กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการค่ายอบรมจริยธรรมเยาวชนปลอดสิ่งเสพติดด้วยอิสลาม ภาคฤดูร้อน ปี 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทพา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการค่ายอบรมจริยธรรมเยาวชนปลอดสิ่งเสพติดด้วยอิสลาม ภาคฤดูร้อน ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทพา

มัสยิดฟูหล่าหลนนาอีม(พรุหมาก)

1.นายตอฮ๊าด นิหะ
2. นายหวันยาเหรด หัสมาน
3. นางสาวนิสรีน หวันหมาด
4. นางสาวตอฮีเร๊าะ นิหะ
5.นางสาวซะวานีย์นิสัน

พื้นที่ตำบลเทพา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการหนึ่งจากอัลกุรอานที่ศาสนาอิสลามให้การยอมรับคือ ไม่อนุญาติให้มุสลิมรับประทาน หรือ ดื่มและเสพสิ่งใดๆ ที่จะทำให้เสียชีวิตโดยเร็วหรือช้าก็ตาม เช่น ยาพิษทุกชนิด และสิ่งที่ให้โทษหรือที่จะทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น โดยอาศัยหลักฐานจากพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานที่ว่า "และท่านทั้งหลายอย่านำตนเองสู่ความหายนะ " (ซูเราะห์อัลบะกอเราะห์ โองการที่ 195) และหลักฐานจากอัลฮะดิษที่ว่า " จะต้องไม่ทำความเสียหายต่อตนเองและผู้อื่น " รายงานโดยอะห์มัด ดังนั้นอาศัยหลักการดังกล่าวการสูบบุหรี่ถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม เพราะเป็นที่ปรากฏแน่ชัดว่าการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อผู้สูบ และบุคคลใกล้ชิด
จากข้อมูลของมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ หัวข้อมูล “สถิติและปัญหาจากการสูบบุหรี่ประเทศไทย” (http://www.smokefreezone.or.th/) ระบุว่า การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตก่อนเวลาที่ป้องกันได้ ซึ่งการสูบบุหรี่ทำให้คนไทยเสียชีวิตปีละ 51,651 คน หรือวันละ 141 คน โดยผู้ที่เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่อายุสั้นลง 12 ปี และป่วยหนักโดยเฉลี่ย 2.5 ปีก่อนตาย ขณะที่การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของโรคร้ายแรงหลายโรค เช่น โรคหัวใจ 12.2 ล้านคน โรคเส้นเลือดสมอง 10.2 ล้านคน และหญิงตั้งครรภ์สูบบุหรี่ทำให้คลอดก่อนกำหนด 19.1 ล้านคน การสูบบุหรี่ทำให้เกิดมะเร็ง 12 ชนิด คือ มะเร็งช่องปาก ลำคอและกล่องเสียง หลอดลมและปอด หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก ตับ ตับอ่อน ไต กระเพาะปัสสาวะ ปากมดลูก และเม็ดเลือดขาว นอกจากนี้จากข้อมูลการสูบบุหรี่ในประเทศไทย ปีพ.ศ.2557 พบว่า มีผู้สูบบุหรี่ 11.4 ล้านคน แบ่งเป็นชาย 10.7 ล้านคน และหญิง 0.6 ล้านคน ส่วนการติดบุหรี่ของเยาวชนไทย พบว่า ปี พ.ศ.2557 มีเยาวชน 200,000 คน เป็นนักสูบหน้าใหม่ หรือคิดเป็น 547 คน/วัน และการสำรวจในเด็กนักเรียนอายุ 13-15 ปี (พ.ศ.2558) พบว่า มีการใช้ยาสูบ 14.0 % บุหรี่ไฟฟ้า 3.3 % โดยเกือบ 1 ใน 4 ของนักเรียนอายุ 13-15 ปี ไม่เคยได้รับการสอนเกี่ยวกับอันตรายของการสูบบุหรี่ต่อสุขภาพ ทั้งนี้ เยาวชนไทยที่ติดบุหรี่ มีพฤติกรรมเสี่ยงเพิ่มขึ้นกว่าเยาวชนที่ไม่สูบบุหรี่คือ มีโอกาสดิ่มสุรา 3.5 เท่า เที่ยวกลางคืน 3.2 เท่า เล่นการพนัน 3.3 เท่า ใช้ยาเสพติด 17.0 เท่า และมีเพศสัมพันธ์ 3.7 เท่า ส่วนการสำรวจ ปี พ.ศ.2554 ระบุว่า ผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ ร้อยละ 54 พยายามที่จะเลิกสูบบุหรี่ ร้อยละ 36.7 และใช้วิธีพยายามเลิกด้วยตนเอง ร้อยละ 90.7
ด้วยเหตุนี้ทางมัสยิดฟูหล่าหลนนาอีม(พรุหมาก)มองเห็นถึงภัยร้ายที่มาพร้อมกับยาเสพติด ที่ได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตของเยาวชนมุสลิม โดยเฉพาะจำนวนของผู้สูบบุหรี่ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นในกลุ่มของเยาวชน จึงได้จัดทำโครงการค่ายอบรมจริยธรรมเยาวชนปลอดสิ่งเสพติดด้วยอิสลาม ภาคฤดูร้อน ปี 2565 ขึ้น เพื่อให้นักเรียนของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา)ฟูหล่าหลนนาอีม(พรุหมาก) จำนวน 70 คน ให้ ได้มีความตระหนักถึงภัยร้ายจากยาเสพติด สร้างเยาวชนแกนนำต่อต้านยาเสพติด ด้วยการสอดแทรกคำสอนจากอัลกุรอานถึงโทษของบุหรี่ และส่งเสริมให้มีการศึกษาและปฏิบัติตามคำสอนของอัลกุรอาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวมุสลิมได้ให้การนับถือ ส่งผลให้เกิดการป้องกันการเพิ่มจำนวนของผู้สูบบุหรี่และสารเสพติดอื่น ๆ พัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนในชุมชนให้ดียิ่งขึ้นไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจและปลูกจิตสำนึกให้แก่เด็กและเยาวชนนักเรียนศูนย์ฯ(ตาดีกา)ฟูหล่าหลนนาอีม(พรุหมาก) จำนวน 70 คน ตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติดที่มีผลต่อร่างกาย สุขภาพอนามัย และส่งผลกระทบต่อปัญหา ครอบครัว สังคม ตลอดจนความมั่นคงของชาติ

เด็กและเยาวชนนักเรียนศูนย์ฯ(ตาดีกา)ฟูหล่าหลนนาอีม(พรุหมาก) ร้อยละ 70 เกิดความรู้ความเข้าใจและมีจิตสำนึก ตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติดที่มีผลต่อร่างกาย สุขภาพอนามัย และส่งผลกระทบต่อปัญหา ครอบครัว สังคม ตลอดจนความมั่นคงของชาติ

60.00 70.00
2 เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

สามารถป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน ร้อยละ 80

80.00
3 เพื่อสร้างแกนนำเด็กและเยาวชนนักเรียนศูนย์ฯ(ตาดีกา)ฟูหล่าหลนนาอีม(พรุหมาก) ต่อต้านยาเสพติดในชุมชนและครอบครัว

เด็กและเยาวชนนักเรียนศูนย์ฯ(ตาดีกา) ฟูหล่าหลนนาอีม(พรุหมาก) ร้อยละ 70 สามารถเป็นแกนนำเด็กและเยาวชนนักเรียนตาดีกา  ต่อต้านยาเสพติดในชุมชนและครอบครัว

70.00
4 เพื่อให้เด็กและเยาวชนนักเรียนศูนย์ฯ(ตาดีกา)ฟูหล่าหลนนาอีม(พรุหมาก) ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและอาชญากรรม

เด็กและเยาวชนนักเรียนศูนย์ฯ(ตาดีกา)ฟูหล่าหลนนาอีม(พรุหมาก) ร้อยละ 70 ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและอาชญากรรม

70.00
5 เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้แก่กันในครอบครัว

เด็กและเยาวชนนักเรียนศูนย์ฯ(ตาดีกา)ฟูหล่าหลนนาอีม(พรุหมาก) ร้อยละ 70  ร้อยละ 70 เกิดความสัมพันธ์ที่ดีให้แก่กันในครอบครัว

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/04/2023

กำหนดเสร็จ 16/04/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมค่ายอบรมจริยธรรมเยาวชนปลอดสิ่งเสพติดด้วยอิสลาม ภาคฤดูร้อน ปี 2566

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมค่ายอบรมจริยธรรมเยาวชนปลอดสิ่งเสพติดด้วยอิสลาม ภาคฤดูร้อน ปี 2566
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าตอบแทนวิทยากรเชิงปฏิบัติการนอกตำบล จำนวน 4 คน x 3ชั่วโมง x 500 บ. =6,000 บ. -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คน x 2 มื้อ x 55 บ. = 7,700 บ. -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน  70 คน x 4 มื้อx 30 บ. = 8,400 บ. -ค่าวัสดุอุปกรณ์ค่าย จำนวน 70 ชุด x 70 บ. = 4,900 บ. -ค่าไวนิล ขนาด 1.2x2.4 = 864 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 เมษายน 2566 ถึง 16 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27864.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,864.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีความรู้ความเข้าใจและปลูกจิตสำนึกให้แก่เด็กและเยาวชนนักเรียนตาดีกา ตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติดที่มีผลต่อร่างกาย สุขภาพอนามัย และส่งผลกระทบต่อปัญหา ครอบครัว สังคม ตลอดจนความมั่นคงของชาติ
2. ป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน
3. มีแกนนำเด็กและเยาวชนนักเรียนศูนย์ฯ(ตาดีกา) ต่อต้านยาเสพติดในชุมชนและครอบครัว
4. เด็กและเยาวชนนักเรียนศูนย์ฯ(ตาดีกา) ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและอาชญากรรม
5. มีความสัมพันธ์ที่ดีให้แก่กันในครอบครัว


>