กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็ก 0-6 ปี แบบบูรณาการภาคีมีส่วนร่วม ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ2 ปี2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ2

นางกัณนิกา น้อยน้ำเที่ยง โทร.089-4686832
น.ส.มัสตูรา ดึลเลาะ
นางนอร์ฮายาตี แวหะมะ

ศสมช.ในชุมชนจำนวน 14 ชุมชนในเขตพื้นที่ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กแรกเกิดถึง 6 ปี เป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว เด็กจะจดจำเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่ได้รับในช่วงนี้ได้ดีที่สุด ดังนั้นเพื่อให้เด็กเติบโตเป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาสังคมและประเทศชาติต่อไปจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เด็กในวัยนี้จะต้องมีโภชนาการที่ดีไม่มีภาวะทุพโภชนาการ ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้
จากการดำเนินงานเฝ้าระวังติดตามโภชนาการและงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กแรกเกิดถึง 6 ปี ในชุมชนเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก เขตรับผิดชอบศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 จำนวน 14 ชุมชน (เฉพาะในเด็กที่ยังไม่เข้าโรงเรียนหรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก) พบว่าเด็กยังประสบปัญหาทุพโภชนาการเป็นจำนวนมากและอัตราความครอบคลุมการได้รับวัคซีนต่ำกว่าเกณฑ์เป้าหมาย จากการดำเนินงาน ปี 2565 พบว่าอัตราความครอบคลุมของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กแรกเกิดถึง 6 ปี ร้อยละ 98.71 เด็กมีปัญหาน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 9.93 และมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน ร้อยละ 38.07 อัตราความครอบคลุมการได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุในเด็กอายุ 0-5 ปี ร้อยละ 70.33 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด คือ เด็กต้องมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วนมากกว่า ร้อยละ 70 จากรายงานพบว่าเด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต การดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียว ไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยลงหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่บิดา มารดา และผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัว ชุมชนและมีการบูรณาการทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
จากสภาพปัญหาดังกล่าว ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 (เจริญเขต) โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็ก 0-6 ปี แบบบูรณาการภาคีมีส่วนร่วมในชุมชนเขตรับผิดชอบ 14 ชุมชน ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องกระตุ้นให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญและสร้างการมีส่วนร่วม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มอัตราความครอบคลุมของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กอายุแรกเกิด – 6 ปี มีส่วนสูงระดับดี และรูปร่างสมส่วนเพิ่มขึ้น

ร้อยละของอัตราเด็ก 0-6 ปี มีส่วนสูงระดับดี และรูปร่างสมส่วนเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 3

38.00 41.00
2 เพื่อให้อัตราเด็กแรกเกิด – 6 ปี มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ลดลง

ร้อยละของอัตราเด็กแรกเกิด – 6 ปี มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ลดลงจากเดิมร้อยละ 3

9.93 7.00
3 เพื่อเพิ่มอัตราความครอบคลุมการได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุในเด็กอายุ 0-5 ปี

ร้อยละของอัตราความครอบคลุมการได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุในเด็กอายุ 0-5 ปี

70.33 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
1. ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด–6 ปีที่มีภาวะทุพโภชนาการ 30
2. แกนนำงานอนามัยแม่และเด็ก 14 ชุมชน 28

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมแกนนำแม่และเด็กและผู้ปกครองเด็กอายุ 0-6 ปี

ชื่อกิจกรรม
อบรมแกนนำแม่และเด็กและผู้ปกครองเด็กอายุ 0-6 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย
- ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด–6 ปีที่มีภาวะทุพโภชนาการ 30 คน (ใน 14 ชุมชน)
- แกนนำงานอนามัยแม่และเด็ก 14 ชุมชน 28 คน
- คณะทำงาน 7 คน
รวม 65 คน
ขั้นตอนการดำเนินการ
- จัดอบรมแกนนำแม่และเด็กและผู้ปกครองเด็กอายุ 0-6 ปี
1. ให้ความรู้เกี่ยวกับการเฝ้าระวังและติดตามการเจริญเติบโตของเด็ก ภาวะโภชนาการและแนวทางแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการ อาหารเสริมในแต่ละวัย การดูแลสุขภาพฟันและการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคและการใช้สมุดบันทึกสุขภาพ
2. กิจกรรมกลุ่ม self help group โดยนำผู้ปกครองเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ อสม.แต่ละชุมชนที่รับผิดชอบงานโภชนาการมาพูดคุยประสบการณ์การเลี้ยงบุตรให้ความรู้เพิ่มเติมและสาธิตอาหารเสริมโดยนักโภชนาการ
กำหนดการ
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.01 - 12.00 น. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเฝ้าระวังและติดตามการเจริญเติบโตของเด็ก ภาวะโภชนาการและแนวทางแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการ อาหารเสริมในแต่ละวัย การดูแลสุขภาพฟันและการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคและการใช้สมุดบันทึกสุขภาพ โดยวิทยากร คุณนีตา ดือราแม
12.01 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.01 - 16.00 น. กิจกรรมกลุ่ม self help group โดยนำผู้ปกครองเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ อสม.แต่ละชุมชนที่รับผิดชอบงานโภชนาการมาพูดคุยประสบการณ์การเลี้ยงบุตรให้ความรู้เพิ่มเติมและสาธิตอาหารเสริมโดยนักโภชนาการ
งบประมาณรายละเอียดดังนี้
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 30 บาท x จำนวน 65 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,900 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 60 บาท จำนวน 65 คนเป็นเงิน 3,900 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 300 บาท x 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)
1. มีแกนนำแม่และเด็กทุกชุมชน ชุมชนละ 2 คน จำนวน 14 ชุมชน รวม 28 คน
ผลลัพธ์ (Outcome)
1. ความครอบคลุมของภาวะโภชนาการ/พัฒนาการและการได้รับวัคซีนของกลุ่มเป้าหมายในชุมชน มากกว่าร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8700.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ในชุมชนเพื่อติดตามโภชนาการและการฉีดวัคซีน

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ในชุมชนเพื่อติดตามโภชนาการและการฉีดวัคซีน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย เด็กอายุ 0-6 ปีใน 14 ชุมชน จำนวน 30 คน
ขั้นการดำเนินการ
1. รณรงค์ในชุมชนเพื่อติดตามโภชนาการเป็นระยะเวลา 3 เดือนพร้อมิดตามการได้รับวัคซีน
2. ติดตามเยี่ยมบ้านเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์อายุ
งบประมาณรายละเอียดดังนี้
1. ค่านมกล่องสำหรับเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ 10 บาท x 30 คน x 90 วัน เป็นเงิน 27,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)
1. อัตราความครอบคลุมของกลุ่มเป้าที่ได้รับการติดตามโภชนาการ/พัฒนาการ/การได้รับวัคซีนมากกว่าร้อยละ 80
ผลลัพธ์ (Outcome)
1. เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการต่ำกว่าร้อยละ 7
2. เด็กมีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 85
3. อัตราความครอบคลุมการได้รับวัคซีนมากว่าร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,700.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราความครอบคลุมของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก 0 – 72 เดือน ได้ตามเป้าหมายมากขึ้น
2. ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 0 – 72 เดือน ลดลง
3. เด็กอายุ0- 5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ


>