กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมเสริมทักษะการเลี้ยงดู ประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของครูและผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนเทศบาลในเขตความรับผิดชอบของเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ปีงบประมาณ 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเสริมทักษะการเลี้ยงดู ประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของครูและผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนเทศบาลในเขตความรับผิดชอบของเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

นายพิทักศิษย์พานิชธนาคม ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฯ
นางสาวอรุณวาตี สิทธิเส็ม หัวหน้าฝ่ายบริการสาธารณสุข
นางสาวรอซีดาเจ๊ะแว พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
นางสาวพนิดารัตนสุริยา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 0973452068

ห้องประชุม ชั้น 2 กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเด็กปฐมวัย เป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมและความสามารถของเด็กในด้านต่างๆ ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง แล้วนำมาเรียบเรียงอย่างเป็นระบบเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเกี่ยวกับเด็กหรือการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก
การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการจัดประสบการณ์ตามปกติในกิจวัตรประจำวัน ครูผู้ดูแลเด็กที่ประเมินอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบจะสามารถใช้หลักสูตรและจัดประสบการณ์ได้อย่างเหมาะสมกับวัย และความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก การเฝ้าระวังการเจริญเติบโตและการส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยเป็นเรื่องที่สำคัญที่ผู้ดูแลเด็กจำเป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและสามารถประเมินและส่งเสริมพัฒนาการตามวัยของเด็กได้ จึงได้จัดโครงการอบรมเสริมทักษะการเลี้ยงดู ประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของครูและผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนเทศบาลในเขตความรับผิดชอบของเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ปีงบประมาณ 2566 นี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ครูหรือผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการประเมินพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัยได้อย่างเหมาะสม

ครูหรือผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการประเมินพัฒนาการและการส่งเสริมพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัยได้อย่างเหมาะสมมากกว่าร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ครูหรือผู้ดูแลเด็กสามารถส่งเสริมพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัยได้อย่างเหมาะสม

ครูหรือผู้ดูแลเด็กสามารถส่งเสริมพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัยได้อย่างเหมาะสมมากกว่าร้อยละ 80

80.00
3 เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับการคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการตามวัย

เด็กนักเรียนได้รับการคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการตามวัยมากกว่าร้อยละ 80

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครูหรือผู้ดูแลเด็ก 24

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/04/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการแก่ครูและผู้ดูแลเด็ก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการแก่ครูและผู้ดูแลเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ครูหรือผู้ดูแลเด็ก 24 คน คณะทำงาน 6 คน รวม 30 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. เชิญวิทยากรจากโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
2. เชิญกลุ่มเป้าหมายในการอบรม คือครุูหรือผู้ดูแลเด็กปฐมวัยจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนในสังกัดของเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกทั้ง 8 แห่ง แห่งละ 3 คน ได้แก่
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโก-ลกเทพวิมล
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอัลอามีน
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอะห์มาดียะห์
- โรงเรียนเทศบาล 1
- โรงเรียนเทศบาล 2
- โรงเรียนเทศบาล 3
- โรงเรียนเทศบาล 4
3. จัดอบรมครูและผู้ดูแลเด็ก เป็นเวลา 1 วัน
4. ติดตามผลการประเมินพัฒนาการของเด็ก และส่งต่อหน่วยบริการสาธารณสุขกรณีมีการประเมินพบพัฒนาการล่าช้า
กำหนดการ
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน / เปิดโครงการ /ประเมินความรู้หลังการอบรม
09.01 - 12.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดกรองพัฒนาการเด็กตามวัย วิทยากรโดย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากโรงพยาบาล
12.01 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.01 - 16.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัย วิทยากรโดย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากโรงพยาบาล
16.01 - 16.30 น. ซักถาม/ประเมินความรู้หลังการอบรม/ปิดโครงการ
งบประมาณ
1. ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 6 ชม. เป็นเงิน 3,600 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 30 คน เป็นเงิน 1,800 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 30 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 1,800 บาท
4. เครื่องมือประเมินพัฒนาการเด็ก DSPM (8 แห่งๆละ 2 ชุด) จำนวน 16 ชุด x 3,500 บาท เป็นเงิน 56,000 บาท
5. ค่าวัสดุอื่นๆที่จำเป็นในการอบรม ได้แก่ ปากกา สมุด กระดาษ ฯลฯ เป็นเงิน3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 เมษายน 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครูและผู้ดูแลเด็กได้รับความรู้เรื่องการคัดกรองและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
66200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 66,200.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ครูหรือผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการประเมินพัฒนาการและการส่งเสริมพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัยได้อย่างเหมาะสม
2. ครูหรือผู้ดูแลเด็กสามารถส่งเสริมพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัยได้อย่างเหมาะสม
3. เด็กนักเรียนได้รับการคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการตามวัย


>