กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองและส่งเสริมสุขภาพชาวชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก (บาดันเซฮัต) ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ชมรม อสม.เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

นายวัชริศ เจ๊ะเลาะ ประธานอสม. โทร. 081-5433221
นายกามารอเด็ง มามะ
นายถาวร ชุ่มมงคล
นางจารินี เหาะสัน
นางสาวสุมิตรา อูมา

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาสาธารณสุขของประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่กำลังเผชิญอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยงภายใต้กระแสของสังคมบริโภคนิยม คือ การเกิดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรัง ได้แก่ กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน กลุ่มโรคนี้เป็นภัยเงียบ หรือฆาตรกรเงียบ ซึ่งอุบัติขึ้นคุกคามและส่งผลกระทบต่อทุกประเทศทั่วโลก องค์การอนามัยโลกได้รายงานว่า ในปี พ.ศ. 2548 มีผู้เสียชีวิตจากโรคจากวิถีชีวิต 35 ล้านคน หรือร้อยละ 60 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด 58 ล้านคนทั่วโลก ผลกระทบที่เกิดขึ้น ด้านสังคมและเศรษฐกิจ ทั้งต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ ผู้ที่เป็นโรคกลุ่มนี้อาจตายก่อนวัยอันควร หรือ เกิดความพิการ ทำให้เป็นภาระ และสูญเสียคำใช้จ่ายในการดูแลรักษาไปตลอดชีวิต โดยโครงการคัดกรองและส่งเสริมสุขภาพชาวชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก เป็นโครงการที่ชมรม อสม. จัดทำขึ้นทุกปี และ จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 2559 ซึ่งได้ดำเนินกิจกรรมคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นของคนในชุมชน ผลตอบรับจากชาวชุมชนค่อนข้างดี มีผู้มารับบริการเพิ่มขึ้น และมีผู้รับบริการรายใหม่เพิ่มจำนวนขึ้นทุกเตือน ส่วนผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ติดบ้านก็ได้รับการเยี่ยมบ้าน โดยสมาชิก อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 มีการจัดโครงการนี้ใน 28 ชุมชน ผลการดำเนินโครงการมีกิจกรรมการคัดกรองทั้งหมด 3 ครั้ง พบว่า ครั้งที่ 1 มีจำนวนผู้ถูกคัดกรองทั้งสิ้น 945 คน พบผลระดับความดันโลหิตสูง 417 คน (44%) ผลระดับน้ำตาลในเลือดสูง 293 คน (31%) ครั้งที่ 2 มีจำนวนผู้ถูกคัดกรองทั้งสิ้น 985 คน พบผลระดับความดันโลหิตสูง 373 คน (38%) ผลระดับน้ำตาลในเลือดสูง 285 คน (29%) ครั้งที่ 3 มีจำนวนผู้ถูกคัดกรองทั้งสิ้น 924 คน พบผลระดับความดันโลหิตสูง 359 คน (39%) ผลระดับน้ำตาลในเลือดสูง 329 คน (36%) ซึ่งผู้ที่มีค่าความดันโลหิตสูงหรือระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะถูกส่งต่อเพื่อรับการรักษาต่อไป ดังนั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของโครงการ ชาวชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างต่อเนื่องและประชาชนกลุ่มป่วย ไม่มีภาวะแทรกช้อนจากโรคเรื้อรัง ชมรม อสม. เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จึงได้จัดให้มีการดำเนินโครงการคัดกรองและส่งเสริมสุขภาพซาวชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก(บาดันเซฮัด)ประจำปี 2566 นี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้แกนนำชุมชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคเรื้อรัง

แกนนำชุมชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคเรื้อรัง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

50.00 70.00
2 เพื่อคัดกรองและค้นหาผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในชุมชนและส่งต่อเพื่อรักษาตามกระบวนการ

ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในชุมชนได้รับการคัดกรองและส่งต่อเพื่อรักษาตามกระบวนการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2002

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมสร้างแกนนำในการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและการดูแลสุขภาพทั่วไป

ชื่อกิจกรรม
อบรมสร้างแกนนำในการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและการดูแลสุขภาพทั่วไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย แกนนำชุมชนผู้ปฎิบัติงานคัดกรองในแต่ละชุมชน 4 โซน โซนละ 50 คน รวม 200 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น และการให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพทั่วไป
กำหนดการ
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.01 - 12.00 น. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นแก่ประชาชนในชุมชน และการให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพทั่วไปแก่ประชาชนในชุมชน
งบประมาณ
- อาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 200 คน เป็นเงิน 6,000 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 3 ชม. เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำชุมชนผู้ปฎิบัติงานคัดกรองในแต่ละชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นแก่ประชาชนในชุมชน และสามารถให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพทั่วไปแก่ประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7800.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองและส่งเสริมสุขภาพชาวชุมชน (บาดันเซฮัต)

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองและส่งเสริมสุขภาพชาวชุมชน (บาดันเซฮัต)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนในชุมชน อายุ 35 ปีขึ้นไป ใน 31 ชุมชน รวมทั้งหมด 975 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ประชุมคณะกรรมการ อสม. คณะกรรมการชุมชน เพื่อวางแผนรูปแบบการจัดกิจกรรมร่วมกัน
2. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1,2
3. จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในโครงการ
4. จัดกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ โดยมีกิจกรรมคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นเชิงรุกในชุมชน จำนวน 1 ครั้ง (3 เดือน / ครั้ง) ได้แก่ การคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว และคำนวนดัชนีมวลกาย เป็นต้น

งบประมาณ
- ชุดตรวจน้ำตาลในเลือดพร้อมเข็ม กล่องละ 500 บาท จำนวน 34 กล่อง เป็นเงิน 17,000 บาท
- ถุงมือ ขนาดเบอร์ M จำนวน 10 กล่อง ราคา 220 บาท เป็นเงิน 2,200 บาท
- สำลีปั้นก้อนแห้ง(40 กรัม) จำนวน 16 ถุงx ถุงละ 35 บาท เป็นเงิน 560 บาท
- สำลีชุบแอลกอฮอล์แบบแผง จำนวน 4 กล่อง (8 ก้อน/แผง, 40 แผง/กล่อง) x กล่องละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
- เครื่องวัดความดัน 31 เครื่อง เครื่องละ 3,500 บาท เป็นเงิน 108,500 บาท
- ค่าเอกสาร แฟ้ม กระดาษ ปากกา 100 บาทจำนวน 31 ชุมชน เป็นเงิน 3,100 บาท
รวมเป็นเงิน 133,760 บาท
- งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน 31 ชุมชน รวมเป็นเงิน 29,250 บาท แยกเป็นชุมชน ดังนี้
1. ชุมชนกูโบร์
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 30 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 900 บาท
2. ชุมชนโต๊ะลือเบ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 30 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 900 บาท
3. ชุมชนตันหยงมะลิ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 30 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 900 บาท
4. ชุมชนโก-ลกวิลเลจ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 25 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 750 บาท
5. ชุมชนบือเร็ง
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 35 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,050 บาท
6. ชุมชนกือดาบารู
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 30 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 900 บาท
7. ชุมชนกือบงกาแม
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 30 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 900 บาท
8. ชุมชนหัวสะพาน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 35 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,050 บาท
9. ชุมชนเสาสัญญาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 30 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 900 บาท
10. ชุมชนดงงูเห่า
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 30 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 900 บาท
11. ชุมชนสวนมะพร้าว
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 30 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 900 บาท
12. ชุมชนมัสยิดกลาง
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 30 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 900 บาท
13. ชุมชนจือแรตูลี
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 40 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,200 บาท
14. ชุมชนสันติสุข
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 60 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,800 บาท
15. ชุมชนบาโงปริเม็ง
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 30 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 900 บาท
16. ชุมชนบาโงเปาะเล็ง
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 25 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 750 บาท
17. ชุมชนโปฮงยามู
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 40 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,200 บาท
18. ชุมชนอริศรา
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 30 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 900 บาท
19. ชุมชนเจริญสุข
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 40 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,200 บาท
20. ชุมชนหัวกุญแจ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 30 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 900 บาท
21. ชุมชนท่ากอไผ่
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 25 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 750 บาท
22. ชุมชนท่าประปา
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 25 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 750 บาท
23. ชุมชนท่าโรงเลื่อย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 30 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 900 บาท
24. ชุมชนหลังล้อแม็กซ์
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 30 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 900 บาท
25. ชุมชนศรีอามาน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 40 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,200 บาท
26. ชุมชนทรายทอง
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 30 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 900 บาท
27. ชุมชนบือเร็งใน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 30 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 900 บาท
28. ชุมชนซรีจาฮายา
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 30 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 900 บาท
29. ชุมชนเจริญทรัพย์
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 25 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 750 บาท
30. ชุมชนเจริญเขต
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 30 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 900 บาท
31. ชุมชนหลังด่าน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 20 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการคัดกรองเบื้องต้นในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในชุมชนทุกชุมชน และมีการส่งต่อไปยังสถานพยาบาลเพื่อรับการตรวจโดยแพทย์ต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
163010.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 170,810.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำชุมชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคเรื้อรัง
2. ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในชุมชนได้รับการคัดกรองและส่งต่อเพื่อรักษาตามกระบวนการ


>