กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปันยิ้มสร้างสุขผู้สูงอายุตำบลมะรือโบออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

ศูนย์กองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุตำบลมะรือโบออก

1. นายตอเละ สะรีบู
2. นายรังสรรค์แบเลาะ
3. นางถนอม สังข์ศิริ
4. นายจีรศักดิ์ อุดมลักษณเวทย์
5. นายบือเลาะ มะตาเยะ

องค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบออก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

คุณภาพชีวิตเป็นเป้าหมายหลักของสังคม คือประชาชนมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจทุกเพศ ทุกวัยจากการศึกษาข้อมูลพบว่าประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งด้านปริมาณและสัดส่วน เนื่องจากจำนวนและสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุมีการเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีสาเหตุมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลงผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุจึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพึงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อยหรืออาจมีอาการสมองเสื่อม ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพึงเป็นภาระแก่ผู้ดูแลเกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุไม่มีความสุขในการดำรงชีวิตผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรคและควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และมีความสุขในบั้นปลายของชีวิต
ศูนย์กองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุตำบลมะรือโบออกได้เห็นความสำคัญของผู้สูงอายุจึงได้จัดทำ
“โครงการปันยิ้มสร้างสุขผู้สูงอายุตำบลมะรือโบออก”ขึ้น โดยใช้งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลมะรือโบออกในการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพของตนเองในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ อีกทั้งเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้สูงอายุในการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคให้กับตนเองรวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลมะรือโบออกได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ต่อกันและถ่ายทอดให้ลูกหลานรุ่นหลังได้รับฟัง และถือเอาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งทางด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ และสามารถดูแลตนเองได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุได้รับความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งทางด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ  และสามารถดูแลตนเองได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

650.00 500.00
2 2. เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า

ผู้สูงอายุมีขวัญและกำลังใจให้ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า

650.00 500.00
3 3. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีจิตใจเบิกบานมีกิจกรรมนันทนาการพบปะสังสรรค์พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ผู้สูงอายุมีจิตใจเบิกบานมีกิจกรรมนันทนาการพบปะสังสรรค์พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

650.00 500.00
4 4. เพื่อเกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันและกันของหน่วยงานภาครัฐกับชุมชน

เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันและกันของหน่วยงานภาครัฐกับชุมชน

650.00 500.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 570
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหาร  จำนวน 570 คนๆละ 60 บาท (จำนวน 3 วัน ๆ ละ 190 คน) เป็นเงิน 34,200  บาท 2.  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 570 คน มื้อละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ(จำนวน 3 วันๆละ 190 คน)  เป็นเงิน  28,500 บาท 3.  ค่ากระเป๋าผ้า จำนวน 570 ใบๆละ 50 บาท  เป็นเงิน  28,500 บาท 4.  ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 15 ชั่วโมงๆละ 600 บาท (จำนวน 3 วันๆละ 5 ชั่วโมง) เป็นเงิน  9,000  บาท 5.  ค่าเช่าเต็นท์ จำนวน 3 หลังๆละ 500 บาท จำนวน 3 วัน  เป็นเงิน 4,500 บาท 6.  ค่าเช่าโต๊ะ  จำนวน 7 ตัวๆละ 40 บาท  จำนวน 3 วัน  เป็นเงิน  840  บาท 7.  ค่าเช่าเก้าอี้ จำนวน 100 ตัวๆละ 7 บาท  จำนวน 3 วัน  เป็นเงิน 2,100  บาท
8.  ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.5 X 3 จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน  1,125  บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  108,765  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
108765.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 108,765.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุได้รับความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งทางด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจและสามารถดูแลตนเองได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
2. ผู้สูงอายุมีขวัญและกำลังใจให้ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า
3. ผู้สูงอายุมีจิตใจเบิกบานมีกิจกรรมนันทนาการพบปะสังสรรค์พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
4. เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันและกันของหน่วยงานภาครัฐกับชุมชน


>