กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำพะยา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชาวลำพะยาสุขภาพดี ห่างไกลโรคอ้วนด้วยหลัก 3 อ. ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำพะยา

สำนักงานปลัดอบต.ลำพะยา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไม่ติดต่อยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประชาชนไทยทั้งในแง่ภาระโรคและอัตราการเสียชีวิตอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (30 - 69 ปี) จากโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ ประกอบด้วย โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง ประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางสังคม เช่น การขยายตัวของสังคมเมือง กลยุทธ์ทางการตลาด ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการสื่อสารที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตและทำให้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเพิ่มมากขึ้น
จากรายงานอัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อภาพรวมของประเทศไทย ในปี 2557 ถึงปัจจุบัน พบประชากรไทย 19.3 ล้านคน มีภาวะอ้วน และมีรอบเอวเกินอ้วนลงพุง กว่า 20.8 ล้านคน สำหรับจังหวัดยะลา ปี พ.ศ 2562 พบว่า ประชากรวัยทำงาน อายุ 19 – 29 ปี มีภาวะน้ำหนักเกิน (BMI 25 - 29.9) ถึงร้อยละ 16.48 และมีโรคอ้วน (BMI ≥ 30) ร้อยละ 9.10 (กรมอนามัย, 2564) และยังคงมีแนวโน้มการเกิดโรคที่เพิ่มสูงขึ้น สำหรับสาเหตุหลักสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคอ้วน ได้แก่ พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารรสจัด เช่น หวานจัด เค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีความเครียดสูง เป็นต้น สอดคล้องกับข้อมูลการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน อายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ปี 2565 พบว่า ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน (BMI 25 - 29.9) มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารรสหวาน และขนมที่มีแป้งและน้ำตาลมาก เป็นประจำ คิดเป็นร้อยละ 48 รับประทานอาหารไขมันสูง เนื้อสัตว์ติดมัน เป็นประจำ คิดเป็นร้อยละ 45 และมีออกกำลังกายที่ทำให้หายใจเร็วขึ้นกว่าปกติและเหงื่อซึม อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วันๆ ละ 30 นาที เป็นประจำ เพียงร้อยละ 12
ดังนั้น หากประชาชนมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพ และมีทักษะในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ย่อมส่งผลต่อความสามารถในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชน เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคอ้วนได้ ด้วยเหตุนี้ กลุ่มงานสุขศึกษา โรงพยาบาลศูนย์ยะลา จึงได้จัดทำโครงการชาวลำพะยาสุขภาพดี ห่างไกลโรคอ้วนด้วยหลัก 3 อ. ขึ้น เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน มีความรู้ และพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ส่งผลให้ประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลามีสุขภาพดีในระยะยาวต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1) เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน มีความรู้ตามหลัก 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

1) ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน มีความรู้ตามหลัก 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) ที่ถูกต้องและเหมาะสมไม่น้อยกว่าร้อยละ 85

0.00
2 2) เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน มีพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

2) ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน มีพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) ที่ถูกต้องและเหมาะสมเพิ่มขึ้นจากเดิม

0.00
3 3) เพื่อจัดตั้งชมรมลดอ้วน ลดพุงในชุมชนตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

3) ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วนมีเส้นรอบเอว ลดลงจากเดิมร้อยละ 30 หรือ มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ลดลงจากเดิมร้อยละ 50 4) ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/12/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 . กิจกรรม “โปรแกรมลดอ้วนลดพุงแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน (BMI 25 - 29.9) ตามหลัก 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) ในชุมชนเขตตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

ชื่อกิจกรรม
. กิจกรรม “โปรแกรมลดอ้วนลดพุงแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน (BMI 25 - 29.9) ตามหลัก 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) ในชุมชนเขตตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน x 1 มื้อๆ x 60 บาท x 6 วัน เป็นเงิน 18,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 2 มื้อ x 25 บาท x 6 วัน เป็นเงิน 15,000 บาท
  • ค่าวิทยากรบรรยาย 6 ชั่วโมง * 300 บาท * 1 วัน * 1 คน เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าวิทยากรประจำกลุ่ม 6 ชั่วโมง * 300 บาท * 5 วัน * 3 คน เป็นเงิน 27,000 บาท
  • ค่าวัสดุในการจัดอบรม 5,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
66800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 66,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนในเขตชุมชนตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ได้รับการจัดกิจกรรมเรียนรู้ที่ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพลดเสี่ยงลดโรคตามหลัก 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป


>