กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเทพา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมวัยทำงาน ลดเสี่ยงโรคเรื้อรังตำบลเทพา (หมู่ 1 เทศบาลตำบลเทพา)ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเทพา

คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัว ศูนย์ ๑ รพ.เทพา

คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัว ศูนย์ ๑ รพ.เทพา

หมู่ที่ ๑ เทศบาลตำบลเทพา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

20.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

10.00
3 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

 

3.00

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงหัวใจหลอดเลือดสมอง มะเร็ง ฯลฯ เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือดม (CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่านอกจากการบริการทางคลินิกแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีความสำคัญและจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคติดต่อดังกล่าวซึ่งการบริการสุขภาพภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็น รวมทั้งการบริการสุขภาพเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเป็นสำคัญ โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ถือเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้เช่น ความอ้วน ความเครียด การออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม การดื่มสุรา สูบบุหรี่ ซึ่งหากประชาชนไม่สามารถควบคุมปัจจัยดังกล่าว ร่วมกับการมีอายุที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่อายุ ๓๕ ปีขึ้นไปย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และต้องได้รับการรักษารับประทานยาตลอดชีวิต อีกทั้งหากมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ส่งผลให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น
ข้อมูลจากการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในกลุ่มวัยทำงาน ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตำบลเทพา ปี ๒๕๖๕ พบว่า เสี่ยงต่อโรคเบาหวานจำนวน ๑๕๐ คน เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงจำนวน ๓๐๐คน ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน ๗๓๘ คน ป่วยโรคเบาหวานจำนวน ๓๔๔ คน แยกเป็นในเขตเทศบาลตำบลเทพา พบว่าป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน ๒๕๗ คน ป่วยโรคเบาหวานจำนวน ๑๗๐ คน เสี่ยงต่อโรคเบาหวานจำนวน ๓๕ คน เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงจำนวน ๘๐คนจากสถานการณ์ของโรคดังกล่าวคลินิกเวชฯ ศูนย์1 ได้เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มวัยทำงานจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริม กระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายวัยทำงาน ตระหนัก รับรู้ถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น เป็นบุคคลที่มีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลออัตราการเกิดผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่

 

60.00 40.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

20.00 5.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

10.00 50.00
4 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

3.00 2.00

เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงเบาหวานที่ผ่านการตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือดแบบอดอาหารและมีค่าน้ำตาล ๑๐๐-๑๒๕ mg% หรือตรวจค่าน้ำตาลในเลือดโดยไม่อดอาหาร ๑๔๐- ๑๙๙ mg% ได้รับการตรวจ FPG ร้อยละ ๑๐๐

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/06/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาทักษะส่วนบุคคลและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้านการดูแลสุขภาพการบริโภคที่ถูกต้องในกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาทักษะส่วนบุคคลและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้านการดูแลสุขภาพการบริโภคที่ถูกต้องในกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พัฒนาทักษะส่วนบุคคลและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้านการดูแลสุขภาพการบริโภคที่ถูกต้องในกลุ่มเสี่ยง - ค่าไวนิล ๙๐๐ บาท - ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มกลุ่มเสี่ยงเบาหวานความดันจำนวน ๕๐ คนๆละ ๕๐ บาทเป็นเงิน ๒,๕๐๐ บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มกลุ่มเสี่ยงเบาหวานความดันจำนวน ๕๐ คน จำนวน ๒ มื้อๆละ ๒๕ บาท เป็นเงิน ๒,๕๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ลดลง ร้อยละ ๕
  • อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง ร้อยละ ๒.๕
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12580.00

กิจกรรมที่ 2 ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จอประสาทตาเสื่อม ไตวาย

ชื่อกิจกรรม
ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จอประสาทตาเสื่อม ไตวาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จอประสาทตาเสื่อม ไตวาย - ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มผู้ป่วยเบาหวานและความดัน จำนวน ๔๐ คน ๆ ละ ๕๐ บาทเป็นเงิน ๒,๐๐๐ บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้ป่วยเบาหวานและความดัน จำนวน ๔๐ คน จำนวน ๒ มื้อๆ ละ ๕๐ บาท เป็นเงิน ๒,๐๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมได้ มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ ๔๐
  • ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ ๕๐
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,580.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ลดอัตราการเกิดผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่
-ผู้ป่วยเบาหวานความดันและกลุ่มเสี่ยงได้รับการพัฒนาทักษะส่วนบุคคลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง


>