กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ผดุงมาตร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนก้าวไกลไปกับงานคุ้มครองผู้บริโภค ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ผดุงมาตร

ชมรมอสม.ตำบลผดุงมาตร

1.นายมะเยะเจ๊ะแม
2.นายมามะหะยีมะเซ็ง
3.นางนูรีดา มะดือราแว
4.นางสาวการีหม๊ะ แมเราะห์
5.นายอัซมิงปิตายะโซ

ตำบลผดุงมาตร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละร้านชำพบจำหน่ายกาแฟผสมยาอันตราย

 

15.90
2 ร้อยละร้านชำพบจำหน่ายยาอันตราย

 

11.36

ในปัจจุบันสุขภาพของคนในพื้นที่ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลายชนิด หนึ่งในจำนวนโรคเหล่านั้นนั้นก็เป็นมีโรคมะเร็ง ที่เป็นสาเหตุให้คนเสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่งสาเหตุเกิดจากอาหารการกินสารเคมีที่ปนเปื้อนมาในอาหารในรูปแบบต่างๆ ทำให้ประชาชนเกิดโรคมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์สุขภาพหลายชนิดที่เกิดขึ้น ทั้งผลิตภัณฑ์อาหารยา และเครื่องสำอางค์ ที่กลุ่มผู้ผลิตโฆษณาเพื่อดึงดููดความสนใจผู้บริโภคให้มาใช้สินค้า เกิดการแข่งขันทางธุรกิจ กลุ่มผู้ผลิตพยายามหาจุดขายของผลิตภัณฑ์ บางผลิตภัณฑ์มีการใช้สารที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสม เพราะเป็นอันตรายต่อสุุขภาพของผู้บริโภค เช่น สารไฮโดรควิโนนสารปรอท ซึ่งห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์สารสเตียรอยด์ ห้ามใช้ในยาแผนโบราณ ส่วนใหญ่จะพบในยาลูกกลอน กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกผัก ผลไม้ ใช้สารเคมีเพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ รวมทั้ง ร้านค้าที่นำผลิตภัณฑ์สุขภาพมาขายในร้าน ยังมีการแอบนำผลิตภัณฑ์ ยาที่ห้ามจำหน่ายในร้านชำมาขายให้ประชาชนในชุมชนจำเป็นต้องให้ประชาชนได้รับความรู้และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้โดยผ่านอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ( อสม. )เป็นแกนนำในการดำเนินกิจกรรม ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผดุงมาตร จึงได้จัดทำโครงการ ชุมชนก้าวไกลไปกับงานคุ้มครองผู้บริโภค ปี 2564 ขึ้นเพื่อสร้างแกนนำช่วยเฝ้าระวัง ตรวจร้านชำ และให้ความรู้กับประชาชนการเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหาร ที่ปลอดภัย และรับทราบข้อมูลข่าวสารผลิตภัณฑ์ที่ประกาศห้ามใช้และเพื่อลดการใช้สารเคมีในเกษตรกรและประชาชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร ร้านจำหน่ายอาหาร ร้านชำภายในเขตพื้นที่เป้าหมาย

มีข้อมูลร้านชำในพื้นที่่ ร้อยละ 100

44.00 44.00
2 เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพของแกนนำสุขภาพ ในด้านการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน

แกนนำสุขภาพ มีความรู้ในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน ร้อยละ 80

90.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้ประกอบร้านชำมีความรู้ในเรื่อง ขอบเขตในการใช้ยาและจำหน่ายยา

ผู้ประกอบร้านชำมีความรู้ ร้อยละ 100

44.00 44.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 62
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจรร้านชำและแผงลอยจำหน่ายอาหารในพื้นที่รับผิดชอบ

ชื่อกิจกรรม
สำรวจรร้านชำและแผงลอยจำหน่ายอาหารในพื้นที่รับผิดชอบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภค 2.อสม.สำรวจร้านอาหาร ร้านชำและแผงลอยจำหน่ายอาหารในเขตรับผิดชอบของตนเอง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีข้อมูลร้านชำในพื้นที่่ ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้แก่แกนนำสุขภาพและผู้ประกอบร้านชำ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่แกนนำสุขภาพและผู้ประกอบร้านชำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1.ชี้แจ้งการดำเนินงาน 2.จัดอบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขและผู้ประกอบร้านชำ เรื่องยาอันตรายในพื้นที่ 3.ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบร้านเกี่ยวกับรายการยาที่ร้านชำสามารถจำหน่ายได้ งบประมาณ 1.ค่าจัดทำสื่อและป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด 1 เมตร x 3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 750 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 62 คน x 50 บาท จำนวน 1 มือ เป็นเงิน 3,100 บาท 3.ค่าอาหารว่างในการจัดอบรม จำนวน 62 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,100 บาท 4.ค่าวิทยากรอบรม จำนวน 1 คน จำนวน 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำสุขภาพและผู้ประกอบการร้านชำ มีความรู้เรื่องการจำหน่ายอาหารและยาที่ปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9950.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจร้านชำ

ชื่อกิจกรรม
ตรวจร้านชำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1.จัดทำแผนลงตรวจร้านในพื้นที่ 2.แจกสื่อประชาสัมพันธ์ให้แก่ผู้ประกอบการร้าน และประชาชนในพื้นที่ 3.เจ้าหน้าที่ลงตรวจร้านอาหาร ร้านชำและแผงลอยจำหน่ายอาหารในพื้นที่พร้อมกับ อสม. 4.จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ร้านปลอดยาอันตรายและสติ๊กเกอร์ห้ามจำหน่ายบุหรี่สำหรับเด็กอายุตำ่กว่า 18 ปี 5.สรุปผลการดำเนินงาน และประเมินผลตามแผนที่กำหนดไว้ งบประมาณ 1.จัดทำสติ๊กเกอร์ร้านปลอดยาอันตรายและสติ๊กเกอร์ไม่จำหน่ายบุหรี่ -สติ๊กเกอร์ร้านปลอดยาอันตราย(ขนาด 42cm30cm) จำนวน 20 แผ่น x 70 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท -สติ๊กเกอร์ไม่จำหน่ายบุหรี่ (ขนาด 42cm30cm) จำนวน 20 แผ่น x 70 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท เป็นเงิน 2,800

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านชำที่จำหน่ายยาอันตรายลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในพื้นที่เลิกซื้อยาอันตรายกินเอง
2.ร้านชำในพื้นที่ปลอดยาอันตราย
3.ผู้ประกอบร้านชำมีความรู้เกี่ยวกับการขายยาอันตราย


>