กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอสม.ร่วมใจรณรงค์กวาดล้างลูกน้ำยุงลายเชิงรุกในชุมชน ด้วยมาตรการ 3 เก็บ 3 โรค ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ชมรม อสม. เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

นายวัชริศ เจ๊ะเล๊าะ โทร.081-5433221
นายกามารอเด็งมามะ
นายถาวร ชุ่มมงคล
นางจาริณีเหาะสัน
นางสุมิตราอูมา

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ในปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องทางกระทรวงสาธารณสุขได้มีการแจ้งประชาสัมพันธ์ ในหน่วยงานโรงพยาบาล สสอ. รพ.สต. อสม. และประชาชนทั่วไปให้ร่วมกันรณรงค์ป้องกันไข้เลือดออกด้วยมาตรการ 3 เก็บ 3 โรค" ได้แก่ เก็บบ้านให้ปลอดโปร่งไม่ให้ยุงลายเกาะพักเก็บขยะเศษภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายและเก็บน้ำ ปิดให้มิดชิดหรือเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกสัปดาห์ ไม่ให้ยุงลายวางไข่ ป้องกันโรคจากยุงลาย
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก พ.ศ. 2565 วันที่ 1 มกราคม - 12 ตุลาคม 2565 จากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 กองระบาดวิทยาพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก สะสม 7,720 ราย อัตราป่วย 11.61 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วยสะสมน้อยกว่าปีที่ผ่านมาและน้อยว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี ในช่วงเวลาเดียวกันร้อยละ 88 ผู้ป่วยเสียชีวิต 6 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.08 เป็นเพศชาย 5 ราย และเพศหญิง 1 ราย อยู่ในกลุ่มอายุ 5 - 14 ปี และ 65 ปีขึ้นไป ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในเด็ก คือ มีน้ำหนักเกิบหรือโรคอ้วน และในผู้สูงอายุ คือ การมีโรคประจำตัวเรื้อรัง โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไช้เลือดออกที่สำคัญ ได้แก่ ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า รวมถึงมีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณที่พักอาศัย
สำหรับในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกข้อมูลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในปี 2565 ที่ผ่านมามียอดผู้ป่วยสะสมจำนวน 5 ราย และเนื่องจากปี 2565 โรค์ไข้เลือดออกมีการระบาตค่อนข้างน้อย จึงคาดการณ์ว่าในปี 2566 จะมีการระบาดรุนแรงของโรคไข้เลือดออก เพราะโรคไข้เลือดออกจะระบาดปีเว้นปี หรือปีเว้น 2 ปี โดย อสม. มีการสำรวจลูกน้ำยุงลายและรายงานลไปยังโรงพยาบาลสุไหงโก-ลกผ่านทางศูนย์ใกล้ใจทั้ง 2 ศูนย์เป็นประจำทุกเดือน โดยข้อมูล House Index (HI) ของเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา ได้เท่ากับ 13.07% (ค่า HI เกิน 10 ในพื้นที่ใดถือว่าพื้นที่นั้นเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออก) จึงเตรียมการวางแผนการดำเนินงานป้องกันและเพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจจะมีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ชมรม อสม. เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกจึงร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์กวาดล้างลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องและเพื่อให้การดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ทุกชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกและเพื่อลดการระบาดของโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะจึงได้จัดโครงการนี้อย่างต่อเนื่องซึ่งผลการดำเนินงานการรณรงค์ที่ผ่านมาได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี เกิดความร่วมมือของทุกภาคส่วนในพื้นที่ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินงาน ชมรม อสม. เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกจึงได้จัดทำโครงการอสมร่วมใจรณรงค์กวาดล้างลูกน้ำยุงลายเชิงรุกในชุมชนด้วยมาตรการ 3 เก็บ 3 โรค ประจำปี 2566 นี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และเฝ้าระวังป้องกันระบาดของโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ

ร้อยละของชุมชนที่มีการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์และเฝ้าระวังป้องกันระบาดของโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้แกนนำชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น

แกนนำชุมชนมีความรู้เพิ่มขึ้น มากกว่าร้อยละ80

80.00

เพื่อสำรวจ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และเฝ้าระวังป้องกันระบาดของโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมแกนนำชุมชนกวาดล้างลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
อบรมแกนนำชุมชนกวาดล้างลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย อสม. 31 ชุมชน = 200 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- อบรมแกนนำเฝ้าระวังป้องกันโรคที่มียุงลายเป็นพาหะในชุมชน โดยเชิญนายมะยุรี เจะโซะ สาธารณสุขอำเภอสุไหงโก-ลก เป็นวิทยากร
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 200 คน เป็นเงิน 6,000 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร (ไม่ใช้งบประมาณ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแกนนำชุมชนกวาดล้างลูกน้ำยุงลาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ Big Cleaning Day

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ Big Cleaning Day
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย อสม. เจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชนและประชาชนทั่วไป 4 โซน โซนละ 70 คน รวม 280 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- กิจกรรมรณรงค์ Big Cleaning Day ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก โดยเจ้าหน้าที่ , อสม. และชาวชุมชนทั้ง 4 โซน โซนละ 2 ครั้งโดยจัดกิจกรรมพร้อมกันทุกโซน เป้าหมายรณรงค์ครั้งละ 280 คน (จาก 4 โซน โซนละ 70 คน) โดยร่วมกันทำกิจกรรมเชิงรุกในชุมชนและพื้นที่ทุกชุมชนและพื้นที่ที่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก
โดยมีกิจกรรม ดังนี้
- ประชาสัมพันธ์การเฝ้าระวังและสำรวจแหล่งลูกน้ำยุงลายให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคและควบคุมโรคที่มียุงลายอาศัยความร่วมมือจากโรงพยาบาล สาธารณสุขอำเภอ ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1,2 อสม. และประชาชนทั่วไปในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
- ลงพื้นที่ ที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด เพื่อเฝ้าระวังการเกิดไข้เลือดออก และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พร้อมแจกทรายอะเบทให้แก่ประชาชนในชุมชนเพื่อป้องกันและกำจัดลูกน้ำ
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 280 คน x 30 บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน 16,800 บาท
- โลชั่นทากันยุง ซองละ 5 บาท x 4,000 ซอง เป็นเงิน 20,000 บาท
- ทรายอะเบท 5 ถัง ถังละ 5,200 บาท เป็นเงิน 26,000 บาท
- ถุงมือ 20 กล่อง x 100 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
- ถุงขยะ 20 ห่อ x 50 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
- ป้ายโครงการ 1,200 บาท
- ป้ายโครงการ 4 โซน โซนละ 1,200 บาท x 4 โซน เป็นเงิน 4,800 บาท
- ลำโพงเคลื่อนที่ เป็นเงิน 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการรณรงค์ Big Cleaning Day ในทุกชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
81800.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามประเมินผลและถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผลและถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย คณะทำงาน จำนวน 30 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- กิจกรรมติดตามประเมินผลและถอดบทเรียน
- สรุปและรายงานผลการดำเนินงานในภาพรวม
งบประมาณ
- อาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คน x 30 บาท เป็นเงิน 900 บาท
- ค่าเอกสาร เป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการติดตามประเมินผลและถอดบทเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 89,000.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์และเฝ้าระวังป้องกันระบาดของโรคที่มียุงลายเป็นพาหะครอบคลุมทุกชุมชน
2. แกนนำชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น


>