กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน รหัส กปท. L5307

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการสร้างเสริมภาวะโภชนาการ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านกาลูบี ปีการศึกษา 2565
2.
ชื่อ
check_box
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงเรียนบ้านกาลูบี
กลุ่มคน
1.นางโนร์ลัยลา โต๊ะประดู่ ตำแหน่ง อำนวยการโรงเรียนบ้านกาลูบี
2.นายรติสรณ์ ติ่งสง่า ตำแหน่ง ครู คศ 1
3.นายสุรเชษฐ์ เต๊ะปูยู ตำแหน่ง วิทยากรอิสลาม
4.นางสาววรรณา ปิยะตู ตำแหน่ง ครู คศ.3 ชำนาญการพิเศษ
5.นางฮานา วิเศษศาสน์ ตำแหน่ง ครู คศ.2
3.
หลักการและเหตุผล

อาหาร ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 คือ ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ทั้งนี้ไม่รวมยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ยาเสพติดให้โทษ เมื่อรับเข้าสู่ร่างกาย (ไม่ว่าจะเป็นการดื่ม การกิน หรือการฉีด ฯลฯ) แล้วเกิดประโยชน์แก่ร่างกาย โดยให้ สารอาหาร อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง สารอาหาร คือ สารเคมีที่ประกอบอยู่ในอาหาร ประโยชน์ของอาหารที่เราบริโภคขึ้นอยู่กับชนิดและจำนวนของสารอาหารที่เป็นส่วนประกอบของอาหารนั้น สารอาหารที่ร่างกายต้องการแบ่งออกเป็น 6 พวกใหญ่ๆ คือ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เกลือแร่ วิตามิน และน้ำ สารอาหารแต่ละพวกทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ 1. ให้พลังงานและความร้อน ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำงานของอวัยวะภายในและ นอกร่างกาย 2. ช่วยบำรุงเลี้ยงหรือช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต (ในเด็ก) และช่วยซ่อมแซมร่างกาย (ในผู้ใหญ่) 3. ช่วยควบคุมปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ ในร่างกาย และการทำงานของอวัยวะทุกส่วน 4. ช่วยในการป้องกันและต้านทานโรค หรือช่วยให้ร่างกายแข็งแรง
การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญต่อร่างกายของคนเรา เป็นต้นว่าเนื้อ นม ไข่ ถั่ว (โปรตีน) เป็นหมู่ที่ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตจึงเหมาะสำหรับเด็ก ถ้าเด็กขาดหมู่นี้มักจะตัวเล็กและแคระเกร็น ในกรณีเนื้อราคาแพงก็สามารถใช้ถั่วและไข่ทดแทนได้หรือกรณีกินเจหรือมังสวิรัติ และการรับประทานอาหารให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ จะต้องควรรับประทานให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้ได้ทั้งปริมาณทั้งคุณภาพ ปราศจากสารพิษปนเปื้อน และสุขภาพจิตที่ดีอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์ ไข่ไก่และไข่เป็ดเป็นอาหารที่มีการบริโภคอย่างกว้างขวางตลอดปี เพราะหาซื้อง่าย ราคาไม่สูงมาก ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย มีรสอร่อยถึงแม้ผู้ที่ปรุงอาหารไม่เป็นก็ยังสามารถปรุงอาหารจากไข่รับประทาน ได้ ประการที่ส าคัญ ไข่เป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยให้สารอาหารที่จำเป็นหลายอย่างจนถึงกับว่าไข่เป็นอาหารบำรุงร่างกายทีเดียว (ลูกไก่ และลูกเป็ด ขณะเจริญเติบโตอยู่ในไข่ก็ใช้สารอาหารในไข่เจริญเติบโตขึ้นเป็นชีวิตใหม่) ไข่ไก่ 1 ฟอง น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 50 กรัม ให้พลังงาน 80 กิโลแคลอรี โปรตีน 7 กรัม ซึ่ง FAO ได้จัดว่าเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพดีที่สุด มีค่า Biological Value เป็น 100 ซึ่งหมายความว่าเป็นโปรตีนที่สมบูรณ์ มีประสิทธิภาพในการดูดซึมสูงกว่าโปรตีนชนิดอื่น มีไขมัน 6 กรัม และยังให้วิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญมีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ วิตามินบี1, บี2, บี3, บี6 และ บี12 ธาตุเหล็ก lecithin เป็นต้น คุณค่าทางโภชนาการของไข่ไก่และไข่เป็ด จะใกล้เคียงกัน (พูนศรี เลิศลักขณวงศ์ : 4 พฤษภาคม 2548)
โปรตีน เป็นหนึ่งในสารอาหารที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับ เพราะมีส่วนช่วยในการทำงานของสมอง เสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย ซ่อมแซมและฟื้นฟูส่วนที่สึกหรอ อีกทั้งยังเหมาะสำหรับการรับประทานเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อในกลุ่มผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยโปรตีนนั้นสามารถพบได้มากในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ เมล็ดธัญพืช ถั่วเหลืองและถั่วทุนิด แม้กระทั่งในจุลินทรีย์บางชนิด ตลอดจนยีสต์สาหร่ายก็เป็นแหล่งของโปรตีนที่ดีได้ด้วยเช่นกัน การรับประทานโปรตีนที่เหมาะสม ควรเลือกปริมาณที่พอเหมาะกับร่างกาย และเลือกส่วนที่มีไขมันน้อยเพื่อไม่ให้เกิดการสะสมของไขมันที่มากเกินไป หากร่างกายได้รับโปรตีนชนิดไม่ดีที่มีไขมันสูงมาก อย่างเช่นหนังไก่ หรือไขมันจากเนื้อสัตว์ก็จะทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มระดับสูงขึ้นได้ กลายเป็นสาเหตุของโรคร้ายต่างๆ ทั้งนี้ไข่ไก่ ถือเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีที่สุด และหารับประทานได้ง่ายมากที่สุด โดยเลซิตินในไข่ไก่มีประโยชน์ต่อสมองเป็นอย่างมากดังนั้น จึงควรรับประทานไข่ไก่อย่างน้อยวันละ 1 ฟอง สำหรับเด็กและหญิงมีครรภ์ควรรับประทานอย่างน้อยวันละ 1-2 ฟอง เพื่อให้ร่างกายได้รับโปรตีนและสารอาหารจากไข่ไก่ในปริมาณที่เพียงพอต่อวัน
ทางโรงเรียนบ้านกาลูบีได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสุขภาพนักเรียน โดยได้คัดเลือกนักเรียนที่มีนำหนักและส่วนสูงที่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด จำนวน 40 คน จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 213 คน จากการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงในปีการศึกศึกษา 2565 มาเพิ่มโภชนาการทางด้านโปรตีนให้กับนักเรียนกลุ่มนี้ โดยการให้นักเรียนรับประทานไข่ไก่วันละ 1 ฟองพร้อมกับดื่มนม ตอนเช้าหลังเข้าแถวหน้าเสาธงเป็นระยะเวลา 100 วัน เพื่อเพิ่มคุณค่าทางสารอาหารให้แก่นักเรียนกลุ่มนี้ ตลอดจนการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรง น้ำหนักและส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขกำหนด

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อเสริมสร้างสุขภาพให้กับนักเรียนกลุ่มที่มีน้ำหนักและส่วนสูงที่ตำกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
    ตัวชี้วัด : ร้อยล่ะ 90 ของนักเรียนที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพ มีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 80.00
  • 2. เพิ่มเสริมสร้างให้นักเรียนกลุ่มนี้มีได้รับสารอาหารที่ถูกต้องและครบถ้วน
    ตัวชี้วัด : ร้อยล่ะ 90 ของนักเรียน ได้รับสารอาอาหารที่ถูกต้องและครบถ้วน
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 80.00
  • 3. เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของนักเรียน
    ตัวชี้วัด : ร้อยล่ะ 90 ของผู้ปกครองได้รับความรู้ความเข้าใจจากการเข้าร่วมกิจกรรม
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 80.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. อบรมเรื่องภาวะทางด้านโภชนาการ
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม
    1.จัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนและผู้ปกครองในเรื่องของภาวะทางด้านโภชนาการ โดยวิทยากรจากกระทรวงสาธารณสุข (เวลา 09.00 - 12.00 น.)
    2.ช่างน้ำหนัก วัดส่วนสูง ทำบันทึกข้อตกลงและทำความเข้าใจกับผู้ปกครองในการดูแลการรับประทานอาหารของนักเรียนขณะอยู่ที่บ้าน
    3.จัดประชุมผู้ปกครอง (หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมที่ 2) ช่างน้ำหนัก วัดส่วนสูง(เวลา 09.00 - 11.30 น.)
    รายละเอียดงบประมาณ
    1. ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมง ชั่วโมงล่ะ 600.- บาท รวมเป็นเงิน 1,800.- บาท
    2. ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด กว้าง 2 เมตร * ยาว 3 เมตร = 6 ตารางเมตรตารางเมตรละ 150.- บาท รวมเป็นเงิน 900.- บาท
    3. ป้ายนิเทศให้ความรู้รณรงค์และป้องกัน เรื่องสุขภาวะทางด้านโภชนาการ ขนาด กว้าง 2 เมตร * ยาว 3 ตารางเมตรละ 150.- บาท รวมเป็นเงิน 900.- บาท
    4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 80 คน (นักเรียน 40 คน ผู้ปกครอง 40 คน) มื้อละ 25.- บาท รวมเป็นเงิน 4,000.- บาท
    5. ค่าจัดทำสื่อ (แผ่นพับโดยใช้กระดาษมัน) ความรู้เรื่องสุขภาวะทางด้านโภชนาการ จำนวน 100 ใบ ราคาใบละ 15.- บาท รวมเป็นเงิน 1,500.- บาท

    กำหนดการ การอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนและผู้ปกครองเรื่องภาวะทางด้านโภชนาการ

    เวลากิจกรรม

    08.00 - 08.30 น. - ลงทะเบียน

    08.30 - 09.00 น. - พิธีเปิด กิจกรรมการอบรมโดยผู้อำนวยการโรงเรียน

    09.00 - 12.00 น. - กิจกรรมการอบรมเรื่องภาวะทางด้านโภชนาการ

    12.00 น.- พิธีปิด กิจกรรมการอบรมโดยผู้อำนวยการโรงเรียน

    ** หมายเหตุ : เวลา 10.30 - 10.40 น. - พักรับประทานอาหารว่าง

    งบประมาณ 9,100.00 บาท
  • 2. ทานไข่เสริม เพิ่มโปรตีน
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม
    1. นักเรียนจำนวน 40 คน รับประทานไข่ไก่ต้มในตอนเช้าหลังเข้าแถวพร้อมกับดื่มนม คนล่ะ 1 ฟอง/ต่อ 1 วัน รวมระยะเวลาทั้งหมด 100 วัน
    รายละเอียดงบประมาณ
    1. ค่าไข่ไก่ฟองล่ะ 4.0 บาท วันล่ะ 40 ฟอง ระยะเวลา 100 วัน รวมเป็นเงินทั้งหมด 16,000 บาท

    งบประมาณ 16,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 2 มกราคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566

8.
สถานที่ดำเนินการ

โรงเรียนบ้านกาลูบี

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 25,100.00 บาท

หมายเหตุ : ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกัน

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. นักเรียนมีภาวะทางด้านโภชนาการ น้ำหนัก-ส่วนสูง ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข
  2. นักเรียนได้รับสารอาหารที่ถูกต้องครบถ้วน
  3. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของภาวะโภชนาการได้อย่างถูกต้อง
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน รหัส กปท. L5307

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน รหัส กปท. L5307

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 25,100.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................