กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการขยับกาย สบายชีวี ในโรงเรียนบ้านคลองแงะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

โรงเรียนบ้านคลองแงะ

โรงเรียนบ้านคลองแงะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

75.50
2 ร้อยละของเวลาในโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)

 

75.50
3 ร้อยละเด็กนักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์

 

75.50

ตามที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการให้กระทรวงสาธารณะสุขและกระทรวงที่เกี่ยวข้องดำเนินยุทธศาสตร์แห่งชาติ "รวมพลังสร้างสุขภาพ เพื่อคนไทยแข็งแรง" โดยมีวิสัยทัศน์ที่จะให้คนไทยอยู่เย็นเป็นสุขทั้งกายใจสังคม และปัญญา จิตวิญญาณ มีสัมมาอาชีพมีรายได้ทำงาน ด้วยความสุขสามารถดำรงชีพบนพื้นฐานของความดี พอประมาณ อย่างมีเหตุผล มีครอบครัวอบอุ่นมั่นคงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพชีวิตและทรัพย์สินเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีสุขภาพแข็งแรงและอายุยาว หนึ่งในเป้าหมายของมิติทางกายคือ ให้คนไทยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ในส่วนของโรงเรียนบ้านคลองแงะ จึงได้กำหนดแนวทางการออกกำลังกายในรูปแบบการออกกำลังกายแบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมคือการเต้นบาสโลป ในทุกๆเช้า เพื่อให้นักเรียน คณะครูและบุคลากรทุกคนได้ออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพ เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงเสริมสร้างความสามัคคีสามารถป้องกัน ลดอัตราการป่วย และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสุขภาพของตนเอง เพื่อเป็นการบรรลุประสงค์ดังกล่าวจึงได้จัดโครงการขยับกายสบายชีวีโรงเรียนบ้านคลองแงะเพื่อให้นักเรียน คณะครูและบุคลากรทุกคนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ
และเพิ่มการเรียนการสอนในลักษณะ Active learning และ Active play ในโรงเรียน และสามารถออกกำลังกายด้วยการเต้นบาสโลปที่ถูกต้องและมีสุขภาพจิตที่ดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละ85.5ของเด็กอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

75.50 85.50
2 เพิ่มการเรียนการสอนในลักษณะ Active learning และ Active play ในโรงเรียนและศูฯย์เด็กเล็ก

ร้อยละ85.5ของเวลาในโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)

75.50 85.50
3 เพื่อให้เด็กนักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์

ร้อยละ80.5ของเด็กนักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์

75.50 80.50

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มเด็กวัยเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา 75

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 วางแผนการดำเนินงาน-วัดส่วนสูงและชั่งน้ำหนักก่อนทำกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
วางแผนการดำเนินงาน-วัดส่วนสูงและชั่งน้ำหนักก่อนทำกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วางแผนการดำเนินงาน-วัดส่วนสูงและชั่งน้ำหนักก่อนทำกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2565 ถึง 29 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการจัดวางแผนการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมจัดหาอุปกรณ์ในการออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดหาอุปกรณ์ในการออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดังรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้ 1.ค่าชุดเครื่องเสียงแบบพกพาจำนวน1ชุดชุดละ6,000 บาท 2.ค่าไมโครโฟนแบบไร้สายจำนวน 1 ชุด เป็นเงิน400 บาท 3.ค่าไมโครโฟนแบบมีสายจำนวน 1 ชุด เป็นเงิน200 บาท 4.ค่าถ่านไฟฉายจำนวน1แพ็คเป็นเงิน200บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กในโรงเรียนบ้านคลองแงะมีอุปกรณ์เพียงพอในการออกกำลังกาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6800.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการและรณรงค์การออกกำลังกายประกอบจังหวะ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการและรณรงค์การออกกำลังกายประกอบจังหวะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฎิบัติการและรณรงค์การออกกำลังกายประกอบจังหวะมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้
1.อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 75 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,875บาท
2.ป้ายไวนิล ขนาด 1X2 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน300 บาท
3.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
4.วัสดุอุปกรณ์และเอกสารในการเข้าอบรมจำนวน 60 ชุดชุดละ 20 บาทเป็นเงิน 1,200บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการเต้นบาสโลปและมีสุขภาพแข็งแรง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5175.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงาน และชั่งน้ำหนัก-วัดส่วนสูง หลังทำกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงาน และชั่งน้ำหนัก-วัดส่วนสูง หลังทำกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงาน และชั่งน้ำหนัก-วัดส่วนสูง หลังทำกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,975.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กนักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์
2. เด็กนักเรียน มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)


>