กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาศักยภาพครูและผู้ดูแลเด็กในการดูแลช่วยเหลือปัญหาสุขภาพจิตเด็กในกลุ่มเด็กวัยเรียน ประจำปี 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพครูและผู้ดูแลเด็กในการดูแลช่วยเหลือปัญหาสุขภาพจิตเด็กในกลุ่มเด็กวัยเรียน ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

กลุ่มงานการพยาบาลจิตเวชโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

นางมัสนีและตำแหน่งนักจิตวิทยาชำนาญการ โทร 086-9621377
นางดาวดือราโอ๊ะตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โทร 089-9730969

ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวช อาจส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก ทำให้ไอคิวไม่ถูกพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพที่ผ่านมาจากการวัดไอคิวเด็กไทยจะเห็นว่าไม่ดีอย่างที่ควรจะเป็น สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะเด็กมีปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชโดย 4 โรคหลัก คือ 1. ปัญหาสติปัญญาบกพร่องเป็นกลุ่มเด็กที่มีสติปัญญาต่ำกว่า 70 มักจะรู้ก่อน 6 ขวบพบได้ประมาณ 1% 2. ออทิสติก พบได้ประมาณ 1-2 คนใน 1,000 คน 3. สมาธิสั้น พบได้ประมาณ 5-10% 4. ความบกพร่องในการเรียนรู้หรือแอลดี พบได้ประมาณ 5-10% เช่นกัน เด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นกว่าครึ่ง มักพบร่วมกับแอลดี ดังนั้นจะเห็นว่า 4 โรคนี้แทรกอยู่ในเด็กมากมายในวัยเรียน อายุ 6-12 ปี สำหรับเด็กที่สติปัญญาบกพร่อง และเด็กออทิสติก เป็นโรคที่ปรากฏให้เห็นได้เร็ว ดูออกเร็วตั้งแต่อายุน้อย และได้รับการช่วยเหลือตั้งแต่ต้นทาง แต่ก็ยังมีบางส่วนหลุดรอดการคัดกรองมาได้ เพราะเด็กบางคนอาการไม่เห็นชัด ถ้าอยู่ในระบบการศึกษา ครูอาจจะไม่เข้าใจ ทำให้เด็กถูกดูแลอย่างไม่เหมาะสม แต่ 2 โรคหลังจะเห็นชัดในวัยเรียน คือ เด็กสมาธิสั้นกับแอลดี ซึ่งในบางครั้งเด็กอายุ 3-4 ขวบ ยังไม่แสดงอาการที่ทำให้เห็นเด่นชัด ทำให้วินิจฉัยโรคไม่ได้ ซึ่งต้องเฝ้าระวังพ่อแม่และคุณครู อาจไม่ทราบว่าเด็กมีความผิดปกติ ทำให้เด็กเข้าสู่ระบบการเรียนเหมือนเด็กปกติทั่วไป และเมื่อไปเรียนกับเด็กปกติทั่วไป ตัวโรคที่เด็กเป็น ทำให้เด็กมีความแปลกแยกจากเด็กอื่น ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเด็กดื้อ เด็กซน เด็กไม่สนใจเรียน ไม่ได้เรื่องซึ่งกลุ่มที่เราให้ความสำคัญในเด็กวัยเรียน คือ เด็กสมาธิสั้นและแอลดี แต่ก็ช่วยกรองอีก 2 โรคคือ เด็กสติปัญญาบกพร่องและออทิสติก
จากการดำเนินงานที่ผ่านมาถึงปัจจุบันจำนวนนักเรียนที่ส่งมาคัดกรอง ในปี 2563 จำนวนเด็กที่ส่งมาคัดกรอง 26 คน พบมีความเสี่ยง 26 คน ปี 2564 ส่งมาคัดกรอง 88 คน พบมีความเสี่ยง88 คน ปี 2565 ส่งมาคัดกรอง 62 คน พบมีความเสี่ยง62คน ดังนั้นกลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้ จึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพครูและผู้ดูแลเด็กในการดูแลช่วยเหลือปัญหาสุขภาพจิตเด็กในกลุ่มเด็กวัยเรียน เพื่อให้คุณครูและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถส่งต่อเด็กที่มีปัญหาได้อย่างเหมาะสมต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครูและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง 4 กลุ่มโรค

ครูและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง 4 กลุ่มโรคมากขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

50.00 80.00
2 เพื่อให้ครูและผู้ดูแลสามารถคัดกรองหรือประเมินเบื้องต้นได้

ครูและผู้ดูแลสามารถคัดกรองหรือประเมินเบื้องต้นได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

50.00 80.00
3 เพื่อให้ครูและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจถึงปัญหาและมีแนวทางการส่งต่อช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม

ครูและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจถึงปัญหาและมีแนวทางการส่งต่อช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครูและผู้ดูแลเด็กในวัยเรียน 40
เจ้าหน้าที่และผู้จัดโครงการ 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพครูและผู้ดูแลเด็กในการดูแลช่วยเหลือปัญหาสุขภาพจิตเด็กในกลุ่มเด็กวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพครูและผู้ดูแลเด็กในการดูแลช่วยเหลือปัญหาสุขภาพจิตเด็กในกลุ่มเด็กวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย
- ครูหรือผู้ดูแลเด็ก 40 คน (โรงเรียนเทศบาล 1-4,โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก,โรงเรียนรังผึ้ง,โรงเรียนบุณยลาภนฤมิต ,โรงเรียนเกษมทรัพย์)
- คณะทำงาน 10 คน รวม 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม ดังนี้
- ประชุมคณะทำงาน
- ประสาน พญ.อรุณศิริ โสตติมานนท์ ตำแหน่งจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ประจำโรงพยาบาลสุไหงโก-ลกมาเป็นวิทยากรในโครงการ
- อบรมเชิงปฏิบัติการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพครูและผู้ดูแลเด็กในการดูแลช่วยเหลือปัญหาสุขภาพจิตเด็กในกลุ่มเด็กวัยเรียน ระยะเวลาการอบรม 1 วัน
กำหนดการ ดังนี้
08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียน/ทำแบบทดสอบก่อนการอบรม
08.30 - 09.00 น. พิธีเปิดโดยนายแพทย์บรรยงเหล่าเจริญสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
09.00 - 10.30 น.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ 4 กลุ่มโรคของเด็ก
10.30 - 12.00 น.การใช้คู่มือเพื่อช่วยเหลือเด็ก
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.00 น. การใช้คู่มือเพื่อช่วยเหลือเด็ก
14.00 - 16.00 น. แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือช่วยเหลือเด็ก
16.00 - 16.30 น. ทำแบบทดสอบหลังการอบรม/สรุปประเด็นปัญหา
หมายเหตุ : พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.30 น.และ 14.30 น.
งบประมาณ ดังนี้
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท X 50 คน x 2 มื้อ = 3,000 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 50 คน =3,000 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท/ชม. x 6 ชม. = 3,600 บาท
4. ค่าวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม ได้แก่ กระดาษ สมุด ปากกา เป็นต้น= 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครูและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจใน 4 กลุ่มโรคร้อยละ 80 ครูและผู้ดูแลเด็กมีทักษะในการคัดกรองและการใช้แบบประเมินสามารถช่วยเหลือ ส่งต่อได้อย่างเหมาะสมร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,100.00 บาท

หมายเหตุ :
ขอถัวทุกรายการและจำนวนคนภายในวงเงินที่ได้รับ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ครูและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง 4 กลุ่มโรค
2. ครูและผู้ดูแลสามารถคัดกรองหรือประเมินเบื้องต้นได้
3. ครูและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจถึงปัญหาและมีแนวทางการส่งต่อช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม


>