กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างมีคุณภาพ ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

กลุ่มปฐมภูมิโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

1. นางเพ็ญนภา มะหะหมัดพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โทร. 083-1925119
2. นางณฐิยาธนากิจจานนท์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โทร. 093-6383663
3. นางกัณนิกาน้อยน้ำเที่ยง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โทร. 089-4686832

ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1, ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 และคลินิกผู้สูงอายุในโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยสมบูรณ์ทำให้ พบภาวะผิดปกติด้านสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มอาการจำเพาะ ในผู้สูงอายุ (Geriatric syndromes) มากขึ้น ซึ่งเกิดจากภาวะถดถอยของการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และความเสื่อมจากความชราที่เพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงทั้งด้านโครงสร้างของประชากร ด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ย่อมมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ การทำให้ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตัวเองได้นานที่สุดจึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่ง ปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วยสูงอายุ มีความสลับซ้ำซ้อนมากขึ้น จึงจำเป็นที่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจะต้องทราบและเข้าใจถึงผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ และต้องอาศัยการดูแลแบบทีมสหวิชาชีพ ที่เป็นการร่วมมือประสานเสริมกันในหลายสาขา เพื่อดูแลผู้ป่วยสูงอายุพร้อมๆกัน ซึ่งเป็นหัวใจ สำคัญของระบบบริการสุขภาพ เพื่อให้เกิดการบริการที่รวดเร็ว ทันเวลา มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลในการดูแล ตลอดจนประสานความเข้าใจกับผู้ดูแล ญาติ และครอบครัวจึงต้องมีการพัฒนาคลินิกผู้สูงอายุให้มีคุณภาพ ด้านนโยบายกระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายให้หน่วยบริการปฐมภูมิทุกแห่ง มีการพัฒนาและมีการจัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุเป็นการเฉพาะ ซึ่งเป็นการให้บริการสุขภาพ ผู้สูงอายุแบบองค์รวม ทั้งทางด้านสุขภาพกาย จิตใจ สังคม และตามสภาพความจำเป็น การพัฒนาคลินิกผู้สูงอายุในเขต ตำบลสุไหงโก-ลก ทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1, ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 และคลินิกผู้สูงอายุในโรงพยาบาลสุไหงโก-ลกได้มีการพัฒนาและผ่านเกณฑ์ระดับพื้นฐาน จากการวิเคราะห์สถานการณ์พบว่า คลินิกผู้สูงอายุ ทั้ง 3 แห่ง จำเป็นต้องมีการพัฒนาคลินิกผู้สูงอายุให้ผ่านระดับคุณภาพ อีกทั้งพบว่าคลินิกผู้สูงอายุ ทั้ง 3 แห่ง ยังไม่มีอุปกรณ์และชุดคู่มือการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ กันล้ม ก้นลืม ไม่ซึมเศร้า ใช้ในผู้สูงอายุที่มารับบริการในคลินิกผู้สูงอายุ เพื่อดูแลผู้สูงอายุในคลินิกผู้สูงอายุให้มีคุณภาพ ทางกลุ่มปฐมภูมิโรงพยาบาลสุไหงโก-ลกจึงได้จัดทำ โครงการส่งเสริมผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างมีคุณภาพ ประจำปี 2566 นี้ขึ้นเพื่อพัฒนาคลินิกผู้สูงอายุให้มีคุณภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองโรคเกี่ยวกับผู้สูงอายุ (Geriatric syndrome) อย่างครอบคลุม

ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองโรคเกี่ยวกับผู้สูงอายุ (Geriatric sydrome) ร้อยละ 100

80.00 100.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงภาวะหกล้มสมองเสื่อม และภาวะซึมเศร้า ได้รับการจัดบริการที่เหมาะสม

อัตราผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงภาวะหกล้มสมองเสื่อม และภาวะซึมเศร้า ได้รับการจัดบริการที่เหมาะสมร้อยละ 30

20.00 30.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุุได้รับบริการในคลินิกผู้สูงอายุที่ผ่านเกณฑ์ระดับคุณภาพ

อัตราคลินิกผู้สูงอายุผ่านเกณฑ์ระดับคุณภาพ ร้อยละ 100

70.00 100.00

เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ ไร้รอยต่อ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน จำนวน 2 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน จำนวน 2 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย คณะทำงาน จำนวน 30 คน
รายละเอียดกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ
1. ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงกำหนดการและกิจกรรมต่างๆใน โครงการฯ
2. ประชาสัมพันธ์ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีความตื่นตัวและสมัครเข้าร่วมโครงการฯ
3. มอบหมายและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
ขั้นดำเนินการ
- ในการประชุมคณะกรรมการนี้จะมีการประชุมจำนวน2 ครั้ง โดย ครั้งแรก เป็นการชี้แจงโครงการฯและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อเตรียมความพร้อม
- ประชุมครั้งที่ 2 เป็นการประชุมหลังจากเสร็จสิ้นโครงการฯ (AAR)
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คน x 30 บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานเข้าใจกระบวนการทำงานและพร้อมลงมือปฏิบัติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1800.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมแนวทางการพัฒนาคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพแก่ผู้รับผิดชอบด้านผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมแนวทางการพัฒนาคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพแก่ผู้รับผิดชอบด้านผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ผู้รับผิดชอบงานด้านผู้สูงอายุ (แพทย์ พยาบาล แกนนำชุมชน) จำนวน 30 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- จัดอบรมผู้รับผิดชอบงานด้านผู้สูงอายุ ระยะเวลา 1 วัน
- จัดซื้อชุดคู่มือการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ กันล้ม ก้นลืม ไม่ซึมเศร้า แก่สถานบริการ 3 แห่ง(คู่มือการส่งเสริมสุขภาพเฉพาะโรค 3 กลุ่ม บล็อกไม้สำหรับป้องกันภาวะสมองเสื่อม โปสเตอร์การออกกำลังกายป้องกันหกล้ม)
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน x 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน x 60 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าชุดคู่มือการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ กันล้ม ก้นลืม ไม่ซึมเศร้า แก่สถานบริการ 3 แห่ง(คู่มือการส่งเสริมสุขภาพเฉพาะโรค 3 กลุ่ม บล็อกไม้สำหรับป้องกันภาวะสมองเสื่อม โปสเตอร์การออกกำลังกายป้องกันหกล้ม) แห่งละ 2,000บาท x 3 แห่ง เป็นเงิน 6,000 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ (กระดาษ A4 , prop ป้ายป้องกันกันล้ม ก้นลืม ไม่ซึมเศร้า, กล่องใส่ยา, อัลบั้มภาพ, เทปกาว) เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุได้ัรับบริการที่ได้มาตรฐาน ไร้รอยต่อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,400.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองโรคเกี่ยวกับผู้สูงอายุ (Geriatric sydrome) อย่างครอบคลุม
2. ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงภาวะหกล้มสมองเสื่อม และภาวะซึมเศร้า ได้รับการจัดบริการที่เหมาะสม
3. ผู้สูงอายุุได้รับบริการในคลินิกผู้สูงอายุที่ผ่านเกณฑ์ระดับคุณภาพ


>