กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

นายอริสมัน กริยา โทร. 061-742663

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์การระบาดของโรคโปลิโอทั่วโลกในปี 2563 พบผู้ป่วยโปลิโอที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในหลายประเทศ โดยเฉพาะผู้ป่วยโปลิโอจากเชื้อไวรัสโปลิโอสายพันธุ์วัคซีนกลายพันธุ์ (Circulating vaccine-derived poliovirus : cVDPV) ที่พบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าสองเท่า เมื่อเทียบกับปี 2562 พบว่าผู้ป่วยโรคโปลิโอที่เกิดจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์วัคซีนกลายพันธุ์เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีความครอบคลุมการได้รับวัคซีนต่ำ ในปี 2537 กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการโครงการกวาดล้างโรคโปลิโออย่างต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 30 ปี โดยมีมาตรการสำคัญ คือ เร่งรัดระดับความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กกลุ่มเป้าหมายอายุต่ำกว่า 5 ปี พร้อมให้วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอเสริมในพื้นที่เสี่ยงเป็นประจำทุกปี สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยโปลิโอรายสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. 2540 อย่างไรก็ตามแม้ว่าประเทศไทยจะไม่มีรายงานพบผู้ป่วยโปลิโอแต่ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดของโรคโปลิโอเข้ามาในประเทศไทยได้จากประเทศใกล้เคียงที่พบการระบาดผู้ป่วยโปลิโอ และในพื้นที่ที่มีความครอบคลุมการได้รับวัคซีนต่ำ เนื่องด้วยในปี 2565 ที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน ยังคงมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลกระทบภารกิจงานด้านสาธารณสุขหลายด้าน รวมถึงภารกิจงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่ส่งผลกระทบโดยตรง ส่งผลทำให้มีเด็กกลุ่มเป้าหมายพลาดการรับวัคซีนตามเกณฑ์อายุที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และจากข้อมูลความครอบคลุมการรับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอภาพรวมของประเทศ ในปี 2565 พบว่า ระดับความครอบคลุมการรับวัคซีน OPV3 อยู่ที่ร้อยละ 88.86 และความครอบคลุมการรับวัคซีน IPV อยู่ที่ร้อยละ 88.66 ในปี 2565 คลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center : HDC) จังหวัดนราธิวาส พบว่า ระดับความครอบคลุมการรับวัคซีน OPV3 อยู่ที่ร้อยละ 63.52 และความครอบคลุมการรับวัคซีน IPV อยู่ที่ร้อยละ 62.56 อำเภอสุไหงโก-ลก พบว่า ระดับความครอบคลุมการรับวัคซีน OPV3 อยู่ที่ร้อยละ 89.32 และความครอบคลุมการรับวัคซีน IPV อยู่ที่ร้อยละ 93.40 ซึ่งน้อยกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนด โดยกำหนดระดับความครอบคลุมไว้ที่มากกว่าร้อยละ 90 ด้วยเหตุนี้ที่ประชุมสั่งการและติดตาม ประสานเฝ้าระวัง ป้องกันโรคและภัยสุขภาพ ครั้งที่ 4/2564 ได้มีข้อสั่งการเพิ่มความเข้มข้นของระบบเฝ้าระวังผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกเฉียบพลัน (Acute Flaccid Paralysis : AFP) และเร่งรัดติดตามการรับวัคซีนในกลุ่มเป้าหมายให้ครบและครอบคลุมทุกพื้นที่
ใน พ.ศ. 2566 จึงกำหนดให้มีการรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอเช่นทุกปี ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหาการระบาดข้ามประเทศจากประเทศที่ยังมีโรคโปลิโอเป็นโรคประจำถิ่นไปยังประเทศที่ปลอดจากโรคแล้ว เป็นปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศต้องหาทางป้องกัน ขณะเดียวกัน ยังพบปัญหาการได้รับวัคซีนไม่ครบถ้วนในประชากรบางกลุ่ม บางพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อต่อไปภายในประเทศ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี และเด็กต่างชาติอายุต่ำกว่า 15 ปี ได้รับวัคซีนและมีภูมิต้านทานต่อโรคโปลิโอสูงเพียงพอที่จะป้องกันการแพร่เชื้อโปลิโอชนิดก่อโรคจากภายนอกเข้ามาในประเทศ

เด็กในกลุ่มเป้าหมาย ได้รับวัคซีนโปลิโอครบ 2 ครั้ง ไม่ต่ำกว่าร้อยละร้อยละ 90 ในทุกชุมชน

89.00 90.00
2 เพื่อเสริมประสิทธิภาพมาตรการกวาดล้างโปลิโอ ในทุกพื้นที่ ตำบลสุไหงโก-ลก ซึ่งจะส่งผลให้สามารถกวาดล้างโรคโปลิโอให้หมดไปจากประเทศไทย

ไม่พบผู้ป่วยโรคโปลิโอในพื้นที่

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
เด็กต่างชาติอายุต่ำกว่า 15 ปี 18
เด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี 2,582

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมในการรณรงค์ฯ แก่ผู้รับผิดชอบโครงการโรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลฯ ศูนย์สุขภาพชุมชน และ อสม.

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมในการรณรงค์ฯ แก่ผู้รับผิดชอบโครงการโรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลฯ ศูนย์สุขภาพชุมชน และ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ผู้รับผิดชอบงานของโรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลฯ ศูนย์สุขภาพชุมชน และ อสม. รวมจำนวน 60 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- ประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมในการรณรงค์ฯ แก่ผู้รับผิดชอบโครงการโรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลฯ ศูนย์สุขภาพชุมชน และ อสม.
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน x 30 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1800.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอ ครั้งที่ 1 เดือนกรกฎาคม 2566

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอ ครั้งที่ 1 เดือนกรกฎาคม 2566
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย อสม. 200 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- เชิญ อสม. ร่วมรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอแก่เด็กในชุมชนของตนเอง ครั้งที่ 1 เดือนกรกฎาคม 2566
งบประมาณ
1. ค่าตอบแทน อสม.ผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 200 คน x 50 บาท x 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 20,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 200 คน x 30 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ90 ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี และเด็กต่างชาติอายุต่ำกว่า 15 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26000.00

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอครั้งที่ 2 เดือนสิงหาคม 2566

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอครั้งที่ 2 เดือนสิงหาคม 2566
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย อสม. 200 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- เชิญ อสม. ร่วมรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอแก่เด็กในชุมชนของตนเอง ครั้งที่ 2 เดือนสิงหาคม 2566
งบประมาณ
1. ค่าตอบแทน อสม.ผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 200 คน x 50 บาท x 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 20,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 200 คน x 30 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ90 ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี และเด็กต่างชาติอายุต่ำกว่า 15 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 53,800.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี และเด็กต่างชาติอายุต่ำกว่า 15 ปี ได้รับวัคซีนและมีภูมิต้านทานต่อโรคโปลิโอสูงเพียงพอที่จะป้องกันการแพร่เชื้อโปลิโอชนิดก่อโรคจากภายนอกเข้ามาในประเทศ
2. เสริมประสิทธิภาพมาตรการกวาดล้างโปลิโอ ในทุกพื้นที่ ตำบลสุไหงโก-ลก ซึ่งจะส่งผลให้สามารถกวาดล้างโรคโปลิโอให้หมดไปจากประเทศไทย


>