กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองบ้านพรุ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการนักเรียนสุขภาพดี ด้วยดนตรีบำบัด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองบ้านพรุ

โรงเรียนวัดเทพชุมนุม

โรงเรียนวัดเทพชุมนุม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็ก (0-6ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า

 

20.00

ดนตรี คือลักษณะของเสียงที่ได้รับการจัดเรียบเรียงไว้อย่างมีแบบแผนและโครงสร้างที่ชัดเจน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ๓ ด้านใหญ่ๆ คือเพื่อความสุนทรีย์ เพื่อการศึกษา และเพื่อการบำบัดรักษา จากการศึกษาค้นคว้าถึงประวัติที่มาของดนตรีในยุคโบราณ พบว่า ดนตรีมีที่มาจากความหวาดกลัวของมนุษย์ต่อปรากฏการณ์หรือภัยธรรมชาติ และเชื่อว่าเสียงดนตรีซึ่งทำให้มนุษย์รู้สึกผ่อนคลาย เพลิดเพลิน จะทำให้พระเจ้ามีความเมตตากรุณา ช่วยให้ผ่านพ้นภัยพิบัติ และบันดาลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของพืชผลธัญญาหาร

ในยุคต่อมา เมื่อเกิดความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ จากการศึกษาวิจัยพบว่าดนตรีมีผลต่อร่างกาย จิตใจ และสมองในหลายๆด้าน ผลของดนตรีที่มีต่อร่างกายสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอัตราการหายใจ อัตราการเต้นของชีพจร ความดันโลหิต การตอบสนองของม่านตา ความตึงตัวของกล้ามเนื้อและการไหลเวียนของเลือด ผลของดนตรีต่อจิตใจและสมอง สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ สติสัมปชัญญะ จินตนาการ การรับรู้สภาพความเป็นจริง และการสื่อสารทางอวัจนะภาษา นอกจากนี้รายงานวิจัยทางการแพทย์หลายชิ้นพบว่า ดนตรีช่วยให้หัวใจแข็งแรง ทำงานได้ดีขึ้น มีการใช้ดนตรีช่วยกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์มารดา รวมถึงการใช้ดนตรีลดหรือบรรเทาความเจ็บปวดหลังการผ่าตัด ในด้านความคิด ดนตรีช่วยเสริมสร้างจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ในด้านอารมณ์ การฟังดนตรีมีแนวโน้มทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกคล้อยตาม ดนตรีจึงมีผลต่อโดยตรงต่อปฏิกิริยาทางอารมณ์ แนวดนตรีและจังหวะดนตรีที่แตกต่างกันส่งผลให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกแตกต่างกัน ดนตรีที่มีจังหวะเร็ว ช่วยปลุกเร้าอารมณ์ กระตุ้นให้ผู้ฟังรู้สึกกระตือรือร้น ฮึกเหิม ในขณะที่ดนตรีที่มีจังหวะช้า ช่วยให้รู้สึกสงบ ผ่อนคลาย การได้ฟังดนตรีที่ชอบและมีความรู้สึกร่วมไปกับเสียงดนตรี ย่อมทำให้ผู้ฟังเกิดความสุข ด้านจิตวิทยา มีงานวิจัยหลายการศึกษาพบว่า เสียงดนตรีสามารถรักษาโรคสมาธิสั้น ช่วยปรับเปลี่ยนนิสัยก้าวร้าวของมนุษย์ให้มีความอ่อนโยน เนื่องจากดนตรีมีอิทธิพลต่ออารมณ์ของมนุษย์ดังกล่าว จึงมีการนำดนตรีมาประยุกต์ใช้ในการบำบัดผ่านกิจกรรมทางดนตรีที่มีรูปแบบ หลักเกณฑ์ และระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ จิตใจ ส่งผลต่อพฤติกรรม ทำให้เกิดการปรับลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมลงได้ เป้าหมายของการใช้ดนตรีบำบัดจึงมิได้เน้นที่ทักษะทางดนตรี แต่เน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมของผู้รับการบำบัด

องค์ประกอบต่างๆทางดนตรี สามารถให้ประโยชน์ที่แตกต่างกันไป เช่น จังหวะดนตรี (Rhythm) ช่วยให้ผ่อนคลายปละช่วยเสริมสร้างสมาธิ ระดับเสียง (Pitch) เสียงระดับต่ำจะช่วยให้เกิดความรู้สึกสงบสุข ความดัง (Volume) พบว่าเสียงที่เบานุ่มจะทำให้เกิดความสงบสุข สบายใจ ในขณะที่เสียงดังทำให้เกิดการเกร็ง กระตุกของกล้ามเนื้อได้ ความดังที่เหมาะสมจะช่วยสร้างระเบียบการควบคุมตนเองได้ดี มีความสงบ และเกิดสมาธิ ทำนองเพลง (Melody) ช่วยในการระบายความรู้สึกส่วนลึกของจิตใจ ทำให้เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์และลดความวิตกกังวล การประสานเสียง (harmony) ช่วยในการวัดระดับอารมณ์ความรู้สึกได้ โดยดูจากปฏิกิริยาที่แสดงออกมาเมื่อฟังเสียงประสานต่างๆจากบทเพลง ประโยชน์ของดนตรีบำบัดสามารถนำมาใช้ปรับสภาพจิตใจให้อยู่ในสภาวะสมดุล มีความสงบและมีทัศนคติในเชิงบวกมากขึ้น ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดและลดความวิตกกังวล กระตุ้น เสริมสร้าง และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ความจำ กระตุ้นการรับรู้ เสริมสร้างสมาธิ เสริมสร้างทักษะทางสังคม พัฒนาทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษา พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ช่วยเสริมสร้างกระบวนการบำบัด ทั้งในการประเมินความรู้สึก สร้างเสริมอารมณ์เชิงบวก และการควบคุมตนเอง เป็นต้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะพัฒนาการล่าช้าเด็กเล็ก (0-6 ปี) ลง

ร้อยละของเด็กเล็ก (0-6 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า

20.00 15.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 21
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนคณะทำงานร่วมกับครูพิเศษนักเรียน เรียนรวม และครูประจำชั้น

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผนคณะทำงานร่วมกับครูพิเศษนักเรียน เรียนรวม และครูประจำชั้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุม คณะทำงานครูตัวแทนนักเรียน

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2566 ถึง 15 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ขั้นตอนการทำงานและกำหนดการทำโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้และฝึกทักษะในการใช้ดนตรีบำบัดแก่นักเรียนกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้และฝึกทักษะในการใช้ดนตรีบำบัดแก่นักเรียนกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าวิทยากร จำนวน 45 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 13,500 บาท

2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม นักเรียนและวิทยากร จำนวน 21 คน ๆ ละ 25 บาท จำนวน 15 ครั้ง เป็นเงิน 7,875 บาท

3.ค่าอุปกรณ์เครื่องเสียง เป็นเงิน 8,625 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนกลุ่มเป้าหมายจำนวน 20 คน มีความพร้อมในการเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมทั้งสรุปผลดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมทั้งสรุปผลดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงาน   สรุปผล
วิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้โครงการสำเร็จ และแนวทางแก้ไขปัญหา

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เอกสารสรุปผลโครงการส่งกองทุนสุขภาพเทศบาลเมืองบ้านพรุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนกลุ่มเสี่่ยง ได้แก่ โรคสมาธิสั้น ภาวะซึ่มเศร้า และนักเรียนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
2.นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ห่างไกลยาเสพติด


>