กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้พิการยุคใหม่ใส่ใจสุขภาพ ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

กลุ่มผู้พิการเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. นายไสว เวทมาหะ 087-2852145/063-1245084
2. นายทวีวัฒน์ เสาวิไล
3. นางสาวพิมใจ แซ่ติ้ว
4. นายสุทัศน์ ตันติชูวงศ์

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สวนรื่นอรุณ เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

คนพิการ เป็นบุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่าง ๆ และมีความจำเป็นเป็นพิเศษที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง“การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ” หมายความว่า การเสริมสร้างสมรรถภาพหรือความสามารถของคนพิการให้มีสภาพที่ดีขึ้น หรือดำรงสมรรถภาพหรือความสามารถที่มีอยู่เดิมไว้ โดยอาศัยกระบวนการทางการแพทย์ การศาสนา การศึกษา สังคม อาชีพ หรือกระบวนการอื่นใด เพื่อให้คนพิการได้มีโอกาสทำงานหรือดำรงชีวิตในสังคมอย่างเต็มศักยภาพและ “การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต” หมายความว่า การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ การจัดสวัสดิการการส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิ การสนับสนุนให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตอิสระ มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์และเสมอภาคกับบุคคลทั่วไป มีส่วนร่วมทางสังคมอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้
นอกจากสุขภาพกายแล้วการพัฒนาสุขภาพใจของผู้พิการก็เป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเช่นกัน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด – 19) ทำให้ผู้พิการผู้ซึ่งมีสภาพทางอารมณ์และจิตใจที่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายต่อสิ่งเร้ารอบๆข้าง เกิดความเครียด ความกลัว ความวิตกกังวลมากขึ้น คนพิการจึงควรได้รับการส่งเสริมด้านจิตใจให้มากขึ้น การได้ร่วมทำกิจกรรมกับกลุ่มเพื่อน จะช่วยให้คนพิการไม่กลับไปหมกมุ่นอยู่กับภาพลักษณ์ของตนเอง รู้จักตนเอง รู้สึกมีคุณค่า มีกำลังใจที่จะสู้กับสภาพความเป็นจริง นำไปสู่การอยู่ร่วมกับครอบครัว ชุมชน และสังคมได้อย่างมีความสุข จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนและกระตุ้นให้ผู้พิการได้ดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้พิการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่อง

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 80

70.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้รู้จักการนำสมุนไพรใกล้ตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดูแลสุขภาพตนเองและผู้อื่น

จำนวนผู้พิการและผู้ดูแลผู้พิการ รู้จักวิธีดูแลตนเองด้วยสมุนไพรใกล้ตัวไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

60.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้พิการมีสภาพจิตใจที่ดีขึ้น พร้อมที่จะดำเนินชีวิตได้ปกติสุขทางสังคม

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจร้อยละ 80

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มผู้พิการและผู้ดูแลผู้พิการ 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 31/03/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้พร้อมปฏิบัติการและสาธิต

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้พร้อมปฏิบัติการและสาธิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ผู้พิการและผู้ดูแล 30 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- ประสานวิทยากรจากโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
- จัดอบรมให้แก่ผู้พิการและผู้ดูแล เป็นระยะเวลา 2 วัน
กำหนดการ
วันที่ 1
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน และเปิดโครงการ
09.01 – 10.00 น. ตรวจสุขภาพและบรรยายการดูแลสุขภาพกายใจผู้พิการ วิทยากรบรรยายโดย เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
10.01 – 12 .00 น. อบรมให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกาย เช่น ฝึกการบริหารกล้ามเนื้อ วิทยากรบรรยายโดย เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
12.01 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.01 – 16.00 น. อบรมให้ความรู้ พร้อมสาธิตการดูแลสุขภาพตนเองด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย เช่น การสุมยา การรับประทานยาสมุนไพร การออกกำลังกายบำรุงปอด เป็นต้น วิทยากรบรรยายโดย เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
วันที่ 2
09.00 – 12.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่องการใช้ลูกประคบร้อนรักษาร่างกายสาธิตการทำลูกประคบไว้ใช้เอง วิทยากรบรรยายโดย เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
12.01 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.01 – 16.00 น. อบรมหลักการนวดเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ พร้อมฝึกการใช้ลูกประคบ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนจากคนพิการตัวอย่างวิทยากรบรรยายโดย เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
งบประมาณ
1. ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท × 6 ชั่วโมง × 2 วัน = 7,200 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน 30 คน × 60 บาท × 1 มื้อ × 2 วัน = 3,600 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คน × 30 บาท × 2 มื้อ × 2 วัน = 3,600 บาท
4. ค่าวัสดุอุปกรณ์
- ลูกประคบ 80 บาท × 30 ลูก = 2,400 บาท
- สมุนไพร (ตะไคร้ ไพล เป็นต้น) = 3,000 บาท
5. ค่าป้ายไวนิลโครงการ = 1,200 บาท
6. ค่าเอกสารประกอบการอบรม = 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้พิการและผู้ดูแล ได้รับการตรวจสุขภาพและบรรยายการดูแลสุขภาพผู้พิการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,600.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้พิการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่อง
2. ผู้พิการรู้จักการนำสมุนไพรใกล้ตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดูแลสุขภาพตนเองและผู้อื่น
3. ผู้พิการมีสภาพจิตใจที่ดีขึ้น พร้อมที่จะดำเนินชีวิตได้ปกติสุขทางสังคม


>