กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมให้ความรู้แก่แกนนำชุมชนเพื่อคัดกรองสายตาและการได้ยินในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ในชุมชน ประจำปี 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้แก่แกนนำชุมชนเพื่อคัดกรองสายตาและการได้ยินในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ในชุมชน ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

กลุ่มงาน/แผนก จักษุ โสต ศอ นาสิกโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

1.นางอัญชสา พูนเทพ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โทร.081-7483468
2.นางสาวสุธิดา จันทร์อุ่ยพยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ โทร.083-3996969
3.นางเปรมฤดี มณีเชวง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โทร.081-6983010
4.นางอรุณี หริรัตนกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โทร.081-9906383
5.นางสาวมูรนิงแวฮามะ พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ โทร.086-2979028

ตำบลสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสายตา

 

85.84

องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ว่า คนตาบอด หมายถึง คนที่มีสายตาในข้างดีเห็นน้อยกว่า 3/60 หรือมีลานสายตาแคบกว่า 10 องศา ด้วยเหตุที่สายตาข้างดีขนาดนี้มักจะช่วยตัวเองไม่ได้ จากคำนิยามนี้ ถ้าคนใดตาบอดหนึ่งข้าง ข้างที่ดีกว่าเห็นปกติหรือดีกว่า 3/60 จึงไม่ใช่คนตาบอด ด้วยนิยามนี้พบว่าในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว มีเศรษฐกิจดี พบจำนวนคนตาบอดเป็น 0.1-0.4% หรือ 1-4 คนต่อประชากร 1,000 คน และโรคที่ทำให้ตาบอดมักจะเป็นโรคความเสื่อมที่รักษาไม่ได้ โรคทางกรรมพันธุ์ที่ยังรักษาไม่ได้ ตลอดจนโรคที่ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน หรือโรคที่รักษาไม่ได้ ส่วนประเทศด้อยหรือกำลังพัฒนา พบคนตาบอดได้ 0.5-1.5% หรือ 5-15 คนในประชากร 1,000 คน และมักเป็นโรคที่รักษาได้ แต่อาจรักษาไม่ทัน หรือจำนวนแพทย์มีไม่เพียงพอที่จะรักษา ได้แก่ โรคต้อกระจก แผลติดเชื้อที่ตาดำ ภาวะขาดวิตามินเอ ตลอดจนพยาธิในตา จำนวนคนตาบอดของประชากรในแต่ละประเทศ อาจบอกถึงความเจริญทางสาธารณสุขทางการแพทย์ของประเทศนั้น สภาวะตาบอดของประเทศไทยในปี 2556 พบว่าประชากรไทยมีความชุกของตาบอด 0.59% และสายตาเลือนลางร้อยละ 1.57 สาเหตุตาบอดและสายตาเลือนลางที่พบมากที่สุดเกิดจากต้อกระจก 56.61% ต้อหิน 10.4% จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ 3.88% ตาดำเป็นฝ้าขาว 1.23% สายตาผิดปกติโดยไม่แก้ไข 14.11% ต้อกระจกยังเป็นสาเหตุตาบอดที่สำคัญในบ้านเรา ด้วยเหตุที่เป็นโรคที่พบได้เกือบทุกคนในผู้สูงอายุ เกิดจากความเสื่อมของแก้วตาตามอายุ คนเรายิ่งมีอายุยืนขึ้นยิ่งจะพบต้อกระจกมากขึ้น
จังหวัดนราธิวาส ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองสายตาจำนวน 31,031 ราย คิดเป็น 52.37% จากจำนวน 59,253 คน เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 6,485 ราย ได้รับการคัดกรองสายตาจำนวน 4,019 ราย คิดเป็น 61.97% จากเป้าหมาย 75% ผู้ป่วยตาบอดจากต้อกระจก (Blinding Cataract) ได้รับการผ่าตัด ทำได้ 134 ตา คิดเป็น 53.6% เป้าหมาย 250 ตา ด้วยสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทำให้การเข้าถึงบริการได้ยากและการผ่าตัดทำได้เฉพาะรายเร่งด่วน ส่งผลให้ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
กลุ่มงานจักษุ โสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลสุไหงโก-ลกได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำชุมชน เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการคัดกรอง การค้นหาผู้สูงอายุที่มีปัญหาสายตาและการได้ยินที่บกพร่อง เป็นการตอบสนองต่อนโยบายระบบบริการสุขภาพเขตที่ 12 สาขาตา เน้นการจัดระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงบริการ คือการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกเพื่อลดภาวะตาบอดจากต้อกระจก จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้แกนนำชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดกรองสายตาในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และสามารถส่งต่อได้

แกนนำชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดกรองสายตาในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

50.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้แกนนำชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดกรองการได้ยินในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และสามารถส่งต่อได้

แกนนำชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดกรองการได้ยินในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำชุมชนที่ดูแลผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำชุมชนที่ดูแลผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย แกนนำชุมชนใน 31 ชุมชน จำนวน 100 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ประชุมคณะกรรมการในการดำเนินงานในกลุ่มจักษุ โสต ศอ นาสิกเรื่องการจัดทำโครงการ
2. จัดทำโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
3. ประสานงานกับ ศสม.1 และ ศสม.2 เพื่อประสานกลุ่มเป้าหมาย และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆในการจัดโครงการ
4. จัดประชุมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเป็นระยะเวลา 1 วัน
5. สรุปผลการดำเนินโครงการ
6. ประชุมคณะกรรมการเพื่อสรุปแผนงานดำเนินการ
7. สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการพร้อมทั้งหาแนวทางในการพัฒนาต่อไป
กำหนดการ
08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียน
08.31 - 09.00 น. พิธีเปิดโครงการอบรมให้ความรู้แก่แกนนำชุมชนเพื่อคัดกรองสายตาและการได้ยินในผู้สูงอายุ60ปีขึ้นไป โดยนายแพทย์บรรยง เหล่าเจริญสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
09.01 - 10.30 น. ให้ความรู้เรื่องโรคทางตาได้แก่ โรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา โดยนพ.สรรค์พงศ์ เจียมสวัสดิ์
10.31 - 12.00 น. ให้ความรู้เรื่องโรคทางตาได้แก่ โรคต้อกระจก ต้อหิน ต้อลม ต้อเนื้อ โดยพญ.ชนิกานต์ ปรีชาวุฒิเดช
12.01 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.01 - 15.00 น. ให้ความรู้เรื่องโรคทางหู คอ จมูก ได้แก่ โรคประสาทหูเสื่อมในผู้สูงอายุ โรคไทรอยด์ โดย นพ.ณัฐพล พึ่งคำ
15.01 - 16.00 น. อบรมให้ความรู้พร้อมสาธิตการคัดกรองสายตาและการได้ยินผู้สูงอายุ แก่ผู้เข้าอบรม และการส่งต่อ(กรณีผิดปกติ)เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษา โดยพยาบาล แผนกจักษุโสต ศอ นาสิก (วิทยากรกลุ่ม)
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 2 มื้อ x 100 คน เป็นเงิน 6,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 100 คน เป็นเงิน 6,000 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร (บรรยาย) 600 บาท X 5 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร (กลุ่ม) 300 บาท X 10 กลุ่ม X 1 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ (ถุงผ้า 30 บาท ปากกา 10 บาท สมุด 10 บาท) คนละ 50 บาท x 100 คน เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุ60ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองสายตา ร้อยละ 75 และได้รับการคัดกรองการได้ยิน ร้อยละ 60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,000.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดกรองสายตาในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และสามารถส่งต่อได้
2. แกนนำชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดกรองการได้ยินในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และสามารถส่งต่อได้


>