กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียนศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

ชมรมการศึกษาอิสลามประจำมัสยิดตำบลมะรือโบออก

1. นายอับดุลมาน๊ะหะยีหะมะ
2. นายไซมิงปูเต๊ะ
3. นายตอเละสะรีบู
4. นายมูฮำมาซากีปูเตะ
5. นางนูรียะหะยีดิง

องค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบออก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาหารมีความสำคัญในทุกเพศและทุกวัย โดยเฉพาะสำหรับเด็กวัยเรียน ซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต และเป็นช่วงที่สมองกำลังพัฒนา อาหารจึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับวัยนี้ ดังนั้น ควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ซึ่งในแต่ละหมู่ต้องมีความหลากหลายและปริมาณให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอและเหมาะสม ซึ่งเด็กวัยเรียนเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว การได้รับสารอาหารมากเกินไปหรือขาดสารอาหารจะมีผลกระทบต่อเด็กได้ ผลกระทบที่พบประกอบด้วย ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านสังคมและจิตใจ ด้านการเรียน และด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาทุพโภชนาการในเด็กนักเรียนนั้น พบว่ามี 3 ปัจจัย ได้แก่ ส่วนบุคคล พฤติกรรม และอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ทั้งปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนที่มีส่วนทำให้เด็กนักเรียนมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
ในการนี้ รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้มีการดำเนินการอุดหนุนงบประมาณอาหารกลางวันในศูนย์ฯตาดีกา นับว่าเป็นโครงการที่มีความสำคัญในการส่งเสริมให้นักเรียนตาดีกามีการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ เพื่อแก้ปัญหาและเสริมสร้างปลูกฝังสุขนิสัยที่ดีในการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย และให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพื่อให้นักเรียนสามารถพัฒนาสุขภาพของตนเองได้อย่างยั่งยืน และที่สำคัญครูศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ผู้บริหาร ประชาชนทั่วไปที่สนใจ และผู้ปกครองของเด็กนักเรียนศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมของนักเรียนด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้เกี่ยวกับโภชนาการ และภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียน

 

800.00 700.00
2 2. เพื่อเปรียบเทียบสารอาหารที่ได้รับในแต่ละวัน และภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียน

 

800.00 700.00
3 3. เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถของตนเอง และทักษะการเลือกบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียน

 

800.00 700.00
4 4. เพื่อประเมินความรู้ และทัศนคติ ครู ผู้บริหารและผู้ปกครองของเด็กวัยเรียน

 

800.00 700.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1 กิจกรรม บรรยายอบรมให้ความรู้พร้อมสื่อประกอบ เกี่ยวกับภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
1 กิจกรรม บรรยายอบรมให้ความรู้พร้อมสื่อประกอบ เกี่ยวกับภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวันและน้ำดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 100 คนๆ ละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ (จำนวน 2 วัน ๆละ 50 คน) เป็นเงิน 6,000.- บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 100 คนๆ ละ 25 บาทจำนวน 2 มื้อ ( จำนวน 2 วัน ๆละ 50 คน) เป็นเงิน 5,000.- บาท 3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 10 ชม.ๆละ 600 บาท (จำนวน 2 วันๆละ 3,000 บาท) เป็นเงิน 6,000.- บาท
4. ค่าเครื่องเสียง จำนวน 2 วัน ๆ ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 3,000.- บาท 5. ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1X2 ม. ตารางเมตรละ 250บาท เป็นเงิน 500.- บาท 6. ค่าสมุด จำนวน 100 เล่ม ๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 1,500.- บาท 7. ปากกา จำนวน 100 ด้ามๆละ 5 บาท เป็นเงิน 500.- บาท 8. ค่ากระเป๋าใส่เอกสาร จำนวน 100 ใบ ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 8,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กนักเรียนในวัยเรียนที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาภาวะทุพโภชนาการได้
2. พัฒนาการด้านสติปัญญาในเด็กเพิ่มมากขึ้น ในเมื่อเด็กได้รับสารอาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัยส่งผลให้มีการเรียนรู้ที่เร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้มากขึ้น
3. นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่ และมีพัฒนาการสมวัย


>