กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมทักษะการจำกัดพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวช ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

นางพนิดา วรรณวงศ์ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ โทรศัพท์สำนักงาน073-517532มือถือ066-0940294
นางดาวดือราโอ๊ะ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ โทรศัพท์สำนักงาน073-517532มือถือ089-9760969
นางมัสนีและตำแหน่งนักจิตวิทยาโทรศัพท์สำนักงาน073-517532มือถือ086-9621377

- ห้องประชุมราชพฤกษ์ ชั้น 4 ตึกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การเจ็บป่วยทางจิตเวชทำให้บุคคลมีความผิดปกติทางด้านความคิด การรับรู้ มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย บางครั้งมีอารมณ์รุนแรงแสดงออกพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เพราะไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เช่น การใช้คำพูดหยาบคาย การพูดข่มขู่บังคับ รวมทั้งการทำร้ายตนเองและผู้อื่น ตลอดจนทำลายทรัพย์สินต่างๆ การแสดงออกทางพฤติกรรมแบบนี้มีผลกระทบต่อครอบครัวและชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินทางจิตเวชที่ต้องให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน และจากการให้การพยาบาลที่ผ่านมาพบว่าบุคลากรสาธารณสุขก็ถูกทำร้ายเช่นกันซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพบผู้ป่วยก้าวร้าวรุนแรง ในปี 2563 จำนวน 38 คน (ต.สุไหงโก-ลก 8 คน )ในปี 2564 จำนวน 65 คน (ต.สุไหงโก-ลก 16 คน )ในปี 2565 จำนวน 72 คน(ต.สุไหงโก-ลก 25 คน )
จากที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวชไม่เพียงทำให้เกิดอันตรายต่อตนเอง แต่ยังทำให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่น ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน ผู้ป่วยเหล่านี้จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือ และป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงขึ้น ในการปฏิบัติสามารถทำได้หลายวิธี คือ การล็อคตัว การผูกยึด การให้ยา รวมทั้งการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม
ดังนั้น เพื่อให้การจำกัดพฤติกรรมของผู้ป่วยเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ทางกลุ่มงานจิตเวช จึงจัดให้มีการเสริมทักษะโดยการสาธิตและฝึกปฏิบัติการจำกัดพฤติกรรมขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในการจำกัดพฤติกรรมผู้ที่มีอาการทางจิตเวชได้

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในการจำกัดพฤติกรรมผู้ที่มีอาการทางจิตเวช

70.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะในการจำกัดพฤติกรรมผู้ที่มีอาการทางจิตเวชได้ และสามารถปฏบิติได้อย่างถูกต้อง

ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะในการจำกัดพฤติกรรมผู้ที่มีอาการทางจิตเวชได้ และปฏบิติได้อย่างถูกต้อง

70.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
เจ้าหน้าที่ตำรวจ 10
เจ้าหน้าที่มูลนิธิ 10
แกนนำชุมชน 80

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/01/2023

กำหนดเสร็จ 31/03/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เสริมทักษะการจำกัดพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวช

ชื่อกิจกรรม
เสริมทักษะการจำกัดพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวช
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย เจ้าหน้าที่มูลนิธิ 10 คน เจ้าหน้าที่ตำรวจ 10 คน และแกนนำชุมชน 80 คน รวม 100 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ขั้นเตรียมการ
- ประชุมทีมงานที่เกี่ยวข้อง
- จัดทำโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
2. ขั้นดำเนินการ
- อบรมให้ความรู้ในเรื่องการจำกัดพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์
- สาธิตการจำกัดพฤติกรรมรุนแรง
- ฝึกปฏิบัติการจำกัดพฤติกรรมของผู้ป่วย
งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท/มื้อ X 100 คน X 1 มื้อเป็นเงิน 6,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 100 คน X 30 บาท/มื้อ X 2 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท/ชม. X 3 ชม.เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม 300 บาท/ชม. x 4 ชม. x 3 กลุ่ม เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าที่พักวิทยากร 1,200 บาท/คืน x 2 ห้อง x 2 คืน เป็นเงิน 4,800 บาท
- ค่าพาหนะ 263 กม. x 2 เที่ยว x 4 บาท/กม. x 3 คน เป็นเงิน 6,312 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 3,000 บาท
กำหนดการ
08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียน
08.31 - 09.00 น. พิธีเปิด โดย นายแพทย์บรรยงเหล่าเจริญสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
09.01 - 10.00 น. บรรยาย “โรคที่พบบ่อยและนำไปสู่พฤติกรรมรุนแรง” อาจารย์พิเชษฐ์ สุวรรณจินดา
10.01 - 11.00 น. บรรยาย “หลักการเจรจาต่อรอง” อาจารย์พิเชษฐ์ สุวรรณจินดา
11.01 - 12.00 น. บรรยาย “หลักการจำกัดพฤติกรรมรุนแรงในผู้ป่วย” อาจารย์พิเชษฐ์ สุวรรณจินดา
12.01 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.01 - 17.00 น. แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ และสาธิตการจำกัดพฤติกรรมรุนแรงในผู้ป่วย
กลุ่ม ๑ อาจารย์พิเชษฐ สุวรรณจินดา
กลุ่ม ๒ อาจารย์ประเสริฐไพบูลย์รุ่งโรจน์
กลุ่ม ๓ อาจารย์ชัยวัฒน์ พุทธสโร
17.01 - 17.15 น. สรุปผลกิจกรรมตอบข้อคำถาม
หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.30-10.45 น. และ เวลา 14.30-14.45 น.

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มกราคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ สามารถจำกัดพฤติกรรมรุนแรงในผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องร้อยละ 80
  • อัตราความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมอบรมร้อยละ 80
  • จัดตั้งทีมจำกัดพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยอย่างน้อย 2 ทีม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31512.00

กิจกรรมที่ 2 ซ้อมแผนรับผู้ป่วยวิกฤตสุขภาพจิต

ชื่อกิจกรรม
ซ้อมแผนรับผู้ป่วยวิกฤตสุขภาพจิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย เจ้าหน้าที่มูลนิธิ 10 คน เจ้าหน้าที่ตำรวจ 10 คน และแกนนำชุมชน 30 คน รวม 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- ซ้อมแผนรับผู้ป่วยวิกฤตสุขภาพจิต
กำหนดการ
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.01 - 12.00 น. ซ้อมแผนรับผู้ป่วยวิกฤตสุขภาพจิต
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน X 30 บาท/มื้อ X 1 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มกราคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการซ้อมแผนรับผู้ป่วยวิกฤตสุขภาพจิต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,012.00 บาท

หมายเหตุ :
ขอถัวทุกรายการและจำนวนคนภายในวงเงินที่ได้รับ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในการจำกัดพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยได้
2. ผู้เข้ารับการอบรมมีมีทักษะในการจำกัดพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยได้


>