กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคลีนิคยุวชนคนรักสุขภาพชมรม "พี่สอนน้อง เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก" ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ชมรมพี่สอนน้อง สุไหงโก-ลก

1. นางเนาวรินทร์จารุพงศา โทร.089-8977376
2. นายศรัณย์ตระกูลนาวี โทร.087-3949575
3. นายโจฮารี ตระกูลนาวี โทร. 065-0672739
4. นายอภินันท์ ดาวพัฒนพงศ์โทร.086-2965384
5.นางลัยลาดารามานะ โทร 093-7549897

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเยาวชนติด Social มากกว่า 5 ชม./วัน

 

80.00
2 ร้อยละของเยาวชนในชุมชนขาดความรู้เรื่องยาเสพติดและการปฏิเสธที่ถูต้อง

 

60.00

เด็กและเยาวชนมักจะใช้เวลาท่อง social เป็นเวลาหลายชั่วโมงติดต่อกันในแต่ละวัน ถึงขั้นเสพติด social ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งเกมส์ และอื่นๆอีกมากมาย ส่งผลต่อพฤติกรรมก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ก้าวร้าว เวลาถูกขัดจังหวะในการท่อง social และ social ก็อาจชักนำเด็กและเยาวชนไปในทางที่ผิดได้ หากไม่รู้จักการใช้ social ไปในทางที่เกิดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ยาเสพติด การพนันออนไลน์ต่างๆ หรือการถูกชักจูงไปในทางที่ผิด ซึ่งผู้ปกครองก็ไม่สามารถเข้าถึงปัญหาที่จะเกิด หรือเกิดขึ้นแล้วได้
ข้อมูลจากคอลัมน์การศึกษาสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ฉบับวันที่ 4 เมษายน 2557 พบว่า เยาวชนไทยใช้อินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือสูงถึง 3.1 ชั่วโมงต่อวัน ครองแชมป์อันดับหนึ่งของเอเชีย โดยเสพติดทั้งอินเทอร์เน็ต และสังคมออนไลน์ เช่น พนันออนไลน์ ติดเว็บลามก และจากการวิจัยเยาวชนที่ติดอินเทอร์เน็ดจะมีขนาดสมองส่วนหน้าเล็ก และมีการเชื่อมโยงของเซลล์ประสาทของสมองส่วนหน้าลดลง ขาดทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น จึงต้องสร้างกิจกรรมให้เด็กๆได้ลดชั่วโมงการใช้คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ โดยการใช้กีฬาฟุตบอลเป็นเครื่องมือ เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพที่ดีของเด็ก และเพื่อเป็นการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโทษภัยของยาเสพติด เพื่อให้เด็กได้รับรู้ถึงปัญหาที่จะตามมาหากเข้าไปยุ่งเกี่ยว ทางชมรมพี่สอนน้องสุไหงโก-ลกจึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมสุขภาพของเด็กและเยาวชนด้วยกีฬาฟุตบอล

จำนวนเด็กและเยาวชนมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น

80.00 40.00
2 เพื่อให้เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องโทษของยาเสพติดและการปฏิเสธที่ถูกต้อง

เด็กและเยาวชนมีความรู้เรื่องโทษของยาเสพติดและการปฏิเสธที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น

60.00 80.00
3 เพื่อลดระยะเวลาการเล่น social ของเด็กและเยาวชน

เด็กและเยาวชนลดระยะเวลาการเล่น social ในแต่ละวัน

3.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 11/02/2023

กำหนดเสร็จ 23/04/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องโทษของยาเสพติดและการใช้ social อย่างสร้างสรรค์

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องโทษของยาเสพติดและการใช้ social อย่างสร้างสรรค์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย เด็กและเยาวชน 70 คน
รายละเอียดกิจกรรม ดังนี้
- อบรมให้ความรู้ถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด และการใช้ social อย่างสร้างสรรค์
กำหนดการอบรม ดังนี้
08.15 - 08.30 น. ลงทะเบียน
08.31 - 09.00 น. เปิดพิธีการอบรม
09.01 - 12.00 น. อบรมให้ความรู้ เรื่องโทษและพิษภัยของยาเสพติด วิทยากรบรรยายโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
12.01 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.01 - 16.00 น. การใช้ social อย่างสร้างสรรค์ วิทยากรบรรยายโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
งบประมาณดังนี้
- ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท × 6 ชม. = 3,600 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท × 70 คน = 4,200 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท × 70 คน × 2 มื้อ = 4,200 บาท
- ค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม ได้แก่ เครื่องเขียน ปากกา สมุด แฟ้ม เป็นเงิน = 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 11 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ และเข้าใจโทษของยาเสพติด รู้จักวิธีป้องกัน/ปฏิเสธอย่างถูกต้อง และมีการใช้ social อย่างสร้างสรรค์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพด้วยกีฬาฟุตบอล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพด้วยกีฬาฟุตบอล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย เด็กและเยาวชน 70 คน
รายละเอียดกิจกรรม ดังนี้
- ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้ออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพด้วยกีฬาฟุตบอล และลดชั่วโมงการใช้ social ของเด็ก มีการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ และช่วยให้ห่างไกลยาเสพติดโดยการเล่นกีฬาฟุตบอลทุกวันเสาร์ และวันอาทิตย์ วันละ 2-3 ชั่วโมง/วัน ณ สนามหญ้าเทียมหน้าโรงเรียนสุไหงโก-ลก
งบประมาณ ดังนี้
- ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ 1 แผ่น × 1,200 บาท = 1,200 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรผู้ฝึกซ้อม 300 บาท × 20 วัน × 4 คน = 24,000 บาท
- อุปกรณ์การฝึก
* มาร์คเกอร์ 1 ชุด ×1,500 บาท = 1,500 บาท
* Speed ladder (บันไดลิง) ขนาด 4 เมตร 1 ชุด × 1,500 บาท = 1,500 บาท
* Cone กรวยจราจรชนิดเจาะรู ขนาด 16 นิ้ว 380 บาท × 8 ชิ้น = 3,040 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สุขภาพแข็งแรง ลด"พฤติกรรมเฉยนิ่ง" และห่างไกล "ยาเสพติด"

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31240.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 44,240.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กและเยาวชนมีการส่งเสริมสุขภาพด้วยกีฬาฟุตบอล มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงมากขึ้น
2. เด็กและยาวชนมีความรู้เรื่องโทษของยาเสพติดและการปฏิเสธที่ถูกต้อง
3. เด็กและยาวชนลดระยะเวลาการเล่น social ลงและมีการใช้social อย่างสร้างสรรค์มากขึ้น


>