้สถานะของตนเองและเข้าถึงการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และได้กำหนดให้ดำเนินการพัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัยให้มีความครอบคลุมในมิติทางด้านสุขภาพทั้ง 4 มิติ คือ มิติด้านการป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ เน้นให้เกิดการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักด้านสุขภาพ จนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเคยชินให้เป็นพฤติกรรมที่ลดเสี่ยงต่อการเกิดโรค และลดโรคที่เป็นแล้วให้เป็นน้อยลง หรือหายเป็นปกติ โดยเฉพาะ 3อ คือ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ และ 2ส คือ ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มสุรา เป็นการ “ปรับก่อนป่วย” เพราะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีปัจจัยเสี่ยงร่วมกับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตการส่งเสริมสุขภาพจึงเน้นให้ “ประชาชนสุขภาพดี เริ่มต้นที่สร้างนำซ่อม” โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ผู้เป็นพลังชุมชนที่สำคัญในการเป็นผู้นำ เป็นต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (Change Agent) โดยมีบทบาทที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะด้านสุขภาพให้แก่คนในชุมชน โดยมีเป้าหมายในการเป็น “คู่หูสุขภาพ (Buddy Healthy)” ร่วมรู้สถานะสุขภาพ ร่วมปรับพฤติกรรม ต้านภัยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ได้รับการพัฒนาจากหลักการและกลวิธีสาธารณสุขมูลฐาน ซึ่งประเทศไทยได้มีการนำมาใช้ร่วมกับการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศกว่า 3 ทศวรรษ ซึ่งเป็นการพัฒนา โดยเน้นหลักการมีส่วนร่วม คือ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ และร่วมประเมินผลสำเร็จ โดย อสม.จะได้รับการฝึกอบรมพัฒนาความรู้และทักษะด้านสุขภาพ สามารถเป็นนักสื่อสารสุขภาพ เป็นต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และสามารถถ่ายทอดความรู้ทักษะด้านสุขภาพให้กับบุคคลอื่น ๆ ในชุมชนได้ อีกทั้งมีการบริหารจัดการองค์กรในรูปแบบของ ชมรม อสม. ตั้งแต่ระดับตำบล อำเภอ จังหวัด เขต ภาค และประเทศ

ดังนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง และส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีของ อสม. จึงได้จัดทำโครงการ อสม.พลังชุมชน รู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรม ต้านภัยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดย อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกันดำเนินการตรวจสุขภาพ ดำเนินกิจกรรมลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพื่อให้ อสม. องค์กร อสม. และชุมชนพัฒนาเป็นองค์กรสร้างสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคได้อย่างยั่งยืนสืบไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ อสม.เกิดความตระหนักด้านสุขภาพโดยการตรวจสุขภาพ คัดกรอง เฝ้าระวังโรคและป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงของตนเองและชุมชน

อสม. และประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักด้านสุขภาพ จนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงต่อการเกิดโรค

0.00
2 2.เพื่อให้เกิดการดำเนินการในการลดปัจจัยเสี่ยง ลดการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของ อสม.และชุมชน

เกิดรูปแบบของกิจกรรมในการปรับเปลี่ยน 3อ คือ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ และ 2ส คือ ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มสุรา

0.00
3 3.เพื่อให้ อสม. และองค์กร อสม. พัฒนาเป็นองค์กรสร้างสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคอย่างยั่งยืน

เกิดบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 500
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 31/12/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ตรวจและประเมินสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ตรวจและประเมินสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์คัดกรองกลุ่มเป้าหมายพร้อมทั้งสรุปผลการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป เป็นรายบุคคล โดยอสม.และ จนท.ลงพื้นที่และให้ความรู้ก่อนเข้ารับการคัดกรอง พร้อมแจ้งผลการคัดกรองให้กลุ่มเป้าหมายทราบ โดยตรวจประเมินสุขภาพ พร้อมจดบันทึกข้อมูล ดังนี้ -การชั่งน้ำหนัก (หน่วยเป็นกิโลกรัม) วัดส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) วัดรอบเอว (หน่วยเป็นเซนติเมตร) -คำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย โดยใช้ข้อมูลเรื่องน้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วยความสูง (เมตร) ยกกำลัง 2 -การจับชีพจร และวัดความดันโลหิต โดยก่อนวัดต้องซักถามประวัติการเป็นความดัน -การเจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด 1.ค่าจัดทำป้ายโครงการ เป็นเงิน 500 บาท 2.ค่าแบบบันทึกการตรวจคัดกรองพร้อมกับวัสดุและเอกสารให้ความรู้จำนวน 500 ชุดๆละ 5 บาทเป็นเงิน 2,500 บาท 3.ค่าวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ สำหรับตรวจคัดกรอง เป็นเงิน 6,000 4.ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมก่อนการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 500 คน x 25 บาท รวมเป็นเงิน 12,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 31 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ข้อมูลสุขภาพของ อสม. และประชาชน จำนวน 500 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 อสม. พลังชุมชน รู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรมต้านภัยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 อสม. พลังชุมชน รู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรมต้านภัยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามหลัก 3อ.2ส.จำนวน 100 คน -ค่าวัสดุในการอบรม (แฟ้ม,ปากกา) จำนวน 100 ชุดๆละ 45 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท -ค่าชุดอาหารสาธิตให้ความรู้จำนวน 2 ชุดๆละ 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 2,000 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 100 คน X 2 มื้อๆละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 5,000 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน X 1 มื้อๆละ 85 บาท รวมเป็นเงิน 8,500 บาท -ค่าวิทยากรอบรม จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 31 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม. และประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักด้านสุขภาพ จนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงต่อการเกิดโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23600.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมทางกายโดยการเต้น Line Dance

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมทางกายโดยการเต้น Line Dance
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย Line Dance - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 14 วันๆละ 1 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 8,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 พฤศจิกายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.และประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้ออกกำลังกาย อย่างน้อย ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 “องค์กร อสม.สร้างสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรมดีเด่นระดับเทศบาล ”

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 “องค์กร อสม.สร้างสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรมดีเด่นระดับเทศบาล ”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดการประกวด“องค์กร อสม.สร้างสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรมดีเด่นระดับเทศบาล ” โดยแต่ละชุมชนส่งตัวแทนเข้าประกวด - ค่าตอบแทนกรรมการ จำนวน 5 คนๆละ 800 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท -ค่ารางวัลบุคคลต้นแบบ “คู่หูสุขภาพ (Buddy Healthy)” รางวัลที่ 1 จำนวน 3,000 บาท รางวัลที่ 2 จำนวน 2,000 บาท รางวัลที่ 3 จำนวน 1,000 บาท รางวัลชมเชย จำนวน 5 รางวัลละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท รวมเป็นเงิน 9,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้บุคคลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพจำนวน 16 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 66,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>