กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการจัดการขยะตามหลักสุขาภิบาลครัวเรือน ชุมชนตำบลน้ำขาว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาว

ตำบลน้ำขาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนของครัวเรือนต้นแบบที่นำขยะอินทรีย์ในครัวเรือนกลับไปใช้ประโยชน์

 

50.00
2 จำนวนของครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

 

30.00
3 ร้อยละของครัวเรือนที่มีความรู้ความเข้าใจอันตรายจากขยะที่ส่งผลต่อสุขภาพ

 

30.00

ขยะให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนทั้งด้านสุขภาพโดยตรงและโดยอ้อมเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทุกคนต้องร่วมมือร่วมใจกันจัดการโดยการลดคัดแยกและนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดโดยเริ่มจากระดับครัวเรือนขยายออกไปสู่ชุมชน อีกทั้งยังเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์มากที่สุด การลดปริมาณขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดการคัดแยกมูลฝอยเพื่อให้ขายได้ในราคาดีการใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอยในระดับครัวเรือนและชุมชนรวมทั้งตัวอย่างกิจกรรมลด คัดแยกและใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอยซึ่งครัวเรือนสามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง ต้องร่วมมือแก้ไขกันอย่างเต็มความสามารถ ทั้งนี้ เนื่องจากความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ตลอดจนพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคของคนเราเริ่มเปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยใช้ตะกร้าเวลาไปจ่ายตลาด ใช้ปิ่นโตใส่อาหารใช้ใบตองหรือใบบัวซึ่งเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่ายห่ออาหารแต่ปัจจุบันมีการใช้สินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์จำพวกพลาสติก โฟม แก้ว กระดาษ โลหะ อลูมิเนียม เพิ่มขึ้นเรื่อยๆทำให้เกิดมูลฝอยสูงขึ้นตามไปด้วย ผลกระทบที่จะตามมามีทั้งความสูญเสียทางด้านสุขภาพ แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์นำโรค สิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ ดินเสื่อมสภาพ ความเสียหายจากเหตุรำคาญส่งกลิ่นเหม็นรบกวน องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาวได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การลดปริมาณขยะ โดยใช้หลัก 3R เป็นต้น ซึ่งดำเนินการมาตลอดหลายปี แล้ว การให้ประชาชนสามารคัดแยกขยะในครัวเรือนการลดปริมาณขยะในหมู่บ้าน อีกหลายรูปแบบ ส่งผลให้ปัญหาขยะของหมู่บ้านลดน้อยลง
ดังนั้น เพื่อเป็นการดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยแบบครบวงจร องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาวจึงได้จัดทำ โครงการส่งเสริมการจัดการขยะชุมชนตำบลน้ำขาวเพื่อความยั่งยืนลดปัญหาสุขภาพของประชาชน ประจำปี 2566 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มจำนวนของครัวเรือนต้นแบบที่นำขยะอินทรีย์ในครัวเรือนกลับไปใช้ประโยชน์

จำนวนของครัวเรือนต้นแบบที่นำขยะอินทรีย์ในครัวเรือนกลับไปใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น

50.00 70.00
2 เพิ่มจำนวนของครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

จำนวนของครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)เพิ่มขึ้น

30.00 65.00
3 เพิ่มร้อยละของครัวเรือนที่มีความรู้ความเข้าใจอันตรายจากขยะที่ส่งผลต่อสุขภาพ

ร้อยละของครัวเรือนที่มีความรู้ความเข้าใจอันตรายจากขยะที่ส่งผลต่อสุขภาพเพิ่มขึ้น

30.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะทำงาน 15
จำนวนครัวเรือนต้นแบบการนำขยะอินทรีย์กลับมาใช้ประโย 70

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนและประชาสัมพันธ์รับสมัครครัวเรือนต้นแบบร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนและประชาสัมพันธ์รับสมัครครัวเรือนต้นแบบร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1) จัดตั้งคณะกรรมมการ/ตัวแทนของชุมชนกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

วางแผนการดำเนินงาน ได้ครัวเรือนต้นแบบที่สมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน70 คร้วเรือน ทุกหมู่บ้านมีแผนงานโครงการและข้อตกลงด้านการจัดการขยะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ รณรงค์และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อนิทรรศการต่าง ๆ และการจัดทำต้นแบบการจัดการขยะประเภทต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ รณรงค์และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อนิทรรศการต่าง ๆ และการจัดทำต้นแบบการจัดการขยะประเภทต่าง ๆ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อบรมให้ความรู้ ประเด็นการจัดการขยะในครัวเรือนประเด็นอันตรายจากขยะที่ส่งผลต่อสุขภาพประชาชนรณรงค์และประชาสัมพันธ์่กลุ่มเป้าหมายไม่น้อยกว่า 70 คนโดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้
  • อาหารว่างและเครื่องดื่ม (85 *25)2,125บาท
  • วัสดุต้นแบบจัดการขยะ(ถังขยะ/สติกเกอร์ ฯลฯ) 2,000บาท
  • สื่อนิทรรศการประชาสัมพันธ์ (ป้ายไวนิลพร้อมอุปกรณ์ ฯลฯ) 3,000 บาท
  • วัสดุเครื่องเขียนหรือวัสดุอื่นที่เกี่ยวข้อง 2,875บาท รวม10,000 บาท ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครัวเรือนมีความรู้การจัดการขยะ และสามารถคัดแยกขยะครัวเรือนได้ถูกต้อง เพื่อสุขภาพของประชาชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมเสริมพลัง แก่ครัวเรือนต้นแบบ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมเสริมพลัง แก่ครัวเรือนต้นแบบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามเยี่ยมเสริมพลัง แก่ครัวเรือนต้นแบบ มีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้ ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดครัวเรือนต้นแบบ การจัดการขยะเพื่อสุขภาพของประชาชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ชุมชนสะอาด ประชาชนสุขภาพดี ปลอดภัย และมีการจัดการขยะครบวงจรภายใต้การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านลดลง


>