กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันภัยสุขภาพของวัยเจริญพันธุ์ตามวิถีซีฮัต ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านปิเหล็ง

1. นางสมทรงเย็นใจ
2. น.ส.ซูไมดะห์ ปะจูเล็ง
3. นางมารียะห์ลาเต๊ะ
4. นางนูรียะห์อิแม
5. นางนิศารัตน์ รักนุ้ย

ประชาชนเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็ง ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

วัยเริ่มเจริญพันธุ์ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพซึ่งกายของเด็กเจริญเต็มที่สู่กายผู้ใหญ่ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางอวัยวะสืบพันธุ์เพื่อให้พร้อมแก่การปฏิสนธิได้ วัยเริ่มเจริญพันธุ์เริ่มจากสัญญาณฮอร์โมนจากสมองไปยังต่อมบ่งเพศ คือ รังไข่ในเด็กหญิง ต่อมบ่งเพศสนองต่อสัญญาณดังกล่าวโดยผลิตฮอร์โมนซึ่งกระตุ้นความต้องการทางเพศ (libido) และการเติบโต การทำหน้าที่และการแปรรูปของสมอง กระดูก กล้ามเนื้อ เลือด ผิวหนัง ขน หน้าอกและอวัยวะเพศ การเติบโตทางกาย ความสูงและน้ำหนัก เร่งเร็วขึ้นในครึ่งแรกของวัยเริ่มเจริญพันธุ์และเสร็จเมื่อเด็กนั้นพัฒนากายผู้ใหญ่ ความแตกต่างระหว่างเด็กชายและเด็กหญิงก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์อย่างเดียว คือ อวัยวะเพศภายนอก จนกว่ามีการเจริญเต็มที่ของสมรรถภาพสืบพันธุ์
วัยรุ่นเป็นวัยที่กำลังเผชิญกับปัญหาการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม และการทำแท้ง จากการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ ของวัยรุ่น อายุ 15-24 ปี อำเภอเจาะไอร้อง ปี 2558 พบว่า วัยรุ่น มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก อายุเฉลี่ย 14 ปี ร้อยละ 45 ของวัยรุ่นที่สำรวจเคยมีเพศสัมพันธ์ และร้อยละ 80 มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน และอัตราการท้อง ในเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ก็อยู่ในอัตราร้อยละ 20 ถือว่ายังสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด( รายงานประจำปีสสอ.เจาะไอร้อง,2558) จากการประชุมกลุ่มภาคีเครือข่ายอันประกอบด้วย ครู ครูกศน. ครูสอนศาสนา เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อบต. และผู้นำชุมชน พบว่า ปัญหาวัยรุ่นยังคงเป็นปัญหาอันดับแรกๆที่เกิดขึ้น จึงได้ช่วยกันคิดถึงวิธีการแก้ไขขึ้น และการให้ความรู้เรื่องการป้องกันตนเองในการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่ง ก็เป็นปัญหาหนึ่งที่ภาคีเครือข่ายยังคงเห็นถึงความสำคัญ วัยรุ่นที่อยู่ในระบบโรงเรียน บางโรงเรียน ได้บรรจุการสอนเพศศึกษารอบด้านในชม.เรียน จึงช่วยลดปัญหานี้ได้ระดับหนึ่ง ส่วนเด็กนักเรียนนอกระบบการศึกษานั้น จะมีแนวทางการเรียนรู้เรื่องนี้ได้อย่างไรบ้าง จึงเป็นคำถามของผู้รับผิดงาน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นผู้รับผิดชอบงานจึงได้เสนอ หลักสูตรที่ประยุกต์จากหลักสูตร ของ PATH2HEALTH โดยมีภาคีเครือข่ายนำเสนอเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับหลักศาสนา และบริบทของพื้นที่ และใช้วิธีการสอนแบบสร้างประสบการณ์ เพื่อให้สอดคล้องกับทฤษฎี ปิรามิดแห่งการเรียนรู้ ว่าการเรียนแบบมีส่วนร่วมนั้นให้ผลได้ดีกว่าการสอนแบบทางเดียว ดังนั้นทางผู้วิจัยเลยเกิดคำถามการวิจัยครั้งนี้ว่า การใช้โปรแกรมสุขศึกษาที่พัฒนาให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ในครั้งนี้ สามารถสร้างการเรียนรู้ให้กับนักศึกษานอกระบบได้จริงหรือไม่ เพื่อที่จะได้ยืนยันผลต่อทีมภาคีเครือข่ายต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเกี่ยวกับปัญหาภัยสุขภาพในวัยรุ่น

1.ร้อยละ 90 ของวัยรุ่นไม่มีปัญหาการท้องไม่พร้อมในวัยรุ่น

90.00 90.00
2 2.เพื่อให้เกิดศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นในพื้นที่

2.ร้อยละ 90 ของวัยรุ่นได้รับการช่วยเหลือจากปัญหาสุขภาพ

90.00 90.00

1.เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเกี่ยวกับปัญหาภัยสุขภาพในวัยรุ่น
2.เพื่อให้เกิดศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นในพื้นที่

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.อบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้แบบสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับภัยสุขภาพของเยาวชนวัยเจริญพันธ์

ชื่อกิจกรรม
1.อบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้แบบสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับภัยสุขภาพของเยาวชนวัยเจริญพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้แบบสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับภัยสุขภาพของเยาวชนวัยเจริญพันธ์ จำนวน40 คน วันแรก 08.30 น- 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้ารับการอบรม 09.00 น- 09.30 น. ใครเป็นใคร 09.30 น- 10.30 น. ให้ความรู้ผ่านการเรียนรู้แบบสร้างประสบการณ์ เกี่ยวกับเรื่อง “ธรรมชาติของวัยรุ่น” 10.30 น- 12.00 น. สะท้อนจากคลิป “ปัญหาการท้องในวัยรุ่น” 12.00 น- 13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น- 14.00 น.ให้ความรู้ผ่านการเรียนรู้แบบสร้างประสบการณ์ เกี่ยวกับผลเสียที่จากการซีนา(การมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน) 14.00 น- 16.00 น. ทักษะการปฏิเสธ วันที่สอง 08.30 น- 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้ารับการอบรม 09.00 น- 10.30 น. แลกน้ำ 10.30 น- 12.00 น. วิเคราะห์ความเสี่ยง QQR 12.00 น- 13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวันและประกอบศาสนกิจ 13.00 น- 14.00 น. ยาเสพติดกับวัยรุ่น 14.00 น- 15.00 น. ภาวะความเป็นผู้นำ 15.00 น- 16.00 น. ทักษะการให้คำปรึกษา หมายเหตุ
เวลา 10.00 น- 10.15 และ 14.30 น.-14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม 1.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน x 25 บาท X 2 มื้อX 2 วัน
เป็นเงิน 4,000 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คน x 60 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 4,800 บาท 3.ค่าวิทยากร จำนวน 5 ชม.ๆ ละ x 600 บาท X 2 วัน เป็นเงิน 6,000 บาท 4.ค่าไวนิลโครงการ 1 ชุด เป็นเงิน 500 บาท รวมทั้งสิ้น 15,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละ 90 ของวัยรุ่นไม่มีปัญหาการท้องไม่พร้อมในวัยรุ่น 2.ร้อยละ 90 ของวัยรุ่นได้รับการช่วยเหลือจากปัญหาสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เยาวชนในพื้นที่มีสุขภาวะที่ดี


>