กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการกินอยู่อย่างไร ห่างไกล Stroke ชุมชนกือดาบารู ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

อสม.ชุมชนกือดาบารู

นางมารียานา มักตา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคหลอดเลือดสมองหรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับโลก องค์การอัมพาตโลก (World Stroke Organization: WSO) รายงานว่าโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของโลก มีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองทั่วโลก 17 ล้านคน และเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 6.5 ล้านคน
สถิติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มารับบริการที่โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ปี พ.ศ. 2563-2565 พบจำนวน504 ,450 และ 382 ราย ตามลำดับ ร้อยละผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเสียชีวิตปี พ.ศ.2563-2565 พบร้อยละ(19/504) , (42/450) และ (29/382) ตามลำดับ ซึ่งยังมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ภายในเวลาที่กำหนด เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค อาการเตือน และการจัดการหรือการตระหนักถึงการป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ การสูบบุหรี่ รวมทั้งภาวะไขมันในเลือดสูง และการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม ให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นความเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยของโรคหลอดเลือดสมองในการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับ Stroke Fast Track การฉีดยาละลายลิ่มเลือดในเวลา 4.5 ชั่วโมง ลดอัตราตายและความพิการได้
ในเขตชุมชนกือดาบารู มีผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง จำนวน 110 ราย โรคเบาหวาน จำนวน 87 ราย โรคความดันโลหิตสูงร่วมกับเบาหวาน 39 และโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 7 รายผู้ป่วยติดเตียง 7 ราย ซึ่งสอดคล้องกับปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งพบว่ากลุ่มที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเป็นกลุ่มที่มีมากที่สุด และจากการสำรวจข้อมูลในชุมชนนี้พบว่ามีอุบัติการณ์และความชุกของผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองยังสูง และคนในชุมชนไม่ทราบแนวทางและการป้องกัน เมื่อมีบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เมื่อมีอาการแสดงเกิดขึ้น ซึ่งถ้าการช่วยเหลือมีความล่าช้า จะส่งผลให้ภาวะโรคมีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความพิการได้
ดังนั้นเพื่อให้ภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าวได้รับการส่งเสริม ป้องกันและควบคุมโรค โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย สอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านชุมชนกือดาบารูร่วมกับคณะกรรมการชุมชนกือดาบารู จึงจัดทำโครงการกินอยู่อย่างไร ห่างไกล Stroke ชุมชนกือดาบารู ปี 2566 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวานที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง อาการเตือน และการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

ร้อยละของประชาชนมีระดับคะแนนความรู้ความเข้าใจของโรคหลอดเลือดสมองอาการเตือน และการป้องกันโรคเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

0.00
2 2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวานมีการจัดการตนเอง มีทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง

ร้อยละของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยมีการจัดการตนเองมีทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

0.00
3 3 เพื่อให้กลุ่มป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นความเสี่ยงต่อโรคหลอดหลอดเลือดสมองเพื่อป้องกันการเกิดโรค ป้องกันการกลับเป็นซ้ำหรือควบคุมอาการของโรคไม่ให้รุนแรงมากขึ้น
  • ร้อยละของผู้ป่วยมีระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยลดลงอยู่ในเกณฑ์ ร้อยละ 50
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองสุขภาพเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองสุขภาพเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เวลา 07.00-09.00 น. ลงทะเบียน/คัดกรองเบาหวานความดัน/ทำแบบประเมินความรู้โรคหลอดเลือดสมอง งบประมาณ 1.เครื่องวัดความดันโลหิต 2 เครื่อง =4,000 บาท 2.ชุดเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว 1 ชุด =2,000 บาท 3.ค่าวัสดุจัดทำป้ายไวนิลโครงการ=1,200 บาท 4.ค่าวัสดุจัดทำป้ายไวนิลอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองและปิงปอง 7 สีวิถีบ้านเรา =2,400 บาท 5.ค่าสื่อประชาสัมพันธ์ สติ้กเกอร์ 25 บาท x 50 แผ่น =1,250 บาท งบประมาณ =10,850 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10850.00

กิจกรรมที่ 2 วันเปิดโครงการกินอยู่อย่างไร ห่างไกล Stroke

ชื่อกิจกรรม
วันเปิดโครงการกินอยู่อย่างไร ห่างไกล Stroke
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เวลา 08.30.00-08.45 น.พิธีเปิดโครงการ เวลา 08.45-09.00 น.เปิดกิจกรรมเดิน-วิ่ง/รองเง็ง แอโรบิค เวลา 09.00-10.00 น.บรรยายเรื่องโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดสมอง
อาการเตือน และการจัดการหรือการตระหนักถึงการป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่างๆ การเข้าถึงบริการ Stroke fast track
เวลา 10.00-12.00 น. บรรยายการการจัดการตนเองด้านอาหาร ลดหวาน มัน เค็ม โดยวิทยากรนักโภชนากร
กิจกรรมแบ่งกลุ่มเรียนรู้ฐานอาหารหวาน มัน เค็ม 3 ฐาน โดยวิทยากรจากศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 เวลา 12.00-13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน เวลา 13.00-14.00 น. บรรยายและสาธิตหลักการปลูกผักริมรั้ว โดย วิทยากรเกษตรอำเภอ เวลา 14.00-15.00 น. บรรยายและสาธิตการออกกำลังกายที่เหมาะสม โดย วิทยากรจากชมรมแอโรบิค เวลา 15.00-16.00 น. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยมีบุคคลต้นแบบ เรื่องเล่าประสบการณ์ชีวิตเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง เวลา 16.00 น. ปิดโครงการ งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 50 คน = 1,500 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 50 คน =3,000 บาท 3.ค่าสมนาคุณวิทยากร3 คน x 600 บาทx 1 ชม. x 1 วัน =1,800 บาท 4.ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่ม 3 คน x 300 บาท x 2 ชม. =1,800 บาท 5.ค่าวัสดุฐานอาหารลด หวาน มัน เค็ม ฐานละ 200 บาท =600 บาท 6.ค่าวัสดุอุปกรณ์ปลูกผักสวนครัว =5,000 บาท งบประมาณ13,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13700.00

กิจกรรมที่ 3 ฝึกออกกำลังกายด้วยวิถีชุมชน เดิน-วิ่ง/รองเง็งแอโรบิค

ชื่อกิจกรรม
ฝึกออกกำลังกายด้วยวิถีชุมชน เดิน-วิ่ง/รองเง็งแอโรบิค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เวลา 17.00-18.00 น. ฝึกออกกำลังกายด้วยวิถีชุมชน เดิน-วิ่ง/รองเง็งแอโรบิค งบประมาณ 1.ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่ม 2 คน x300 บาทx1 ชม.x3วัน =1,800 บาท 2.ค่าผ้าขาวม้า 30 บาท x 30 คน =900 บาท งบประมาณ2,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มกราคม 2566 ถึง 19 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1200.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามความก้าวหน้าหลังให้ความรู้และสุ่มเยี่ยมบ้าน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามความก้าวหน้าหลังให้ความรู้และสุ่มเยี่ยมบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ติดตามคัดกรองสุขภาพซ้ำหลัง 3 เดือน พร้อมประเมินความรู้ซ้ำ 2.ติดตามสุ่มเยี่ยมบ้านและสุ่มตรวจอาหารในครัวเรือน งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม30 บาท x 50 คน x 2 มื้อ =3,000 บาท 2.ค่าอหารเที่ยง 60 บาท x 50 คน x 1 มื้อ =3,000 บาท งบประมาณ 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 เมษายน 2566 ถึง 28 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองที่ถูกต้องมีทักษะ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการเสริมสร้างสุขภาพและป้องกันโรคที่เหมาะสม กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องได้รับการรักษาตามแนวทางมาตรฐานการรักษาและมีสุขภาพดีอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองลดลง
2.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสามารถดูแลตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเรื่องอาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ และการงดสูบบุหรี่ ดื่มสุราได้อย่างถูกต้อง
3.อาสาสมัครประจำหมู่บ้านมีศักยภาพและความสามารถในการบริการเชิงรุกในชุมชนเพื่อประเมินสภาวะสุขภาพของครอบครัวและชุมชนได้


>