กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสื่อสารความเสี่ยงต่อการจมน้ำในพื้นที่เสี่ยงในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ควบคุมโรคและระบาดวิทยา โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

นายอาแว ยูไฮ โทร 06-12742663
นางสาวสาลินี จงเจตดี โทร 09-8905900

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สถานการณ์การจมน้ำเสียชีวิตของอำเภอสุไหงโก-ลก ตั้งแต่ปี 2561-2565 ที่ผ่านมา พบว่ามีจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด 9 ราย

 

9.00
2 สถานการณ์การบาดเจ็บจากจมน้ำของอำเภอสุไหงโก-ลก ตั้งแต่ปี 2561-2565 ที่ผ่านมา พบว่ามีจำนวนทั้งหมด 5 ราย

 

5.00

การจมน้ำ (Drowning) คือกระบวนการที่ทำให้มีการบกพร่องของการหายใจอันเนื่องจากจมอยู่ใต้ น้ำหรือ บางส่วนจุ่มหรือแช่อยู่ในน้ำ (WHO 2002) การเสียชีวิตจากการตกน้ำ จมน้ำ ของเด็กทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมาพบว่าการเสียชีวิตของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ทั่วโลกมีจำนวนปีละ 135,585 คน เฉลี่ยวันละ 375 คน ส่วนในประเทศไทยการจมน้ำเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการเสียชีวิตในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี โดยเฉลี่ยมีเด็กจมน้ำเสียชีวิตปีละเกือบ 1,000 คน ส่วนในทุกกลุ่มอายุ เฉลี่ยปีละเกือบ 4,000 คน โดยข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขพบว่าทุกๆ 8 ชั่วโมง จะมีเด็กจมน้ำเสียชีวิต 1 คน โดยเฉลี่ยทุกๆ 1 เดือน ประเทศไทยจะสูญเสียเด็กที่เกิดจากเหตุการณ์จมน้ำมากกว่า 90 คน ซึ่งในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้สูญเสียเด็กไปแล้วถึง 11,923 คน (สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค) แผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ด้านสาธารณสุข กำหนดเป้าหมายว่าเมื่อสินปี 2579 อัตราการจมน้ำเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีต้องลดลงเหลือ 2.5 ต่อประชากรเด็กแสนคน และทุกลุ่มอายุต้องลดลง ร้อยละ 50 จากปี 2560 (หรือมีอัตรา 3.0 ต่อประชากรแสนคน) ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งท้าทายสำหรับประเทศไทย ส่วนสถานการณ์การจมน้ำของจังหวัดนราธิวาส พ.ศ.2560-2564มีจำนวนผู้เสียชีวิต 68 ราย เฉลี่ย 14 รายต่อปี (กองยุทธศาสตร์และแผน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข) โดยปัจจัยที่ทำให้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุขาดความรู้ในการประเมินสภาพแหล่งน้ำ ไม่มีทักษะในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากการจมน้ำ ไม่มีความรู้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นหรือการช่วยฟื้นคืนชีพ รวมถึงไม่ทราบแนวทางในการขอความช่วยเหลือจากรถฉุกเฉินหรือรถกู้ภัย และพบว่าส่วนใหญ่ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันและให้ความช่วยเหลือผู้ที่จมน้ำ จึงมักส่งผลให้เด็กที่ประสบภัยทางน้ำเสียชีวิตเกือบทุกราย
พื้นที่ของอำเภอสุไหงโก-ลกเป็นพื้นที่ลุ่ม ลาดเอียงสู่แม่น้ำ ซึ้งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่กั้นพรมแดนระหว่างไทยกับมาเลเซียเป็นแนวยาวประมาณ 103 กิโลเมตร มีการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนระหว่าง 2 ข้างฝั่งของแม่น้ำสุไหงโก-ลก โดยประชาชนในพื้นทีมีการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำดังกล่าวในการใช้เพื่ออุปโภค บริโภค และการประกอบอาชีพขับเรือโดยสารข้ามฝั่งรับส่งนักท้องเที่ยวทั้งไทยและมาเลเซียข้ามฝั่งไปมา จากสภาพการณ์ดังกล่าวมักมีนักท่องเทียวและเด็กๆทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ลงไปเล่นน้ำเป็นประจำ และด้วยสภาพพื้นที่ที่เป็นที่ลุ่มจึงเกิดอุทกภัยทุกๆปี ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงต่อการจมน้ำได้ ส่วนสถานการณ์ในพื้นที่อำเภอสุไหงโก-ลก ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561-พฤษภาคม 2565 มีจำนวนผู้บาดเจ็บจากการจมน้ำทั้งหมด 8 ราย เสียชีวิตทั้งหมด 10 ราย โดยปัจจัยเสี่ยงที่พบส่วนใหญ่ คือ ขาดความรู้เรื่องแหล่งน้ำ ไม่มีทักษะในการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ และคนรอบข้างหรือคนที่ช่วยเหลือไม่มีทักษะในการช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ดังนั้นการให้ความรู้กับหลักปฏิบัติจึงมีความสำคัญที่จะแก้ปัญหาการจมน้ำในชุมชน จึงเป็นที่มาในการทำโครงการ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยในพื้นที่เสี่ยงได้รับความรู้และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องการการจมน้ำและการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุอย่างถูกวิธี
  • ประชาชนทุกกลุ่มวัยในพื้นที่เสี่ยงได้รับความรู้หลังทำกิจกรรม ร้อยละ 80
  • ติดตั้งอุปกรณ์ช่วยเหลือคนจมน้ำพื้นที่เสี่ยง 1 ครั้ง/ปี
40.00 80.00
2 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงสามารถปฏิบัตตัวเพื่อการป้องกันการจมน้ำ และสามารถช่วยเหลือผู้ประสบเหตุได้อย่างถูกวิธี

ร้อยละของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงสามารถปฏิบัตตัวเพื่อการป้องกันการจมน้ำ และสามารถช่วยเหลือผู้ประสบเหตุได้อย่างถูกวิธี

30.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
- ประชาชนในพื้นที่เสียงริมแม่น้ำสุไหงโก-ลก 50
- ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุข 20

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย
- ประชาชนในพื้นที่เสียงริมแม่น้ำสุไหงโก-ลก 50 คน
- ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุข 20 คน
รวม 70 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ
กำหนดการ
08.30 น. – 08.45 น. ลงทะเบียน
08.46 น. – 09.00 น. พิธีเปิดโครงการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
09.01 น. – 09.15 น. บททดสอบความรู้ก่อนอบรม
09.16 น. – 12.15 น. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ โดยวิทยากร จากมูลนิธิเซิ่งหมู่ธารน้ำใจ (บรรยาย)
12.16 น. - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.01 น. - 16.00 น. อบรมให้ความรู้การใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากการจมน้ำพร้อมสาธิต โดยวิทยากร จากมูลนิธิเซิ่งหมู่ธารน้ำใจ (บรรยาย)
16.01 น. – 16.30 น. ส่งมอบและติดตั้งอุปกรณ์ช่วยเหลือป้องกันการตกน้ำในชุมชน
งบประมาณ
1. ค่าไวนิลโครงการ 1 ผืน ขนาด 2 x 1 เมตร เป็นเงิน 500 บาท
2. ค่าวัสดุและอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมให้ความรู้ ได้แก่ ปากกา สมุด แฟ้ม ฯล เป็นเงิน 3,000 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คน x 30 บาท x 2 มื้อ x 1 วันเป็นเงิน 4,200 บาท
4. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คน x 60 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
5. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน x 600 บาท x 6 ช.ม.. เป็นเงิน 3,600 บาท
6. ค่าอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ประสบเหตุจมน้ำ (ห่วงชูชีพ) 4 ห่วง(สำหรับ 4 ท่าน้ำ) x 2,000 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนทุกกลุ่มวัยในพื้นที่เสี่ยงได้รับความรู้หลังทำกิจกรรม ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,500.00 บาท

หมายเหตุ :
จำนวนกลุ่มเป้าหมายและค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนทุกกลุ่มวัยในพื้นที่เสี่ยงได้รับความรู้และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องการการจมน้ำและการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุอย่างถูกวิธี
2. ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงสามารถปฏิบัตตัวเพื่อการป้องกันการจมน้ำ และสามารถช่วยเหลือผู้ประสบเหตุได้อย่างถูกวิธี


>