กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลส่งเสริม สุขภาพแบบองค์รวม สูงวัยใส่ใจสุขภาพ ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจากปัจจัยการลดลงของอัตราเกิดและ อายุขัยเฉลี่ยของประชากรที่ยืนยาวขึ้นขณะเดียวกันผู้สูงอายุก็มีอายุยืนยาวขึ้นอัตราการเพิ่มของจำนวน ผู้สูงอายุในปัจจุบันสูงกว่าของประชากรโดยรวมขณะเดียวกันอัตราการเพิ่มของจำนวนผู้สูงอายุวัยปลายก็สูงกว่าอัตราการเพิ่มของกลุ่มผู้สูงอายุวัยต้นมีผลให้จำนวนและสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุของไทยเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุวัยปลายปัญหาการเพิ่มของจำนวนผู้สูงอายุคาดว่าจะทวีความรุนแรงขึ้นในอีกสิบปี ข้างหน้าแม้จะ มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติแต่สภาพจิตใจ ผู้สูงอายุจึง ควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดีป้องกันการเกิดโรคต่างๆรวมทั้งฟื้นฟู สุขภาพเมื่อมีภาวะของโรคและควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิมจะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคมและ มีความสุขในปั้นปลายของชีวิตประกอบกับรัฐบาลได้มีนโยบายในเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและ การมีงานหรือกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อสร้างสรรค์และไม่ก่อภาระต่อสังคมในอนาคต ผู้สูงอายุถือว่าเป็นปูชนียบุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่งเนื่องจากผ่านประสบการณ์มามากได้โดยเฉพาะการเจ็บป่วยเรื้อรัง เนื่องจากผู้วัยสูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม จึงจำเป็นต้องเตรียมการในการดูแลผู้สูงอายุ ในด้านการส่งเสริมบทบาททางสังคม และการดูแลสุขภาพ
ดังนั้นรพสต มะรือโบออก จึงได้จัดทำโครงการ การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมขึ้น เพื่อให้ผ้สูงอายุสามารถดูแลตนเองและพึ่งพาตนเองได้ในการดูแลรักษาสุขภาพอีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทางเลือกในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการ ดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้ง ด้าน โภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพ ร่างกายและจิตใจ

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการ ดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง

50.00 50.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการ ดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้ง ด้าน โภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพ ร่างกายและจิตใจ คติที่ดีต่อการดูแล สุขภาพให้แข็งแรง

ร้อยละ 80  กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับโรค

50.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้สุงอายุในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของหน่วยบริการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้สุงอายุในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของหน่วยบริการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

08.30 น. - 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้ารับการอบรม
09.00 น. - 10.00 น. ให้ความรู้เรื่อง อาหารและ โภชนาการในผู้สูงอายุ
10.00 น.-10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.30 น.-11.30 น. ให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายและการดูแลตนเอง
11.30 น.-12.00 น. ซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับความรู้และร่วมกันแสดงความคิดเห็น 12.00 น.-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น.-14.00 น. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยตัวแทน กลุ่มกลุ่มผู้สูงอายุ 14.00 น. -14.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง 14.30 น. - 15.30 น. ประเมินพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ 15.30 น.-16.30 น. ซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับความรู้และร่วมกันแสดงความคิดเห็น

1.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ที่เข้าอบรมจำนวน 50 คน x 60 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน 3,000 บาท 2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้ที่เข้าอบรม จำนวน 50 คน x 25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 2,500 บาท 3.ค่าสมุด จำนวน 50 เล่ม x 15 บาทเป็นเงิน 750 บาท 4.ค่าปากกา จำนวน 50 ด้าม x 5 บาท เป็นเงิน 250 บาท
5.ค่ากระเป๋าใส่เอกสาร 50 ใบ x 80 บาท เป็นเงิน4,000บาท 6. ค่าไวนิล 1 ชุด x 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท 7.ค่าวิทยากร 600 X 5ชั่วโมง เป็นเงิน 3000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการ ดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14000.00

กิจกรรมที่ 2 ประเมินผลพฤติกรรมสุขภาพจากแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลพฤติกรรมสุขภาพจากแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80  กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80  กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองและมีความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใน การดูแลสุขภาพอนามัย ทั้งด้าน โภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลตนเอง
2.กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


>