กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสูงวัย ใส่ใจสร้างเสริมสุขภาพ รพ.สต.คลองแงะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

ชมรมผู้สูงอายุ รพ.สต.คลองแงะ

นางประสิทธิ์ หนูทองสุข
นางนางอรุณ สังข์น้อย
นางประไพ คำพรหม
นางวรรณี เมืองศรีทอง
นางมาริสา หมัดหมาน

พื้นที่หมู่ 2 4 7 8 และ 11

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีกลุ่มหรือสังกัดชมรม

 

67.58
2 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

 

25.00

ปัจจุบันสังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการแพทย์และสาธารณสุข ทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางประชากรอัตราการเกิดและอัตราการตายลดลงพร้อมกับอายุคาดเฉลี่ยที่ยืนยาวขึ้นของคนไทย ทำให้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยในระยะเวลาอันสั้นซึ่งการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุนี้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของประชากรภาวะพึ่งพิง ซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมและสุขภาพ การรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวจำเป็นต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายในสังคมต้องมีการพัฒนาและจัดการองค์ความรู้อย่างบูรณาการลงไปสู่การดูแลผู้สูงอายุที่เสี่ยง
กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2559 – 2579) โดยมีเป้าหมายในการดูแลผู้สูงอายุ (active and health ageing) คือ ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเอง ดำรงชีวิตประจำวันได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ คือ การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในสังคม โดยมีมาตรการพัฒนาบริการสุขภาพและสังคม เน้นให้มีชมรมผู้สูงอายุทุกตำบลในรูปแบบต่าง ๆ มีศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุและโรงเรียนผู้สูงอายุและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพและสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ จากมาตรการและแนวคิดการใช้ศักยภาพของผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ จึงเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่กระทรวงสาธารณสุขคาดหวังในการแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุ
จากการคัดกรองประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ ด้วย ADL จำนวน 369 คน คิดเป็นร้อยละ 83.67 ของประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด พบว่า เป็นกลุ่มติดสังคม 344 คน ร้อยละ 93.22 กลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 25 คน ร้อยละ 6.77 (กลุ่มติดบ้าน 16 คน ร้อยละ 4.33 และกลุ่มติดเตียง 9 คน ร้อยละ 2.43)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน

ผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน มีจำนวนลดลง

25.00 24.00
2 เพื่อเพิ่มการเข้าร่วมกลุ่ม/ชมรม ของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีกลุ่มหรือสังกัดชมรม เพิ่มขึ้น

67.58 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 441
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมประจำเดือนของชมรมผู้สูงอายุ ทุกวันที่ 20 ของทุกเดือน

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 40 คน x 25 บาท x 10 เดือนเป็นเงิน 10,000 บาท

-ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ ในการจัดกิจกรรมเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11000.00

กิจกรรมที่ 2 2.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมและภาวะสุขภาพ จำนวน 1 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
2.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมและภาวะสุขภาพ จำนวน 1 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ x 50 บาท x 40 คนเป็นเงิน2,000 บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 2 มื้อ x 25 บาท x 40 คนเป็นเงิน2,000 บาท

-ประชุมคณะกรรมการบริหารชมรมผู้สูงอายุ

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 17 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 3 3.กิจกรรมประชุมใหญ่สมาชิกประจำปี และแนะนำการดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อลดการเจ็บป่วย 20/12/66

ชื่อกิจกรรม
3.กิจกรรมประชุมใหญ่สมาชิกประจำปี และแนะนำการดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อลดการเจ็บป่วย 20/12/66
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ x 25 บาท x 100 คนเป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มีนาคม 2566 ถึง 17 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงานและประเมินผลกิจกรรมที่ทำ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลการดำเนินงานและประเมินผลกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี สามารถดำรงชีวิตด้วยความสุข ตามอัตภาพ
2. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ได้รับการดูแลและได้รับความช่วยเหลือตามสภาพ


>