กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและลดโรคความดันโลหิตสูง ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ1 ปีงบประมาณ2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและลดโรคความดันโลหิตสูง ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ1 ปีงบประมาณ2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1 โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

1.นางเยาวลักษณ์ ชูขาวโทร. 080-5482220
2.นางสาวมาริสา ดรอแมโทร. 085-6727007

เขตรับผิดชอบศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนที่มีการแข่งขันสร้างความมั่นคงในชีวิต ทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนเปลงเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารที่ไม่คำนึงถึงคุณค่าทางดภชนาการ การเคลื่อนไหวร่างการน้อยลงทำให้มีโอกาสเกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ดังนั้นการสร้างเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพ เป็นพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ที่ทุกคนควรมีการปฏิบัติและปลูกฝังจนเป็นสุขนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ การมีความสุข ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ
จากผลการดำเนินงานคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ1 ปีงบประมาณ 2565โดยมีกลุ่มเป้าหมายประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 4,792 ราย ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน 4,478 ราย คิดเป็น ร้อยละ 93.45 กลุ่มเสี่ยงจำนวน 171 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.81รายใหม่ จำนวน4 ราย คิดเป็นร้อยละ 28.57กลุ่มเป้าหมายโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 3,864 ราย ได้รับการคัดกรอง จำนวน 3,563 ราย คิดเป็นร้อยละ 92.21 กลุ่มเสี่ยง จำนวน 547 ราย คิดเป็น ร้อยละ15.96รายใหม่ จำนวน 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.33 ซึ่งยังเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ
ในการนี้ ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ1 ได้จัดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและลดโรคความดันโลหิตสูง ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ1 ปีงบประมาณ2566 ขึ้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง ลดอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงและลดอัตราการเกิดรายใหม่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวาน ลดโรคความดันโลหิตสูง และส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

ร้อยละของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวาน ลดโรคความดันโลหิตสูง และส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น

50.00 70.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคและการดูแลตนเอง

ร้อยละของประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคและการดูแลตนเองมากขึ้น

50.00 70.00
3 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ในกลุ่มประชาชนกลุ่มเสี่ยง

ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่

50.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและลดโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานและลดโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 50 คน
วิธีดำเนินการ ดังนี้
1. ลงทะเบียนกลุ่มเสี่ยงที่มีความพร้อมและสมัครใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรม
2. ตรวจสุขภาพเบื้องต้น บันทึกในสมุดประจำตัวกลุ่มเสี่ยง
3. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ภาวะแทรกซ้อน โดยวิทยากรแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
4. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารลดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง 3 อ 2 ส โดยวิทยากรนักโภชนากรโรงพยาบาลสุไหงโกลกโดยคุณกนกกาญจน์ปิ่นทองพันธุ์
5. เข้ากิจกรรมกลุ่ม Work shop3 ฐาน (อาหารลดหวาน มัน เค็ม)
กำหนดการ
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน/คัดกรอง 09.01 - 09.30 น. ทำแบบสอบถาม Pretest
09.31 - 10.00 น. พิธีเปิดโครงการโดยมีนางซูซานาพงษ์เลขา หัวหน้าศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1 เป็นประธาน
10.01 - 11.00 น. บรรยายเรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง อาการแสดง ภาวะแทรกซ้อน และการป้องกัน โดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
11.01 - 12.00 น. บรรยายเรื่องอาหารลดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 3 อ 2 ส วิทยากรนักโภชนากรโรงพยาบาลสุไหงโกลกโดยคุณกนกกาญจน์ปิ่นทองพันธุ์
12.01 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.01 - 15.00 น. กิจกรรมแบ่งกลุ่ม Work shop เรียนรู้อาหารหวาน มัน เค็ม 3 ฐาน วิทยากรกลุ่มทีมงาน NCD
15.01 - 16.00 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังจากทำ Work shop
เวลา 16.30 น. ปิดโครงการ
งบประมาณ
- ค่าสื่อประชาสัมพันธ์ (ไวนิลโครงการ) = 1,200 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย 600 บาท x 2 คน x 1 ชม. =1,200 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม 300 บาท x 3 คน x 2 ชม. = 1,800 บาท
- ค่าอาหารสาธิตทำ workshop อาหารหวานมันเค็ม ฐานละ 200 บาท x 3 ฐาน = 600 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 50 คน = 3,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ x 30 บาท x 50 คน =3,000 บาท
- ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต 2 เครื่อง x 3,500 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท
- ค่าเครื่องตรวจน้ำตาล (DTX) 2 เครื่อง x 3,000 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ ปากกา สมุด แฟ้ม และอุปกรณ์อื่นๆที่จำเป็นในการอบรม เป็นเงิน 2,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น และมีความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ภาวะแทรกซ้อน และอาหารลดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง 3 อ 2 ส

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26400.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามความก้าวหน้าหลังให้ความรู้และประเมินผลระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามความก้าวหน้าหลังให้ความรู้และประเมินผลระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 50 คน
วิธีดำเนินการ ดังนี้
1. ติดตามประเมินผลแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มเสี่ยง
2. ติดตามระดับน้ำตาลในเลือด โดยการเจาะเลือดปลายนิ้ว ภายใน 3 เดือน หากเกิน 126 mg/dl ส่งต่อพบแพทย์
3. ติดตามความดันโลหิต โดยการวัดความดันโลหิตที่บ้านพร้อมจดบันทึก 1 สัปดาห์ ค่าเฉลี่ยไม่เกิน 135/85 mmhg ส่งพบแพทย์
4. ติดตามลงเยี่ยมบ้านพร้อมนักโภชนากร สุ่มตรวจหวานเค็ม ในครัวเรื่อน โดยใช้อุปกรณ์เครื่องวัดหวาน เค็ม
งบประมาณ
- เครื่องวัดความหวาน 1,000 บาท
- เครื่องวัดความเค็ม 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,900.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวจ่ายทุกรายการและจำนวนคนภายในวงเงินที่ได้รับ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานมีความรู้และทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้
2. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมอยู่ในเกณฑ์ปกติได้
3. ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่


>