กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคุณแม่คุณภาพ ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

1. นางอัญญานี โกสิยาภรณ์ 089-7358566
2. นางสุภิชญาทองแก้ว
3. นางจันทร์จิรา อนุสามัญสกุล
4. นางกันยกุล ทักษิณาเวศน์
5. นางสาวสาวิตตรี ช่วยมาก

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละการคลอดก่อนกำหนด

 

10.00
2 ร้อยละการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนัดน้อยกว่า2500กรัม

 

7.00
3

 

0.00

ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่12 นโยบายรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงสาธารณสุขคือการแก้ปัญหาด้านส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้บรรลุซึ่งเป้าหมายหลักคือการมีสุขภาพดีของประชาชนกระทรวงจะต้องพัฒนาไปในทุกๆ ด้านที่เกี่ยวข้อง และได้กำหนดเป้าหมายให้อัตราการคลอดทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 7 อัตราการคลอดก่อนกำหนดน้อยกว่าร้อยละ 10 ตามผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2565 อัตราการคลอดก่อนกำหนดน้อยกว่าร้อยละ 13.06อัตราการคลอดทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัมร้อยละ 7.67 ยังเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ สาเหตุของทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม เกิดจากการคลอดก่อนกำหนดและการคุมกำเนิดในหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงยังมีน้อย มีผลให้เกิดภาวะเสี่ยงสูงในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป
แผนกฝากครรภ์และศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลสุไหงโก-ลกเล็งเห็นปัญหางานอนามัยแม่และเด็กที่จำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นให้หญิงมีครรภ์และสามีมีความรู้ ความเข้าใจ และการปฏิบัติตนตั้งแต่ตั้งครรภ์ การคลอดและหลังคลอดที่ปลอดภัย ทารกน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม และสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง พร้อมทั้งลดอัตราการตายของทารกลง จึงได้จัดทำโครงการคุณแม่คุณภาพขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด

อัตราการคลอดก่อนกำหนดในมารดาที่เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด

10.00 10.00
2 เพื่อให้หญิงมีครรภ์และสามี มีความรู้และสามารถปฏิบัติตัว ขณะตั้งครรภ์และคลอดได้ถูกต้อง

อัตราหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในการดูแลตนเอง มากกว่าร้อยละ 85

85.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 360
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 31/01/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คุณแม่คุณภาพ

ชื่อกิจกรรม
คุณแม่คุณภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์/หญิงหลังคลอดและสามี จำนวน 360 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. รับสมัครหญิงตั้งครรภ์และสามีที่โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
2. ส่งเสริมความรู้หญิงตั้งครรภ์และสามีโดยแบ่งการอบรมออกเป็น 3 รุ่น รุ่นละ 120 คน ระหว่างเดือน มกราคม 2566 – เดือนกันยายน 2566 โดยกำหนดจัดทุก 3 เดือน
3. จัดทำโปรแกรมการสอนและสรรหาวิทยากรที่เหมาะสม
4. มอบคู่มือการดูแลครรภ์แก่หญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการคุณแม่คุณภาพ
5. ประเมินผลโครงการในระยะสั้นในการอบรมและประเมินผลในระยะคลอด
6. แก้ไขในส่วนขาดและปรับปรุงเพิ่มเติมในการดำเนินงานต่อไป
7. ติดตามผลการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์และสามีที่เข้าร่วมโครงการจนกระทั่งคลอด
กำหนดการ
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน ณ ห้องประชุมชั้น 4 ตึกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน
09.00 - 10.30 น. บรรยายพิเศษเรื่อง “ การเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีระของหญิงตั้งครรภ์” พัฒนาการของทารกในครรภ์การคลอดด้วยหัตการพิเศษ วิทยากรแพทย์หญิงทีรนุช ลี้วงศ์ตระกูล
10.30 - 10.45 น. รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม 10.45 - 12.00 น. บรรยายพิเศษเรื่อง “นมแม่ดีที่สุด”วิทยากร : คุณอัญญานีโกสิยาภรณ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
13.00 – 14.00 น. บรรยายพิเศษเรื่อง “การวางแผนครอบครัวหลังคลอด” วิทยากร : วิทยากรอิสลาม
14.00 – 14.30 น. บรรยายพิเศษเรื่อง “คุณแม่ดีที่หนึ่ง และทัวร์ห้องคลอด” วิทยากร: คุณ ศิริรัตน์ เอี่ยมสะอาด พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
14.30 – 15.00 น. บรรยายพิเศษเรื่อง “การปฏิบัติตัวหลังคลอด” วิทยากร: คุณสุพัชริน กล่ำทิม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
15.00 – 15.10 น. รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
15.10 – 15..40 น. บรรยายพิเศษเรื่อง “การดูแลฟันในหญิงตั้งครรภ์” วิทยากร: คุณสุพรรณี เจ๊ะมุ๊
15..40 – 16.10 น. บรรยายพิเศษเรื่อง “เยี่ยมบ้านหลังคลอด” วิทยากร: คุณ ศุภลักษณ์เพชรบุรีพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
16.10 – 16.30 น. ซักถาม
งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 120 คน x 3 รุ่น เป็นเงิน 21,600 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 120 คน x 2 มื้อ x 3 รุ่น เป็นเงิน 21,600 บาท
- ค่าจัดทำคู่มือปฏิบัติตัวคุณแม่ 20 บาท x 500 เล่ม เป็นเงิน 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มกราคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์และสามีมีความรู้ในการดูแลตนเองเพื่องป้องกันภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
53200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 53,200.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราการคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดลดลง
2. หญิงตั้งครรภ์และสามีมีความรู้สามารถดูแลตนเองในระหว่างตั้งครรภ์ทำให้มารดาและทารกปลอดภัยจากการตั้งครรภ์และการคลอด


>