กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมใน ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ปี 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมใน ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

กลุ่มปฐมภูมิ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

นางเพ็ญนภา มะหะหมัด พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

นางณฐิยา ธนากิจจานนท์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

นางกัณนิกา น้อยน้ำเที่ยง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ตำบลสุไหงโก-ลกอ.สุไหงโก-ลกจ.นราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

 

70.00

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็วของประเทศไทย คนไทยมีอายุ คาดเฉลี่ยยืนยาวขึ้น โดยในปี 2565 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ มีประชากรสูงอายุถึงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด เนื่องจากอัตราเกิดต่ำกว่าระดับทดแทน สัดส่วนวัยแรงงานลดลง และยังมีปัญหาสุขภาพ จากอุบัติเหตุ ภัยพิบัติภัยสุขภาพ การเจ็บป่วยและการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีทิศทางเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักเป็นผลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 4 โรคสำคัญ ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคหัวใจและหลอดเลือด ระบบข้อมูลข่าวสารและการวิจัยด้านสุขภาพ ยังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลและได้อย่างเพียงพอ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) ของประชาชนยังไม่เพียงพอในการป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ด้านสุขภาพ รัฐบาลมุ่งเน้นให้ประชาชนในสังคมไทยได้รับโอกาสการเข้าถึงบริการสุขภาพของรัฐที่มีคุณภาพอย่าง เท่าเทียมลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และประชาชนกลุ่มวัยต่างๆ ต้องได้รับการดูแลอย่างเป็นรูปธรรมและเสมอภาค โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ประเทศไทยได้กําหนดนโยบายในข้อที่ 9.3 พัฒนาและยกระดับความรู้อาสาสมัครสาธารณสุข ประจําหมู่บ้าน (อสม.) ให้เป็นหมอประจําบ้านควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ เร่งพัฒนาระบบ บริการสุขภาพที่มีคุณภาพให้ทั่วถึงและครอบคลุมประชากรทุกภาคส่วน ลดความเหลื่อมล้ำของคุณภาพการบริการในแต่ละระบบ ควบคู่ไปกับการเพิ่มบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน และการยกระดับคุณภาพการบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อให้ประชาชนในทุกครัวเรือนทุกพื้นที่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนสามารถเข้าถึงหน่วยบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว กระทรวงสาธารณสุขได้กําหนดแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ.2560 - 2579) ตามนโยบายที่จะนําประเทศก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 เพื่อรองรับอนาคตที่มีความเป็นสังคมเมือง สังคมผู้สูงอายุ งานสุขภาพภาคประชาชนมีบทบาทเข้าร่วมในการขับเคลื่อนในกลไก Inclusive Growth Engine (ลดรายจ่าย) ภายใต้กรอบประเด็น “อสม.4.0” มุ่งเน้นให้ อสม. และภาคีเครือข่ายสุขภาพ ส่งเสริม ป้องกัน รักษาเบื้องต้น ฟื้นฟูสุขภาพ ตลอดจนการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ให้บริการทางด้านสุขภาพที่มีคุณภาพและปลอดภัย
อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) เป็นกลไกสําคัญที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด ครอบคลุมทุกชุมชน สำหรับ อสม.ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก มีจำนวนทั้งหมด 201 คน ซึ่งหลังจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด –19 ทางกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายและข่าวสารด้านสุขภาพใหม่ๆ ที่ อสม.ต้องมีความรู้ความเข้าใจเพื่อสามารถดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนได้อย่างปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ดังนั้น กลุ่มปฐมภูมิโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก มีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) ให้สามารถดูแลและมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของประชาชนในชุมชน ด้วยการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพ ให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานและเชื่อมประสาน ระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในชุมชน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพในชุมชน จึงได้จัดทำ โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมใน ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ปี 2566 นี้ขึ้นเพื่อพัฒนาความรู้ด้านสุขภาพแบบองค์รวมต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม

อสม.มีความรู้และมีทักษะในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม ร้อยละ 80

80.00 1.00
2 เพื่อให้ อสม.มีทักษะด้านการคัดกรองภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ

อสม.มีทักษะด้านการคัดกรองภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ ร้อยละ 80

80.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 92
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแก่ ผู้ดูแลผู้สูงอายุและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน * 30 บาท* 1 ครั้งเป็นเงิน600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมพัฒนาศักยภาพ ผู้ดูแลผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม

ชื่อกิจกรรม
อบรมพัฒนาศักยภาพ ผู้ดูแลผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ผู้ดูแลผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม (ชุมชนละ 3 คน x 29 ชุมชน รวม 87 คนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 5 คน รวมทั้งหมด 92 คน)
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแก่ ผู้ดูแลผู้สูงอายุและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 92 คน x 30 บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน 5,520 บาท
- ค่าอาหารกลางวันแก่ผู้ดูแลผู้สูงอายุและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 92 คน x 60 บาท x 1 ครั้งเป็นเงิน 5,520 บาท
- ค่าวิทยากรกลุ่ม จำนวน 3 กลุ่ม x 3 ชั่วโมง x 300 บาทเป็นเงิน 2,700 บาท
- ค่าวิทยากรบรรยาย 3 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 600 บาท รวมเป็น 1,800 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์อุปกรณ์ 5,000 บาท
รวมเป็นเงิน 15,540 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20540.00

กิจกรรมที่ 3 จัดเวทีแลกเปลี่ยนรู้

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีแลกเปลี่ยนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมายอสม.และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 92 คน งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแก่ อสม.และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 92 คน x 30 บาท x 1 ครั้งเป็นเงิน2,760 บาท
รวมเป็นเงิน2,760 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2760.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,900.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้และมีทักษะในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม สามารถดูแลผู้สูงอายุให้ปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้


>