กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง สร้างความตะหนักรู้สู่สุขภาพดียั่งยืน ม.2 บ้านปากบารา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับหมู่บ้านปากบารา

1.นายนิรันดร์ ชุมคง

2.นายพิศาล สาออละ

3.นางฟาตีม่ะ พระจันทร์

4.นางนัชชา งะสมัน

5.นางสาวสุมัยย๊ะ กุกามา

หมู่ที่ บ้านปากบารา ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น

 

10.00
2 ประชาชนบ้านปากบารา ขาดความตระหนักในการบริโภคอาหาร ส่งผลต่อการเกิดภาวะเสี่ยงทางสุขภาพ

 

80.00

หลักการเเละเหตุผล
โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเป็นโรคติดเต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และถือว่าเป็นภัยเงียบ เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฎอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่นตา ไต หลอดเลือด ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในแต่ละปี เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนือง และยาวนานมีความใช้จ่ายด้านการรักษาที่สูงมา ในกลุ่มโรคความมดันโลหิตสูงยิ่งคัดกรองมากก็จะพบกลุ่มเสี่ยงและจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ในเรื่องของภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย ก็มีอัตราเพิ่มขึ้น ส่วนหนึงมาจากการขาดความตระหนักในการบริโภคอาหาร การรับประทานอาหารฟาสฟู้ด อาหาร หวาน มัน เค็ม มีโซเดียมสูง ประกอบกับค่านิยมการรับประทานอาหารในพื้นที่ชอบรับประทานชาชัก โรตี ในการรวมกลุ่มหรือทำกิจกรรมต่างๆ
จากการคัดกรองประจำปีงบประมาณ 2565 หมู่ 2 บ้านปากบาราพบ กลุ่มเสี่ยงโรคความดัน 114 ราย กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 46 ราย ในจำนวนว่าได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง 12 ราย และโรคเบาหวาน 2 ราย และประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านปากบาราส่วนใหญ่ยังขาดความตระหนักในการบริโภคอาหาร รับประทานอาหารที่เน้นรสชาด ความอร่อย ไม่คำนึงถึงผลเสียต่อสุขภาพอสม. ม.2 จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้น เพื่อคัดกรองกลุ่มเป้าหมายในบ้านปากบาราให้ได้มากที่สุด จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังโดยให้ทีมงาน อสม.และเครือข่ายในการดำเนินงานไปตรวจคัดกรองเบาหวาน และความดันโลหิตสูงให้ได้มาตรฐาน พร้อมทั้งรณรงค์ สร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพ มีพฤติกรรมที่ดี และได้รับการเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสามารถคัดกรองโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงค้นหากลุ่มเสี่ยงได้มากขึ้น

คัดกรองกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น

20.00
2 เพื่อสร้างความตระหนักในการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ของประชาชน ม.2 บ้านปากบารา

ของประชาชน ม.2 บ้านปากบารา มีความตระหนักในการบริโภคอาหาร ลดการบริโภค อาหาร หวาน มัน เค็ม

10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/11/2022

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองประชาชนที่ไม่ได้เข้าถึงบริการ จำนวน 150 คน

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองประชาชนที่ไม่ได้เข้าถึงบริการ จำนวน 150 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองประชาชนที่ไม่ได้เข้าถึงบริการ จำนวน 150 คน
โดยคัดกรองช่วงเช้า แบ่งเป็นเขตพื้นที่
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 150 * 35 บาท เป็นเงิน 5,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 พฤศจิกายน 2565 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนได้รับการติดตามภาวะสุขภาพเพิ่มขึ้น และส่งต่อ ได้รวดเร็วในรายที่เข้าเกณฑ์สงสัยป่วย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5250.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์การบริโภคอาหาร สร้างความตระหนักรู้ในการดูแลสุขภาพ เพื่อลดการเกิดผู้ป่วยรายใหม่

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์การบริโภคอาหาร สร้างความตระหนักรู้ในการดูแลสุขภาพ เพื่อลดการเกิดผู้ป่วยรายใหม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ช่วงบ่ายหลังการคัดกรอง โดยการ ขับรถแห่ และการติดป้ายการบริโภคอาหารที่เหมาะสม เช่น ป้ายการการบริโภคเกลือที่เหมาะสมใน 1 วัน ป้ายโรคภัยเงียบที่มากับการบริโภคที่ไม่เหมาะสม และจัดทำทะเบียนรายชื่อกลุ่มเสี่ยงประจำเขตรับผิดชอบของ อสม.แต่ละคน
เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการเฝ้าระวังติดตามต่อไป

  • ค่าป้าย รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ 8 ป้าย * 500 บาท เป็นเงิน 4,000บาท (8 เขต)

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 40 * 35 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท (อสม.,ฝ่ายปกครอง และเครือข่ายสุขภาพ)

  • ค่าจัดซื้อลำโพงเคลื่นที่พร้อมไมโครโฟน 1 เครื่องเป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 พฤศจิกายน 2565 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชน ม.2 บ้านปากบารา มีความตระหนักในการบริโภคอาหาร ลดการบริโภค อาหาร หวาน มัน เค็ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10400.00

กิจกรรมที่ 3 เยี่ยมติดตามเสริมกำลังใจในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 16 ราย

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมติดตามเสริมกำลังใจในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 16 ราย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เยี่ยมติดตามเสริมกำลังใจในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 16 ราย (รายชื่อผู้ป่วย จาก รพ.สต.ปากน้ำ ) ได้แก่ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลันผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โดยติดตามเยี่ยมเพื่อเสริมสร้างกำลังใจ สร้างความตระหนัก ในการบริโภคอาการเพื่อสุขภาพ เพื่อป้องกันการเกิดเป็นซ้ำ
โดยจัด อสม. ทีมเยี่ยมบ้าน ชุดละ 5 คน ลงเยี่ยมผู้ป่วย 4 ครั้ง

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 บาท * 5 คน * 4 ครั้งเป็นเงิน 700 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการป่วยโรคเรื้อรังได้รับการติดตามเยี่ยมเสริมกำลังใจและมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,350.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนได้รับการติดตามภาวะสุขภาพเพิ่มขึ้น และส่งต่อ ได้รวดเร็วในรายที่เข้าเกณฑ์สงสัยป่วย
2. ประชาชน ม.2 บ้านปากบารา มีความตระหนักในการบริโภคอาหาร ลดการบริโภค อาหาร หวาน มัน เค็ม


>