กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพภายในช่องปากและฟันเด็กอายุ3-10ปี ชุมชนหัวสะพาน ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ชุมชนหัวะพาน

1. นางสาว โนรีซามะแซ โทร. 062-0640234
2. นางสาว นูซีลา ยูโซะ
3. นาง แวสปีนะ หะยีฮามะ
4. นาย ตารมีซี มิงการี
5. นาย อับดุลเลาะ สะแลแม

ชุมชนหัวสะพาน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการสำรวจสถานการณ์ฟันผุในเด็กไทยพบว่าเด็กเริ่มมีฟันผุตั้งแต่อายุ 9 เดือน และพบว่าเด็กอายุ 3 ปีมีฟันผุเฉลี่ย 3 ซี่ต่อคน สาเหตุหลักของฟันผุในเด็กเล็กมาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม เช่น การให้เด็กทานขนมหรือนมที่มีรสหวานเป็นประจำ การปล่อยให้เด็กหลับคาขวดนมหลังจากฟันขึ้นแล้ว หรือผู้ปกครองละเลยเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก โดยไม่ได้เริ่มแปรงฟันตั้งแต่น้ำนมซี่แรกขึ้น ผลกระทบของโรคฟันผุในเด็กสามารถส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพช่องปากในอนาคตได้ การมีฟันน้ำนมผุ เด็กจะปวดฟัน เคี้ยวอาหารไม่ได้ ร่างกายจะได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ส่งผลต่อการเจริญเติบโต อีกทั้งอาการปวดฟันยังส่งผลต่อการนอนหลับและการเรียนรู้ สิ่งเหล่านี้ล้วนกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเด็กตัวเล็กๆ สามารถขัดขวางพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์และสติปัญญาได้

นอกจากนี้เด็กที่มีฟันน้ำนมผุก็มักจะพบว่าฟันแท้ผุไปด้วย เนื่องจากเด็กที่มีฟันผุจะมีเชื้อก่อโรคฟันผุในช่องปากมากกว่าปกติซึ่งจะส่งผลให้ฟันแท้ที่กำลังจะขึ้นใหม่นั้นเกิดฟันผุได้เช่นเดียวกัน ผู้ปกครองจึงควรให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพช่องปากและการปลูกฝังเด็กในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อให้เด็กมีคุณภาชีวิตที่ดี เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีฟันที่แข็งแรงและไม่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก
ซึ่งจากการสำรวจพบเด็กที่มีอายุ 3-10 ปีในชุมชนหัวสะพานมีเด็กจำนวนไม่น้อยกว่า 50% ที่มีปัญหาฟันผุและขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับดูแลสุขภาพในช่องปากและฟัน ชุมชนหัวสะพานจึงจัดโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันที่ถูกต้อง

ร้อยละของเด็กที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันที่ถูกต้อง

50.00 70.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้เกี่ยวกับรับประทานอาหารที่เหมาะสม

ร้อยละของเด็กที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับรับประทานอาหารที่เหมาะสม

50.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 20
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/01/2023

กำหนดเสร็จ 28/02/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการสุขภาพภายในช่องปากและฟันเด็กอายุ3-10ปีชุมชนหัวสะพาน

ชื่อกิจกรรม
โครงการสุขภาพภายในช่องปากและฟันเด็กอายุ3-10ปีชุมชนหัวสะพาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย เด็กในชุมชนหัวสะพานที่เรียนในประเทศมาเลเซีย
อายุ 3-6 ปี จำนวน 20 คน
อายุ 7-10 ปี จำนวน 15 คน
ผู้ปกครอง จำนวน 15 คน
รวมทั้งหมดจำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน
2. เคลือบฟลูโอไรด์ในเด็กที่เข้าร่วมโครงการ
3. ประกวด หนูน้อยหัวสะพานฟันสวย สุขภาพฟันของเด็กที่มีสุขภาพช่องปากที่ดี
กำหนดการ
08.15 - 08.30 น. ลงทะเบียน
08.31 - 11.30 น. อบรมให้ความรู้เรื่องการแปรงฟันที่ถูกวิธีและให้ความรู้เรื่องโรคเกี่ยวกับฟันและปัญหาช่องปากเกี่ยวกับเด็ก วิทยากรโดยเจ้าหน้าที่จากศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2
11.31 - 12.00 น. เคลือบฟรูออไรต์ให้กับเด็กที่เข้าร่วมโครงการ
12.01 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.01 - 16.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่องคุณและโทษเกี่ยวกับอาหารที่ทำให้เกิดฟันผุและปัญหาในช่องปาก วิทยากรโดยเจ้าหน้าที่จากศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2
16.01 - 16.30 น. จัดการประกวดหนูน้อยฟันสวยและจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ให้เด็กและผู้ปกครอง
งบประมาณ
1. ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท × 6 ชม. = 3,600 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท × 50 คน = 3,000 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท × 50 คน x 2 มื้อ = 3,000 บาท
4. ค่าวัสดุในการอบรม ได้แก่
4.1 ค่ายาสีฟันหลอดละ 30 บาท × 35 หลอด = 1,050 บาท
4.2 ค่าแปรงสีฟันด้ามละ 30 บาท × 35 อัน = 1,050 บาท
4.3 ค่าแก้วน้ำพลาสติกใบละ 25 บาท × 35 ใบ = 875 บาท
4.4 ค่าผ้าขนหนูผืนละ 35 บาท × 35 ผืน = 1,225 บาท
5. ค่าป้ายโครงการ 1 ผืน = 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 มกราคม 2566 ถึง 28 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน และได้เคลือบฟลูโอไรด์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ย

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันที่ถูกต้อง
2. เด็กมีความรู้เกี่ยวกับรับประทานอาหารที่เหมาะสม


>