กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันแบบยั่งยืน ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลอ่างทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันแบบยั่งยืน ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลอ่างทอง

โรงเรียนบ้านอ่างทอง

นางสมจิต ทองเกตุ

โรงเรียนบ้านอ่างทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สัดส่วนของพื้นที่เกษตรปลอดภัยหรือเกษตรอินทรีย์ ต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมด

 

50.00

กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายให้โรงเรียนดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางสารอาหารอย่างเพียงพอ และครบถ้วน สมวัย อีกทั้งเป็นการลดภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมให้นักเรียนมีภูมิต้านทานโรคที่ดี การที่นักเรียนมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ย่อมส่งผลให้มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจและสติปัญญาดีขึ้นอันจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา นักเรียนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมและเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ
โรงเรียนบ้านอ่างทอง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลอ่างทอง อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถานที่ตั้งโรงเรียนอยู่นอกเขตชุมชน ประชาชนมีอาชีพทำสวนยางพารา สวนผลไม้ รับจ้างทั่วไปและค้าขาย ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีรายได้ต่ำ ประกอบกับสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนยังไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ขาดโอกาสที่ดีทางการเรียนรู้ แต่โรงเรียนมีจุดแข็งในเรื่องของบุคลากรในโรงเรียนที่มีความพร้อมในเรื่องของการมีส่วนร่วมในการที่พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพได้
เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องยั่งยืน โรงเรียนบ้านอ่างทอง จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันแบบยั่งยืนตามแนว พระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีขึ้น โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติและพัฒนาสู่โรงเรียนต้นแบบโครงการเงินทุนหมุนเวียนส่งเสริมผลผลิตเพื่อโครงการอาหารกลางวันเพื่อให้นักเรียนทุกคนได้กินอิ่มอย่างมีคุณภาพ แก้มใส โภชนาการสมวัย สุขภาพแข็งแรง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี เติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลด เด็ก 6-14 ปีที่มีภาวะน้ำหนักเกินภาวะอ้วน

เด็กอายุ 6-14 ปีมีภาวะอ้วนและภาวะทุพโภชนาการไม่เกิน ร้อยละ 5

9.00 5.00
2 เพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์โดยพัฒนาศูนย์การเรียนรู้โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันแบบยั่งยืน

นักเรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงจากศูนย์การเรียนรู้โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันแบบยั่งยืน จำนวน 2 ฐาน นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประกอบอาชีพเสริมและมีรายได้ระหว่างเรียน

50.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 94
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.การวางแผนพัฒนาร่วมกับคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง นักเรียน และผู้เกี่ยวข้องทราบ 2.จัดทำโครงการเสนอขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลอ่างทอง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 1 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 การลงมือปฏิบัติงาน

ชื่อกิจกรรม
การลงมือปฏิบัติงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ดำเนินงานตามโครงการโดยแบ่งเป็น 2 ฐาน คือฐานผักปลอดสารพิษ/แปลงผักลอยฟ้า และ ฐานเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์
2. จัดซื้อวัสดุ/พืช/สัตว์ตามโครงการได้แก่ ฐานผักปลอดสารพิษ/แปลงผักลอยฟ้า รวม 2,000 บาท -ดินเพาะพันธ์ จำนวน 40 กระสอบ ๆ 30 บาทเงิน 1,200 บาท -ปุ๋ยหมัก จำนวน 20 กระสอบ ๆ 40 บาทเงิน 800 บาท ฐานเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์รวม 18,000 บาท - ลูกปลาดุกพันธ์บิ๊กอุย จำนวน 2,000 ตัว ๆ ละ 2 บาท
เงิน 4,000 บาท -อาหารปลาดุกขนาดเล็ก/กลาง/ใหญ่
(เฉลี่ย ตัวละ 7 บาท) เงิน 14,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 3 การตรวจสอบและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
การตรวจสอบและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1) ระยะก่อนดำเนินการ ได้ตรวจสอบสภาพความพร้อมของทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในโครงการว่ามีความพร้อมเพียงใด และยังขาดอะไรบ้าง ถ้าขาดความพร้อมจะได้ดำเนินการหาให้ครบ พร้อมที่จะดำเนินการตามโครงการต่อไป 2) ระยะระหว่างดำเนินการ ได้ตรวจสอบและติดตามการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรมที่ระบุไว้ในโครงการ และใช้งบประมาณเป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่โดยให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่กำหนด 3) หลังจากสิ้นสุดการดำเนินงานได้ตรวจสอบความสำเร็จ โดยภาพรวมของแต่ละ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 15 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 การสรุป รายงานผลและการปรับปรุงแก้ไข

ชื่อกิจกรรม
การสรุป รายงานผลและการปรับปรุงแก้ไข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.นำผลการดำเนินงานมาสรุปร่วมกันกับคณะครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผู้ปกครอง นักเรียนและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อดีข้อเสียของโครงการ
2.นำผลการดำเนินงานมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันแบบยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
2. นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้ทางการเกษตรด้วยการปฏิบัติจริง และนำความรู้ไปประกอบอาชีพและหารายได้ระหว่างเรียน
3. นักเรียนมีภาวะทุพโภชนาการลดลง


>