กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ผดุงมาตร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ ป้องกันสมาธิสั้นในเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแอแจะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ผดุงมาตร

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแอแจะ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแอแจะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1ร้อยละของเด็กเล็ก (2-3 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงเป็นโรคสมาธิสั้น

 

22.00

สถานการณ์และปัญหาของเด็กและเยาวชนไทยขณะนี้กำลังเผชิญกับความเสี่ยงอย่างมาก อันมีผลมาจากสังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมสมัยใหม่ที่ล้อมรอบตัวเด็ก ซึ่งเป็นแรงผลักดันที่ทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาด้านไอซีที ดิจิตอลต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถืออินเทอร์เน็ต เกมออนไลน์ ซึ่งสภาพปัจจุบันมีเด็กและเยาวชนใช้เวลาส่วนใหญ่กับการเล่นเกมออนไลน์ การเล่นโทรศัพท์มือถือ แนวโน้มของการใช้โทรศัพท์มือถือ การเล่นเกมและการใช้อินเทอร์เน็ตเข้ามาแทนที่ในกิจกรรมต่างๆของเด็กในยุคปัจจุบัน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างผู้ใหญ่ ผู้ปกครอง ครู อาจารย์กับเด็ก จนถึงปัจจุบันนี้ผู้ปกครองหลายคนประสบปัญหาลูกมีพฤติกรรมอารมณ์ก้าวร้าว อยู่ไม่นิ่ง สมาธิสั้น ติดโทรศัพท์มือถือ ติดเกม ผู้ปกครองเด็กส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับเด็ก ในการส่งเสริมการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย เช่น รูปร่าง น้ำหนัก ส่วนสูง และปล่อยให้พัฒนาการของเด็กเกิดขึ้นเองตามวัย แต่ในปัจจุบันความรู้จากการศึกษาและความตื่นตัวในวิทยาการสมัยใหม่ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กมากขึ้น ซึ่งนอกจากปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนากรเด็กแล้ว เช่น พันธุกรรมที่ได้รับจากพ่อแม่แล้ว สิ่งแวดล้อมกับการเลี้ยงดู โดยการสร้างเสริมกิจกรรมกับเด็กผ่านการเล่นเป็นการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่ผู้ปกครองควรทำในชีวิตประจำวันของเด็ก รวมถึงการติดตามพัฒนาการของเด็กให้เหมาะสมตามวัยไม่ว่าด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญาเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองจะละเลยไม่ได้ สิ่งต่างๆเหล่านี้จะส่งผลให้เด็กเติบโตขึ้นอย่างมีความสุขและมีคุณภาพต่อไป
ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแอแจะ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ ป้องกันสมาธิสั้นในเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแอแจะขึ้น เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองมีความรู้ และสามารถดูแลบุตรหลานให้มีพัฒนาการสมวัย ป้องกันและลดภาวะสมาธิสั้นในเด็กได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อพัฒนาศักยภาพพ่อแม่หรือผู้ปกครองให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กตามช่วงวัย และสามารถกระตุ้น ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ป้องกันการเกิดโรคสมาธิสั้น
2. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก ในการดำเนินงานส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
3.เพื่อร่วมค้นหาเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการไม่สมวัย เข้ารับการตรวจคัดกรอง รักษา และ/หรือส่งต่อ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 22
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มพ่อ แม่ผู้ปกครองเด็กเล็ก 22

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ พร้อมฝึกปฏิบัติแก่พ่อแม่ผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ พร้อมฝึกปฏิบัติแก่พ่อแม่ผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย 1. พ่อแม่/ผู้ปกครองเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแอแจะ จำนวน 22 คน 2. เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแอแจะ จำนวน 22 คน 3. ครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 3 คน รายละเอียดกิจกรรม 1. อบรมแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการตามช่วงวัยและความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการป้องกันสมาธิสั้นในเด็กปฐมวัย 2. อบรมให้ความรู้เทคนิคการประเมิน DSPM และกระบวนการปรับพฤติกรรมเด็กที่มีอาการสมาธิสั้น
วิธีดำเนินการ (บรรยายเพิ่มเติม) ขั้นเตรียมการ 1.1 จัดทำแผนงานเพื่อให้อนุกรรมการกลั่นกรอง 1.2 เสนอแผนงานต่อกรรมการกองทุนฯเพื่ออนุมัติ 1.3 ประชุมครูผู้ดูแลเด็ก เพื่อวางแผนการดำเนินงานตามโครงการ 1.4 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง /เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ 1.5 ประเมิน/คัดกรองพัฒนาการโดยใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) /คัดกรองภาวะสมาธิสั้นในเด็กปฐมวัย โดยครูผู้ดูแลเด็ก ขั้นดำเนินการ 2.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้พร้อมฝึกปฏิบัติแก่พ่อแม่/ผู้ปกครอง ในเรื่องการเทคนิคและกระบวนการปรับพฤติกรรมเด็กที่มีอาการสมาธิสั้นที่บ้าน ประเมินความรู้ก่อน-หลังการทำกิจกรรม 2.2 จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ให้ความรู้แก่พ่อแม่/ผู้ปกครอง เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องแนวทางส่งเสริมพัฒนาการ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้น 2.3 กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ทั้ง 4 ด้าน ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยครูผู้ดูแลเด็ก 2.4 กิจกรรมเล่านิทานให้ลูกฟัง ส่งเสริมพัฒนาการ ป้องกันสมาธิสั้นเด็กปฐมวัยที่บ้าน โดยพ่อแม่/ผู้ปกครองเล่านิทานให้ลูกฟังก่อนนอน ขั้นสรุปและรายงานผล 3.1 สรุปผล/รายงานผลการดำเนินงาน รายละเอียดงบประมาณ 1. ค่าวิทยากร 1 คน คนละ 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท 2. ค่าป้ายโครงการขนาด 1.0 x 3.0 เมตร เป็นแงิน 750 บาท 3.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้ปกครอง ,เด็ก,ครู,ผู้ดูแลเด็ก จำนวน 47 ชุดๆ ละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,175 บาท 4. ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่มสำหรับครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง 1 มื้อ จำนวน 25 ชุด ๆ ละ 50 บาทเ ป็นเงิน 1,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.พ่อแม่ ผู้ปกครองมีแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการและความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้น 2.พ่อแม่ ผู้ปกครองมีเทคนิคและกระบวนการปรับพฤติกรรมเด็กที่มีอาการสมาธิสั้นที่บ้าน 3.พ่อแม่ ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของกิจกรรมการเล่านิทานก่อนนอนกับเด็กเล็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4375.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเทคนิคการเล่านิทานและการฝึกเล่านิทานก่อนนอน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเทคนิคการเล่านิทานและการฝึกเล่านิทานก่อนนอน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1. อบรมเทคนิคการเล่านิทานให้สนุกและให้ความรู้เกี่ยวกับผลของการเล่านิทานในเด็กเล็กกับการพัฒนาสติปัญญา อารมณ์ของเด็กเล็ก 2. ผู้ปกครองฝึกปฎิบัติการเล่านิทาน โดยใช้เทคนิคที่ได้เรียนรู้มาประยุกต์ใช้ รายละเอียดงบประมาณ 1. ค่าวิทยากร 1 คน คนละ 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท 2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้ปกครอง ,เด็ก,ครู,ผู้ดูแลเด็ก จำนวน 47 ชุดๆ ละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,175 บาท 3.ค่าหนังสือนิทานจำนวน 22 เล่ม ๆ ละ100 บาท เป็นเงิน 2,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลและประโยชน์ของการเล่านิทานกับพัฒนาการของเด็กมากยิ่งขึ้น 2.ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการเล่านิทานมากขึ้นและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงกับเด็กเล็กที่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4575.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคนได้รับการประเมิน/คัดกรองพัฒนาการและภาวะสมาธิสั้น
2. พ่อแม่/ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้น การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยมากขึ้นและถูกต้อง
3. เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัย
4. พ่อแม่/ผู้ปกครองตระหนักรู้ ในการเลี้ยงดูเด็ก และการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย


>