กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ (วันผู้สูงอายุ) ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

1. นางชนากานต์ คุณสุวรรณ์ โทร. 089-7328321
2. นางกมลวรรณ บุญชูช่วย
3. นางอารีรัตน์ จันทร์อุ่ย
4. นางกัญญา ทาแกง
5. นายประสพ คุณสุวรรณ์

โรงพยาบาลสุไหงโกลก เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” โดยมีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนประชากรทั้งหมดภาวะสูงอายุเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และจิตใจซึ่งอาจเกิดความอ่อนแอลง ตลอดจนมีความเจ็บป่วยหรือความพิการร่วมด้วยดังนั้นการรักษาสุขภาพเพื่อให้สมบูรณ์ จึงจำเป็นมากสำหรับผู้สูงอายุนอกจากนี้ยังต้องให้ความสำคัญในการดูแลทางด้านสุขภาพจิตควบคู่กันไปด้วยจากการศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพทางจิตของผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุที่มีสุขภาพจิตใจดีเป็นผู้ที่มีอารมณ์แจ่มใสมองโลกในแง่ดีเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความสงบร่มเย็นแก่ครอบครัวชุมชนและสังคมการที่ผู้สูงอายุจะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขนั้นต้องรักษาระดับกิจกรรมทางสังคมของตนไว้ให้มากซึ่งกิจกรรมที่ทำจะช่วยทำให้หายเหงาเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายอารมณ์สังคมและจิตใจและปรับเปลี่ยนบทบาทของตนในสังคมสามารถดำรงตนได้อย่างมีความสุขตามอัตภาพรู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่ามีประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนของตนพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่นการทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำ และการตัดสินใจในระดับต่างๆทำให้ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในชีวิตของตน ตามมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้วันที่ 13 เมษายนของทุกปีเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติวันที่ 14 เมษายนของทุกปีเป็นวันครอบครัว และกำหนดให้มีการจัดกิจกรรมที่มีความสอดคล้องกับภารกิจ ของหน่วยงานการจัดงาน วันผู้สูงอายุจึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สร้างความตระหนักในคุณค่าของผู้สูงอายุ และเกิดการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันในด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ
ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก มีจำนวนประชากรทุกช่วงอายุทั้งหมด 40,159 คน มีจำนวนผู้สูงอายุทั้งสิ้น (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) จำนวน 6,375 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 15.9 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก (ข้อมูลจำนวนประชากรเดือนกุมภาพันธ์ 2566) ซึ่งจากข้อมูลจะเห็นว่าเป็นสังคมผู้สูงอายุแล้ว และทางชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก เป็นชมรมที่มีการดำเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งชมรมได้ตระหนักในเรื่องของการส่งเสริมการมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและการป้องกันตนเองจากโรคเรื้อรังต่างๆในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและการป้องกันตนเองจากโรคเรื้อรังต่างๆมากขึ้น

50.00 70.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างความเหมาะสม

ร้อยละของผู้สูงอายุมีการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างความเหมาะสมร้อยละ 80

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 300
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 31/05/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ(วันผู้สูงอายุ)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ(วันผู้สูงอายุ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงอายุ 300 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. บรรยายให้ความรู้เรื่อง การดูแลสุขภาพผู้สูงวัยกับโรคเรื้อรัง โดยพยาบาลวิชาชีพ
2. ตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น สมาชิกชมรมผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วม
3. มอบรางวัลแก่ผู้สูงอายุสุขภาพดี
4. การแสดงความสามารถการออกกำลังกายของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ
5. พิธีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ
กำหนดการ ดังนี้
08.30 - 09.00 น. ผู้สูงอายุลงทะเบียน และตรวจคัดกรองสุขภาพสมาชิกชมรมผู้สูงอายุเบื้องต้น โดยทีมพยาบาล ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ ทันตกรรม สุขภาพจิต
09.01 - 09.30 น. พิธีเปิดโดย นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโกลก กล่าวรายงานโดยประธานชมรมผู้สูงอายุ
09.31 - 10.00 น. บรรยายพิเศษ การดูแลสุขภาพกับผู้สูงวัยโดย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
10.01 - 12.00 น. กิจกรรมการแสดงความสามารถของผู้สูงอายุ และพิธีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ
12.01 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.01 - 15.00 น. บรรยายวิชาการเรื่อง การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อให้ปลอดภัยจากโรคโควิด-19 โดย นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก (วิทยากรบรรยาย)
15.01 - 16.00 น. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ปิดโครงการ
งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวันจำนวน 300 คน X 60 บาท เป็นเงิน 18,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 300 คน X 30 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 18,000 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร(บรรยาย) 1 คน x 600 บาท x 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าดอกไม้ (สำหรับจัดพิธีรดน้ำดำหัว) เป็นเงิน 4,000 บาท
- ค่าตอบแทนดนตรีไทย เป็นเงิน 3,500 บาท
- ค่าตกแต่งสถานที่ เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 เมษายน 2566 ถึง 7 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น ได้รับรู้ภาวะสุขภาพของตนเอง มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและการป้องกันตนเองจากโรคเรื้อรังต่างๆ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
46200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,200.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและการป้องกันตนเองจากโรคเรื้อรังต่างๆ
2. ผู้สูงอายุมีการการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างความเหมาะสม


>