กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ไขภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

แผนกฝากครรภ์โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

1. นางอัญญานี โกสิยาภรณ์โทร. 089-7358566
2. นางสุภิชญา ทองแก้ว
3. นางจันทร์จิราอนุสามัญสกุล
4. นางสาวกรุณา สุขเจริญ
5. นางสาวสาวิตตรี ช่วยมาก

ห้องประชุมแผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทั้งสุขภาพของมารดา และทารกในครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจะมีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักต่ำกว่า 2500กรัม หญิงมีครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรงจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการตกเลือดในระหว

 

10.00

ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทั้งสุขภาพของมารดา และทารกในครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจะมีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักต่ำกว่า 2500กรัม หญิงมีครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรงจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการตกเลือดในระหว่างคลอดและมีโอกาสติดเชื้อใน ระยะหลังคลอดสูง จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก พบว่าสาเหตุการตายของมารดา อันดับหนึ่ง คือภาวะตกเลือดหลังคลอด และจากสถิติประจำปีงบประมาณ 2565 ของโรงพยาบาลสุไหงโก-ลกพบว่า อัตรามารดาตาย อัตราหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางในระยะใกล้คลอดเท่ากับร้อยละ 10.66 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด (เป้าหมายน้อยกว่า 10 %) เนื่องจากภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งกระทบต่อสุขภาพของมารดาและทารก ทำให้เกิดการคลอดทารกก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัมแล้ว ยังมีผลกระทบถึงพัฒนาการเด็กและสติปัญญาในการเรียนรู้ต่ำ ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมารดาและทารกในอำเภอสุไหงโก-ลก
ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กบรรลุตามเป้าหมายและเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็กอย่างต่อเนื่อง กลุ่มงานสูตินรีเวชและวางแผนครอบครัว โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง

อัตราหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางมากกว่าร้อยละ 85

70.00 85.00
2 เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์

อัตราการเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์น้อยกว่า  ร้อยละ 10

0.00 10.00
3 เพื่อลดจำนวนมารดาคลอดทากรกน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ (น้อยกว่า 2500 กรัม)

มารดาคลอดทากรกน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ (น้อยกว่า 2500 กรัม) ลดลง

0.00
4 เพื่อลดจำนวนมารดาคลอดทารกก่อนกำหนด

จำนวนมารดาคลอดทารกก่อนกำหนดลดลง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 300
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 แก้ไขภาวะโลหิตจางในหญฺิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
แก้ไขภาวะโลหิตจางในหญฺิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ 300 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- กิจกรรมให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวเพื่อแก้ไขภาวะโลหิตจาง และกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยแบ่งเป็น 6 รุ่น รุ่นละ 50 คน
กำหนดการ
13.00 – 13.30 น. ลงทะเบียน ณ แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
13.30 - 14.30 น. บรรยายพิเศษเรื่อง “ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์” วิทยากรคุณสุภิชญาทองแก้ว (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ)
14.30 - 14.45 น. รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
14.45 - 15.45 น. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์” วิทยากร : คุณ อัญญานี โกสิยาภรณ์(พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ)
15.45 – 16.00 น. ซักถามและปิดโครงการ
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 50 คน x 6 ครั้ง= 9,000 บาท
- ค่าอาหารสาธิต 2,000 บาทx 6 ครั้ง = 12,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์และสามีมีความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,000.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องและมีความปลอดภัยจากภาวะโลหิตจาง
2. อัตราการเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ให้ลดลง
3. จำนวนมารดาคลอดทากรกน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ลดลง
4. จำนวนมารดาคลอดทารกก่อนกำหนดลดลง


>