กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านนา ประจำปี 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านนา ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านนา

1. นายเนติกรณ์ ชูเจริญ นายกเทศมนตรีตำบลบ้านนา
2. นายมนพพร เขมะวนิช ปลัดเทศบาลตำบลบ้านนา
3. นางสาวจิรวรรณ เกตุแดง หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาลตำบลบ้านนา
4. นางสาวอรวรรณ จันทรธนู ผู้ช่วยเจ้าพนักงานสาธารณสุข
5. นางสาววิภาวรรณ เกื้อวงค์ เจ้าหน้าที่ประจำกองทุนฯ

เทศบาลตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเงินคงเหลือสะสมของกองทุนสุขภาพตำบล(เงินคงเหลือเทียบกับรายรับปีล่าสุด)

 

51.00
2 จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)

 

18.00
3 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน)

 

20.00
4 จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่สามารถรับงบประมาณ (กลุ่ม/หน่วยงาน)

 

10.00
5 ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในปีงบประมาณ

 

65.00
6 จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ (ปีที่ผ่านมา)

 

4.00

กองทุนหลักประกันสุขภาพในท้องถิ่นหรือระดับพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทย มุ่งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน ประสานงานกับองค์กรและภาคีเครือข่าย ร่วมกันค้นหาปัญหาสุขภาพและความต้องการของประชาชน ซึ่งประชาชนมีส่วนร่วมวางแผนการส่งเสริมสุขภาพและการดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ สามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ประกอบกับปัจจุบัน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้แจ้งแนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถจัดระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care) ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ. 2562 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2563
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานกองทุนฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามอำนาจหน้าที่คณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงานและเจ้าหน้าที่ประจำกองทุนฯ ควรได้รับการพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการกองทุน ให้มีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ สามารถปฏิบัติงาน พิจารณาอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ได้อย่างถูกต้อง จึงมีความจำเป็นที่จัดโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน

กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า 90 %

51.00 90.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่ดีและมีรายงานผลการดำเนินงานดี

จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)

18.00 25.00
3 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ(คน)

20.00 29.00
4 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล

จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ(กลุ่ม/หน่วยงาน)

10.00 15.00
5 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการ ที่มีการส่งผลงานและส่งรายงาน ตรงตามเวลา

ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในกำหนด เพิ่มขึ้น

65.00 100.00
6 เพื่อให้มีประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

4.00 4.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 40

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 พิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 พิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (กลุ่มเป้าหมายเป็น คณะกรรมการกองทุน ที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุน อนุกรรมการ คณะทำงาน เจ้าหน้าที่ และพี่เลี้ยงประจำกองทุน)
- ค่าตอบแทนในการประชุมคณะกรรมการกองทุนและที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุน จำนวน 4 ครั้งๆ ละ 20 คนๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน 32,000บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มรับรองการประชุมคณะกรรมการกองทุนและที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุน จำนวน 4 ครั้งๆ ละ 20 คนๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าตอบแทนในการประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ จำนวน 4 ครั้งๆ ละ 9 คนๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 10,800บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มรับรองการประชุมคณะอนุกรรมการกองทุน จำนวน 4 ครั้งๆ ละ 9 คนๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 900บาท
- ค่าตอบแทนในการประชุมอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 10 คนๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 6,000บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มรับรองการประชุมอนุกรรมการ (LTC) จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 10 คนๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1. คณะกรรมการ ที่ปรึกษากองทุนเข้าร่วมประชุม จำนวน 20 คน
2. คณะอนุกรรมการกองทุนเข้าร่วมประชุม จำนวน 9 คน
3. คณะอนุกรรมการ LTC เข้าร่วมประชุมจำนวน 10 คน

ผลลัพธ์
1. คณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงานและเจ้าหน้าที่ประจำกองทุนฯ สามารถประชุมพิจารณา อนุมัติแผนงาน/โครงการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. คณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงานและเจ้าหน้าที่ประจำกองทุนฯ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการงานกองทุนฯ เพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
52200.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง รายการดังนี้     - ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตรๆ ละ 200 บาท จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 600 บาท     - ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 9 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท 
    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 35 คนๆ ละ 3 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 3,675 บาท     - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 35 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท     - ค่าอาหารเย็น จำนวน 35 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 10,500 บาท     - ค่าอาหารเช้า จำนวน 35 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 100 บาท  เป็นเงิน 3,500 บาท     - ค่าที่พัก จำนวน 16 ห้องๆ ละ 1 คืนๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 19,200 บาท     - ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เป็นเงิน 5,690 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 2 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1. คณะกรรมการ ที่ปรึกษา อนุกรรมการ คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพฯ จำนวน 35 คน

ผลลัพธ์
1. กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านนา สามารถบริหารจัดการกองทุนฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
55565.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 107,765.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. คณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงานและเจ้าหน้าที่ประจำกองทุนฯ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการงานกองทุนฯ เพิ่มมากขึ้น
2. กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านนา สามารถบริหารจัดการกองทุนฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


>