กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยง ปี2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

เลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลมะนังยง

องค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เห็นชอบให้ดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545
ตามมาตรา 18(9) และมาตรา 47 ได้สนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน และภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการแสวงหาผลกำไร ดำเนินและบริหารจัดการเงินทุน
ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ ให้คณะกรรมการสนับสนุนและประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุน

องค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยง ได้ดำเนินการจัดตั้งกองทุนสุขภาพตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยง ในปี พ.ศ. 2554 เพื่อให้การรบริหารจัดการและการดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการกองทุนฯ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง บุคลากร มีความรู้ความเข้าใจในกฎเกณฑ์ ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับภารกิจที่ระบุในข้อตกการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตลอดจนทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงหลักประกันสุขภาพครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายและทุกพื้นที่ สำนักงานเลขานุการ กองทุนสุขภาพตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยง จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยงขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และแกนนำสุขภาพ

คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และแกนนำสุขภาพ เข้าร่วมการพัฒนาศักยภาพ ร้อยละ 60

31.00 31.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และแกนนำสุขภาพ

โครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนร้อยละ 80

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 31

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคคณะกรรมการกองทุนสปสช. ครังที่ 1(วางแผนการดำเนินงาน นโยบายกองทุน แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ LTC))

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคคณะกรรมการกองทุนสปสช. ครังที่ 1(วางแผนการดำเนินงาน นโยบายกองทุน แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ LTC))
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ คณะกรรมการ  และผู้สนใจเสนอโครงการ -ค่าตอบแทนคณะกรรมการ 400 บาทx19 คน เป็นเงิน 7,600 บาท -ค่าอาหารว่าง คณะกรรมการ 35 บาท x19 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 665 บาท -ค่าอาหารว่างผู้สนใจเสนอโครงการ 35 บาท x 12 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 420 บาท (ตัวแทนศพด. 4 คน,ตัวแทนตาดีกา 4 คน,ตัวแทนเยาวชน 2 คน,ตัวแทนอบต. 2 คน) รวมเป็นเงิน 8685 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 พฤษภาคม 2566 ถึง 9 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 60 ได้ทิศทางของโครงการ คณะกรรมมีความเข้าใจเรื่องการเขียนโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8685.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะกรรมการกองทุนครั้งที่ 2(พิจารณาอนุมัติโครงการ)

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการกองทุนครั้งที่ 2(พิจารณาอนุมัติโครงการ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมพิจารณาโครงการ โดยคณะกรรมการกองทุนสปสช. 1.ภาคเช้าผู้สนใจเสนอโครงการนำเสนอโครงการ 2.ภาคบ่ายคณะกรรมพิจารณาอนุมัติ หรือไม่อนุม้ติโครงการ -ค่าตอบแทนคณะกรรมการ 400 บาทx19 คน เป็นเงิน 7,600 บาท -ค่าอาหารว่าง คณะกรรมการ 25 บาท x19 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 950 บาท -ค่าอาหารว่างผู้สนใจเสนอโครงการ 25 บาท x 12 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 600 บาท -ค่าอาหารกลางวัน ่คณะกรรมการ 50 บาท x 19 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 950 บาท -ค่าอาหารกลางวัน ผู้สนใจเสนอโครงการ 50 บาท x 12 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 600 บาท (ตัวแทนศพด. 4 คน,ตัวแทนตาดีกา 4 คน,ตัวแทนเยาวชน 2 คน,ตัวแทนอบต. 2 คน) รวมเป็นเงิน 10,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โครงการได้รับการอนุมัติร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10700.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมคณะอนุกรรมการ LTC ครั้งที่ 1 (แผนการดำเนินงาน LTC )

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะอนุกรรมการ LTC ครั้งที่ 1 (แผนการดำเนินงาน LTC )
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะกรรมการ -กำหนดนโยบาย -วางแผนการดำเนินงาน -พิจารณาการดำเนินงาน เชิงรับ/รุก

ค่าใช้จ่ายการดำเนินการ -ค่าตอบแทน 300 บาท x 10 คน เป็นเงิน 3000 บาท -ค่าอาหารว่าง 35 บาท x 10 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มิถุนายน 2566 ถึง 6 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โครงการที่ได้รับอนุม้ติได้ดำเนินการตามแผนร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3350.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมคณะกรรมการกองทุนครั้งที่ 3 (ติดตามโครงการ)

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการกองทุนครั้งที่ 3 (ติดตามโครงการ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.นำเสนอผลการดำเนินงาน หรือสรุปผลการดำเนินงาน โดยผู้เสนอโครงการ (ภาคเช้า) 2.สรุปยอดเงินสปสช.ที่ได้ดำเนินการปี 2566 3.พิจารณาโครงการต่อเนื่องโดยคณะกรรมการกองทุนสปสช.(โครงการหมวด 4) (ภาคบ่าย) 4.ประมาณการแผนเงินปี 2567 เพื่ออนุมัติแผนเงินปี 2567

ค่าใช้จ่ายโครงการ -ค่าตอบแทนคณะกรรมการ 400 บาทx19 คน เป็นเงิน 7,600 บาท -ค่าอาหารว่าง คณะกรรมการ 25 บาท x19 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 950 บาท -ค่าอาหารว่างผู้สนใจเสนอโครงการ 25 บาท x 12 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 600 บาท -ค่าอาหารกลางวัน ่คณะกรรมการ 50 บาท x 19 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 950 บาท -ค่าอาหารกลางวัน ผู้สนใจเสนอโครงการ 50 บาท x 12 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 600 บาท (ตัวแทนศพด. 4 คน,ตัวแทนตาดีกา 4 คน,ตัวแทนเยาวชน 2 คน,ตัวแทนอบต. 2 คน) รวมเป็นเงิน 10700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โครงการได้รับการติดตาม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10700.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมคณะอนุกรรมการ LTC ครั้งที่ 2 (ติดตามการดำเนินงาน )

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะอนุกรรมการ LTC ครั้งที่ 2 (ติดตามการดำเนินงาน )
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะกรรมการ -ติดตามการดำเนินงาน -วางแผนการดำเนินงาน ปี 2567

ค่าใช้จ่ายการดำเนินการ -ค่าตอบแทน 300 บาท x 10 คน เป็นเงิน 3000 บาท -ค่าอาหารว่าง 35 บาท x 10 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กันยายน 2566 ถึง 5 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ผลการดำเนินงานและแผนการทำงานปี 2567

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,785.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.คณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และแกนนำสุขภาพ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุน
2.การเสนอแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน


>