กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อสม.เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก Smart รอบรู้สุขภาพผ่านสื่อดิจิทัลประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ชมรม อสม.เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. นายวัชริศ เจ๊ะเล๊าะ โทร. 081-5433221
2. นายกามารอเด็ง มามะ
3. นายถาวร ชุ่มมงคล
4. นางจาริณี เหาะสัน
5. นางสุมิตรา อูมา

ห้องประชุมราชพฤกษ์ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลกจังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ความครอบคลุมในการใช้แอปพลิเคชั่น Smart อสม. อยู่ที่ร้อยละ 86.21 (เป้าหมายร้อยละ 100)

 

86.21

ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ “สังคมดิจิทัล” ข้อมูลข่าวสารสามารถส่งต่อถึงกันได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การสื่อสาร ข้อมูลที่ถูกต้องและทันเวลาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยเฉพาะข้อมูลทางด้านสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต อีกทั้งรัฐบาลยังมีนโยบายขับเคลื่อนประเทศไทยให้เข้าสู่ประเทศไทย 4.0 มุ่งเน้นการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้รวมไปถึงการ ยกระดับคุณภาพการให้บริการสาธารณสุข รวมสู่สุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดีขึ้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนงานสุขภาพภาคประชาชน และยังเป็นบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชน กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพซึ่งมีภารกิจหลักใน การส่งเสริมบทบาทและพัฒนา อสม. โดยเฉพาะการส่งเสริม สนับสนุนให้ อสม. มีความรอบรู้และเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง ด้านสุขภาพจึงได้มีแนวคิดในการส่งเสริมให้ อสม. เป็น อสม. 4.0 โดยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการทำงาน ผลการดำเนินงานของ ชมรม อสม.เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ในการขับเคลื่อน การใช้ แอปพลิเคชั่น Smart อสม. พบว่า ความครอบคลุมในการใช้แอปพลิเคชั่น Smart อสม. อยู่ที่ร้อยละ 86.21 (เป้าหมายร้อยละ 100)เนื่องจากอสม.บางคนใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนไม่คล่องแคล่ว ใช้แอปพลิเคชั่นไม่เป็นเท่าที่ควรทำให้การความครอบคลุมในการใช้แอปพลิเคชั่น Smart อสม. ไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้
ดังนั้น ชมรม อสม.เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก เห็นความสำคัญของการปัญหา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้การพัฒนาช่องทางการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันเวลา และมีประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพของตนเองและประชาชน เพื่อนำไปสู่ชุมชนพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพผ่าน อสม.

ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพผ่าน อสม.มากกว่าร้อยละ 80

60.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ อสม. ในพื้นที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) ผ่านระบบการสื่อสารดิจิทัล

อัตรา อสม. มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) ผ่านระบบการสื่อสารดิจิทัล ร้อยละ 80

40.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/01/2023

กำหนดเสร็จ 28/02/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ สมาร์ท อสม.

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ สมาร์ท อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย อสม. จำนวน201 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- อบรมเชิงปฏิบัติการ Application สมาร์ท อสม. แก่อสม. โดยแบ่งเป็น 2 รุ่น รุ่นที่ 1 จำนวน 100 คนรุ่นที่ 2 จำนวน101 คน อบรมรุ่นละ 2 วัน
กำหนดการ
วันที่ 1
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.01 - 12.00 น. อบรมเชิงปฏิบัติการ Application สมาร์ท อสม. วิทยากรโดยเจ้าหน้าที่จาก สสจ.นราธิวาส
12.01 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.01 - 16.00 น. อบรมหัวข้อ"ทำอย่างไรให้เป็น อสม. ที่มีศักยภาพ สามารถช่วยลดภาระโรงพยาบาลได้ ช่วยเหลือประชาชน ให้เจ็บป่วยน้อยลงได้" วิทยากรโดยเจ้าหน้าที่จาก สสจ.นราธิวาส
16.01 - 16.30 น. ซักถาม/ถามตอบปัญหา
วันที่ 2
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.01 - 12.00 น. อบรมเชิงปฏิบัติการ วิธีการใช้งาน Application สมาร์ท อสม. วิทยากรโดยเจ้าหน้าที่จาก สสจ.นราธิวาส
12.01 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.01 - 16.00 น. อบรมเชิงปฏิบัติการ วิธีการใช้งาน Application สมาร์ท อสม. วิทยากรโดยเจ้าหน้าที่จาก สสจ.นราธิวาส
16.01 - 16.30 น. ซักถาม/ถามตอบปัญหา
งบประมาณ
รุ่นที่ 1
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม30 บาท x 100 คน x 2 มื้อ x 2 วันรวมเป็นเงิน12,000บาท - ค่าอาหารกลางวัน60 บาท x 100 คน x 1 มื้อ x 2 วันรวมเป็นเงิน12,000บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย600 บาท x 6 ชั่วโมง รวมเป็นเงิน3,600บาท (อบรมวันที่ 1)
- ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม300 บาท x 6 กลุ่ม x 6 ชั่วโมง รวมเป็นเงิน10,800บาท (อบรมวันที่ 2)
รวมเป็นเงิน38,400 บาท
รุ่นที่ 2
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม30 บาท x 101 คน x 2 มื้อ x 2 วันรวมเป็นเงิน12,120บาท
- ค่าอาหารกลางวัน60 บาท x 101 คน x 1 มื้อ x 2 วันรวมเป็นเงิน12,120บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย600 บาท x 6 ชั่วโมง รวมเป็นเงิน3,600บาท (อบรมวันที่ 1)
- ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม300 บาท x 6 กลุ่ม x 6 ชั่วโมง รวมเป็นเงิน10,800บาท (อบรมวันที่ 2)
รวมเป็นเงิน38,640บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มกราคม 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม. ใช้ แอปพลิเคชั่น  “สมาร์ท อสม.” ได้ทุกคนและถูกต้อง
อสม. ทำงานได้รวดเร็ว ประชาชนสามารถเข้าถึงข่าวสารสุขภาพและการดูแลสุขภาพได้อย่างรวดเร็ว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
77040.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 77,040.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพผ่าน อสม.
2. อสม. มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) ผ่านระบบการสื่อสารดิจิทัล


>