กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ

หมู่ที่ 2 ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นกลไกสำคัญต่อความสำเร็จของการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพราะคณะกรรมการเป็นบุคคลสำคัญในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนที่จะทำให้เกิดการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนและเรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาการดำเนินงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดีทั้งกายและจิตใจ
ในปี 2566 กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลจวบ ได้มีโครงการบริหารจัดการกองทุนตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ 2566 เป็นเงิน 165,650.-บาท ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบลตามประกาศฉบับ ปี พ.ศ.2557 มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม ส่งผลต่อความรู้และความเข้าใจของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที ด้วยแนวโน้มและทิศทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ ที่ สปสช.เขต 12 สงขลา กำหนดเพื่อการบริหารจัดการกองทุนฯ ที่มีประสิทธิภาพ เน้นในประเด็นให้ทุกกองทุนฯ จะต้องจัดทำแผนสุขภาพชุมชน เพื่อเป็นกรอบหรือทิศทางการจัดการระบบสุขภาพของชุมชน ผ่านกองทุนฯระยะ 3-5 ปี การกำหนดให้กองทุนฯ มีการจัดทำแผนงานสุขภาพและโครงการที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพระดับพื้นที่ กองทุนสุขภาพตำบลจวบเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนตำบลอำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ 2566 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพิจารณาอนุมัติแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน 2. เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่รายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ 3. เพื่อบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ 4. เพื่อกำกับดูแลให้หน่วยงาน หรือกลุ่มหรือองค์กรผู้ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณให้เป็นไปตามแผนงานโครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด
  1. กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารเงินสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุน ภายใน เดือนกันยายน 2566 จำนวนร้อยละ 80
  2. จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จมากกว่าร้อยละ 80
  3. จำนวนคณะกรรมการบริหารฯ ได้รับการพัฒนาศักยภาพร้อยละ100
  4. จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ (กลุ่ม/หน่วยงาน) เพิ่มขึ้น
1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่1 ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลจวบ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่1 ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลจวบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะกรรมการ
- ค่าตอบแทนคณะกรรมการจำนวน 25คนๆละ 400บาท 4ครั้ง เป็นเงิน 40,000.-บาท
- ค่าอาหารว่างจำนวน 25คนๆละ 25บาท 4ครั้ง เป็นเงิน 2,500.-บาท รวมเป็นเงิน 42,500.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
42500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่2 ประชุมคณะอนุกรรมการ LTC จำนวน 2 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่2 ประชุมคณะอนุกรรมการ LTC จำนวน 2 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนคณะกรรมการจำนวน 11คนๆละ300บาท 2ครั้ง เป็นเงิน 6,600.-บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 11คนๆละ 25บาท 1มื้อ 2ครั้ง เป็นเงิน 550.-บาท
    รวมเป็นเงิน 7,150.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7150.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่3 พัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่3 พัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าพาหนะเดินทาง ค่าที่พัก และค่าเบี้ยเลี้ยง เป็นเงิน 10,000.-บาท
  • ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 10,000.-บาท
  • ค่าตอบแทนจ้างเหมาเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลจำนวน 12เดือนละ 8,000บาท เป็นเงิน 96,000.-บาท
    รวมเป็นเงิน 116,000.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
116000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 165,650.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ได้รับการอนุมัติและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
2. มีจำนวนโครงการเพิ่มขึ้น
3. การบริหารจัดการกองทุนมีประสิทธิภาพ
4. หน่วยงาน กลุ่มหรือองค์กรที่ได้รับอนุมัติงบประมาณมีความรู้และจัดทำแผนงาน โครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ


>