กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ผดุงมาตร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคด้วย 3อ 2ส ตำบลผดุงมาตร ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ผดุงมาตร

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผดุงมาตร

ตำบลผดุงมาตร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

20.54
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

35.41

ในปัจจุบันอัตราการป่วยของโรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้นทุกปีโดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจากสถานการณ์ของโรคในเขตรับผิดชอบของโงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผดุงมาตร โดยข้อมูลปีงบประมาณ 2565 ( ตุลาคม2564 -กันยายน2565 ) มีประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไปที่ยังไม่เป็นความดันโลหิตสูง ทั้งหมด 1,280 คน ได้มีการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1,224 คน คิดเป็นร้อยละ 95.63 จากการคัดกรองพบ กลุ่มปกติ จำนวน 961 คน คิดเป็นร้อยละ 78.51 พบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 181 คน คิดเป็นร้อยละ 14.79 กลุ่มสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง 82 คนคิดเป็นร้อยละ 6.70 จากการคัดกรองประชากรอายุ 35 ปี ขี้นไปที่ยังไม่เป็นเบาหวานจำนวน 1642 คน ได้รับการคัดกรองจำนวน 1576 คน คิดเป็นร้อยละ 95.98 พบกลุ่มปกติ 1005 คนคิดเป็นร้อยละ 95.98 กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 558 คนคิดเป็นร้อยละ 35.41 และกลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวาน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 0.25 จากการซักประวัติรายบุคคลข้อมูล สอดคล้องกับแบบประเมินคือ ผู้ป่วยมีความรู้ แต่ยังขาดทักษะการปฏิบัติสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากตัวผู้ป่วยเอง ขาดแรงกระตุ้นในการจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องและขาดความร่วมมือจากผู้ดูแลเพราะผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุจะต้องมีผู้ที่ดูแลเรื่องการรับประทานยา การประกอบอาหารให้เหมาะกับผู้ป่วยและเป็นแรงกระตุ้น และจัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้ป่วยปฏิบัติได้จริง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผดุงมาตรจึงมีความมุ่งมั่นในการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานละความดันโลหิตสูง ในชุมชนน่าจะทำให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายและการแลกเปลี่ยนความรู้ได้ดีขึ้นจึงคัดเลือกผู้ป่วยโดยคัดเลือกจากผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุม ระดับ นํ้าตาลในเลือดไม่ดีหรือภาวะแทรกซ้อน และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันไม่ค่อยได้ ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้โดยเน้นให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมตามสภาพแวดล้อมเป็นจริงสอดคล้องกับสภาพสังคมและวิถี ชีวิต ประจำ วันในหมู่บ้าน จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกว่า ตนเองไม่ผิดแปลกไปจากผู้อื่นในสังคม ทำให้ผู้ป่วยเกิดกำลังใจและมีความพยายามในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมากขึ้นในการค้นหาคัดกรองโรคไม่ติดต่อของตำบลผดุงมาตรทำได้ลำบากเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวนยางพาราต้องตื่นนอนเร็วรีบรับประทานอาหารเช้าเพื่อจะได้ไปทำงาน ทำให้ช่วงเวลาในการคัดกรองเป็นไปได้น้อยจึงจำเป็นต้องให้อสม.แต่ละเขตรับผิดออกคัดกรองเพิ่มเติม นอกจากนี้ประชาชนไม่เห็นความสำคัญของการคัดกรองโรคไม่ติดต่อทำให้พบผู้ป่วยเมื่อมีอาการหนักแล้ว ซึ่งกลวิธีต่างๆนี้น่าจะช่วยให้ลดจำนวนผู้ป่วยลงและให้ประชาชนได้ตระหนักถึงอันตรายของการเกิดโรค เพื่อการดูแลตนเองและครอบครัวไม่ให้มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้ ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผดุงมาตรและองค์การบริหารส่วนตำบลผดุงมาตรเห็นความสำคัญเพื่อให้กลุ่มเสี่ยงใหม่ไม่เป็นโรคจึงได้พัฒนาโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม ลดโรค กิจกรรมสำคัญที่ใช้ในการดำเนินโครงการ การประชุมค้นหากลุ่มเป้าหมายที่สมัครใจ การจัดกิจกรรมเรียนรู้การดูแลสุขภาพองค์รวมทั้งผู้ป่วยและญาติในครอบครัวที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ ทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน และพฤติกรรมการออกกำลังกาย โดยมีทีมอสม.ทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผดุงมาตรเป็นกลไกพี่เลี้ยงในการติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มีการจัดกิจกรรมประกวด บุคคลต้นแบบดูแลสุขภาพ การประกวดออกกำลังกาย เพื่อสร้างกระแสการสร้างสุขภาพทั้งนี้มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
ในการดำเนินโครงการ การประชุมค้นหากลุ่มเป้าหมายที่สมัครใจ การจัดกิจกรรมเรียนรู้การดูแลสุขภาพองค์รวมทั้งผู้ป่วยและญาติในครอบครัวที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ ทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน และพฤติกรรมการออกกำลังกาย โดยมีทีมอสม.ทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผดุงมาตรเป็นกลไกพี่เลี้ยงในการติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มีการจัดกิจกรรมประกวด บุคคลต้นแบบดูแลสุขภาพ การประกวดออกกำลังกาย เพื่อสร้างกระแสการสร้างสุขภาพทั้งนี้มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคด้วย 3อ 2ส อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ร้อยละ 80 ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคด้วย 3อ 2ส อย่างถูกต้องและเหมาะสม

80.00 90.00
2 เพื่อเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันของกลุ่มเป้าหมายในชุมชน

ร้อยละ 100 กลุ่มเป้าหมายมีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันในชุมชน

100.00 100.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับโรค

ร้อยละ 80 กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับโรค

80.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม - คัดแยกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเข้าร่วมอบรมกลุ่มเสี่ยง (สีเขียว กลุ่มปกติ ) (สีเหลือง กลุ่มเสี่ยง ) (สีแดง กลุ่มสงสัยป่วย)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีกลุ่มเป้าหมายกลุมเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค 3 อ 2 ส

ชื่อกิจกรรม
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค 3 อ 2 ส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมชี้แจง อสม./จนท. เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ 2.ติดตามกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมอบรม 3.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับกลุ่มเป้าหมาย งบประมาณ 1.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ที่เข้าอบรมจำนวน 80 คน x 50 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน 4,000 บาท 2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้ที่เข้าอบรม จำนวน 80 คน x 25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 4,000 บาท 3.ค่าวิทยากรอบรมจำนวน 6 ชม.* 600 บาท *1 คน เป็นเงิน 3,600 บาท 4.ค่าสมุด จำนวน 80 เล่ม x 10 บาทเป็นเงิน 800 บาท 5.ค่าปากกา จำนวน 80 ด้าม x 5 บาท เป็นเงิน 400 บาท 6.ค่ากระเป๋าใส่เอกสาร 80 ใบ x 35 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท 7. ค่าไวนิล 1 x 3 เมตร เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยได้ความรู้เรื่องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16350.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค 3 อ 2 ส

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค 3 อ 2 ส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดประเมินผลพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยป่วย ทุกๆ 3 เดือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการติดตามร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและทั่วถึง 2.ประชาชนมีความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง


>